นอนหลับยาก… แก้ไขได้ง่าย ๆ ที่พฤติกรรมของคุณเอง
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
27-ก.ย.-2561
title หลังจากเหน็ดเหนื่อยกับงานมาทั้งวัน จนแทบจะไม่มีเรี่ยวแรงทำอะไรต่อ การได้นอนหลับบนเตียงนุ่ม ๆ คงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่หลายคนมองหา แต่เจ้ากรรม! พอถึงเวลาเข้านอน ให้ทำยังไง๊ ยังไงก็นอนไม่หลับ

พลิกตัวซ้ายก็แล้ว ขวาก็แล้ว แถมใช้วิธีนับแกะช่วยเสริมก็ยังไม่หลับ บางครั้งหลับไปแล้วก็รู้สึกหลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ กลางดึกไปอีก คราวนี้จะทำยังไงดีล่ะเนี่ย?!

อาการแบบไหน… ที่เรียกว่าเป็นคน “นอนหลับยาก”

บ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่านอนไม่ค่อยหลับทำให้ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่นไม่สดใส จริงๆ แล้วการนอนไม่หลับนั้นไม่ใช่โรค แต่เป็นปัญหาการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น เพลีย ง่วงนอนอยู่ตลอด ซึ่งแต่ละคนก็มักประสบปัญหาที่ต่างกันออกไป เช่น รู้สึกว่านอนหลับยาก กว่าจะหลับต้องใช้เวลานาน นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ กลางดึก ทำให้ตื่นนอนขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น เหมือนไม่ได้พักผ่อน หากอาการเหล่านี้หากเกิดขึ้นบ่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณตือนของการนอนหลับยาก

โรคประจำตัวบางอย่าง… ส่งผลให้นอนหลับยาก

การนอนหลับไม่สนิทหรือนอนหลับยากนั้นอาจเกิดจากระบบสั่งการการนอนหลับในสมองมีความผิดปกติ (Circadian Rhythm Sleep Disorder) หรือมีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคหอบหืด, โรคหัวใจวาย, โรคภูมิแพ้, โรคสมองเสื่อม, โรคพาร์คินสัน, กรดไหลย้อน, โรคซึมเศร้า ส่งผลให้เกิดการนอนหลับยากนั่นเอง

พฤติกรรมบางอย่าง… ก็ส่งผลต่อการนอนหลับ

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการนอนหลับยากนั้นอาจมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสถานที่นอน, บรรยากาศในการนอน เช่น มีแสงไฟ เสียงดัง ฯลฯ, ผลจากความเครียด, ความวิตกกังวล, ความกดดัน, เรื่องงาน หรือการนอนไม่หลับจากสารบางชนิด เช่น เหล้า ชา กาแฟ น้ำอัดลม สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้นอนหลับยากได้ทั้งสิ้น

พฤติกรรมบางอย่าง… ก็ส่งผลต่อการนอนหลับ

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการนอนหลับยากนั้นอาจมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนสถานที่นอน, บรรยากาศในการนอน เช่น มีแสงไฟ เสียงดัง ฯลฯ, ผลจากความเครียด, ความวิตกกังวล, ความกดดัน, เรื่องงาน หรือการนอนไม่หลับจากสารบางชนิด เช่น เหล้า ชา กาแฟ น้ำอัดลม สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้นอนหลับยากได้ทั้งสิ้น

เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณหลับได้ง่ายขึ้น

ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม และตื่นก่อน 6 โมงเช้า เพราะฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโตและฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมร่างกายหลั่งมากที่สุดในช่วงกลางดึก
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 – 45 นาที 3 – 4 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความเครียดได้
หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ แอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 4 – 6 ชั่วโมงก่อนนอน
หานมอุ่นๆ ดื่มสักแก้วก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่ายและหลับสบายขึ้น
ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ด้วยการอาบน้ำอุ่น, ฟังเพลงเบาๆ ก่อนนอน จะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

เพราะการนอนเป็นเรื่องสำคัญ การนอนที่ดีต้องหลับสนิทและไม่ตื่นกลางดึก เมื่อเราพักผ่อนเพียงพอ ร่างกายก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ


นอนหลับยาก… แก้ไขได้ง่ายๆ ที่พฤติกรรมของคุณเอง

นอนหลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ กลางดึก ทำให้ตื่นนอนขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น เหมือนไม่ได้พักผ่อน หากอาการเหล่านี้หากเกิดขึ้นบ่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณตือนของการนอนหลับยาก


สอบถามรายละเอียด คลินิกอายุรกรรม อาคาร 1 ชั้น 1

โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร 02- 514-4141 ต่อ 1100 – 1101