มีลูกยาก ปัญหาสำหรับคู่รักที่อยากลูกหลังเเต่งงาน
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
09-มี.ค.-2566
“เมื่อแต่งงานแล้ว” หลายๆคู่อาจมี “เเพลนที่จะมีลูก” เราขอแนะนำให้คู่สมรสรีบไปปรึกษาคุณหมอกันแต่เนิ่นๆ เพื่อตรวจเช็คว่าตัวเองเข้าข่าย “ภาวะมีบุตรยาก”  หรือเปล่า เพื่อร่วมกันหาสาเหตุและแนวทางการรักษา เพื่อให้มีลูกน้อยได้สมใจและวันนี้เราเลยจะพาเจาะลึกเกี่ยวกับปัญหานี้ กับ มาคุยกับ นพ.วันชัย นาถตระกูลพิทักษ์สูตินารีแพทย์โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 กัน

“ภาวะมีบุตรยาก” แนวโน้มที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน
คุณหมอเล่าว่าภาวะมีบุตรยากในปัจจุบันมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ “โดยเฉลี่ยคือประมาณ 15% ของคู่สมรสทั่วไป เนื่องจากช่วงอายุฝ่ายหญิงที่มีความสามารถในการมีบุตรได้สูงสุด คืออายุระหว่าง 25-30 ปี และคนไทยในปัจจุบันแต่งงานช้าลง ดังนั้นโอกาสของการตั้งครรภ์จึงลดลงตามไปด้วย”

สาเหตุของการมีบุตรยาก เกิดจาก “ฝ่ายหญิง” หรือ “ฝ่ายชาย” กันแน่
ปัญหาใหญ่ที่ทำให้หลายครอบครัวสั่นคลอน คุณหมอขอเตือนว่าอย่าเพิ่งไปโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง “การมีบุตรยาก” นั้น สาเหตุเกิดจากฝ่ายหญิง 40-50% สาเหตุที่เกิดจากฝ่ายชาย 30-40%ในส่วนของฝ่ายหญิงนั้น อาจเกิดจากความผิดปกติในช่องเชิงกราน เช่น มีพังผืด เนื้องอก, ภาวะการทำงานของรังไข่ผิดปกติ ทำให้ไข่ไม่ตกหรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ทำให้ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์น้อยลง ส่วนฝ่ายชายนั้น อาจเกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของอวัยวะสืบพันธุ์ , การสร้างอสุจิและการผ่านออกของน้ำอสุจิผิดปกติ , ภาวะจิตใจ มีความเครียด กังวล ทำให้อวัยวะไม่แข็งตัว, น้ำอสุจิทำงานผิดปกติ หรืออื่นๆ เช่น มีภาวะด้านจิตใจ เช่น เป็นคนเครียดง่าย หรือช่วงอยู่ช่วงที่มีความเครียดสูง”


อายุยังไม่ถึง 35 ปี…เสี่ยง “มีบุตรยาก” มากน้อยแค่ไหน

ความจริงแล้ว หากคนที่ยังมีอายุไม่ถึง 35 โอกาสเสี่ยงภาวะมีบุตรยากอาจจะมีไม่มาก แต่ก็ต้องขึ้นอยู่ปัจจัยหลายอย่างด้วยเหมือนกัน คุณหมอแนะนำว่า เราสามารถมีส่วนช่วยในการป้องกันความเสี่ยงให้ตัวเองได้เหมือนกัน

  • สังเกตุอาการปวดท้องเรื้อรัง เช่น มีอาการปวดประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ถ้ารู้ตัวแล้วให้รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะช่วยให้อาการไม่ลุกลามหรือทำร้ายจนมีปัญหาในอนาคต
  • ต้องออกกำลังกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
  • อย่าเครียดซึ่งส่งผลต่อการตกไข่

เริ่มต้นรักษา…ต้องหาสาเหตุ
โดยทั่วไปแล้ว แนวทางการรักษาจะต้องพิจารณาจากสาเหตุก่อน เช่น

  • หากเกิดจากความผิดปกติของท่อนำไข่ อาจแก้ไขด้วยการผ่าตัด
  • ถ้ารังไข่ทำงานผิดปกติ ก็ต้องรักษาโดยทำให้ไข่ตกเป็นปกติ
  • ในบางรายที่ยังไม่ทราบสาเหตุ ที่พบได้มากถึง 10-15% ก็อาจใช้การกระตุ้นไข่ + ฉีดอสุจิเข้าไปที่โพรงมดลูก (GIFT) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ที่นำตัวอ่อนที่ปฏิสนธิในหลอดทดลองเข้าไปในโพรงมดลูก
  • หากมีความผิดปกติของอสุจิ ก็อาจแก้ไขด้วยการทำ IVF หรือ ICSI(คือการดูดตัวอสุจิ แล้วแท่งเข้าไปในเซลล์ไข่ หลังจากปฏิสนธิแล้วจึงนำกลับเข้าไปในโพรงมดลูก)หรือทำ GIFT (คือการนำไข่ที่สุกและเชื้ออสุจิฉีดเข้าไปในท่อนำไข่)


ถึงมี “ภาวะมีบุตรยาก” แต่ก็ใช่ว่าจะรักษาไม่ได้
ในคนที่มีภาวะมีบุตรยาก หากต้องการมีลูก คุณหมอบอกว่าก็ยังมีโอกาส ซึ่งคุณหมอจะพิจารณาแนวทางในการรักษาเป็นเคสๆ ไป ซึ่งการรักษาโดยทั่วๆ ไป ก็มีทั้งนับระยะเวลาไข่ตก ใช้วิธีฉีดกระตุ้นไข่ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูก ฉีดให้ไข่ตก นอกจากนี้ยังมีเทคนิคในการป้องกันแก้ไขและดูแลตัวเองแบบง่ายๆ “ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีโฟลิคสูงควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ลดความเครียด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยปรับให้ร่างกายสมดุล ทำให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ และไข่ตกสม่ำเสมอ”

Did You Know?
ความสำเร็จในการรักษาภาวะมีบุตรยาก อยู่ที่ 20-40% เท่านั้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผลที่พบบ่อยคือ

  • ตัวอ่อนมีพันธุกรรมผิดปกติ
  • ผนังมดลูกมีความบางหรือมีเนื้องอกที่ทำให้ฝังตัวอ่อนตัวไม่ได้
  • มีความผิดปกติของมดลูก ทำให้การฝังตัวอ่อนไม่ได้






  • ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
    ศูนย์สุภาพสตรี อาคาร 
    ชั้น 2
    โทร
    . 02-514-4141 ต่อ 5148 - 5220
    Line id : @Paolochokchai4