ซีสต์และก้อนที่เต้านม
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
23-ก.พ.-2566
title การมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย เป็นสิ่งที่น่ากังวลเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกคน โดยเฉพาะคุณสุภาพสตรี ที่จู่ ๆ จะมีสิ่งแปลกปลอมที่สัมผัสเจอขึ้นมาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และสำหรับผู้หญิงสิ่งแปลกปลอมนั้นจะน่ากลัวมากยิ่งขึ้นหากเกิดความเปลี่ยนแปลงหรือแปลกปลอมขึ้นกับระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธ์ เช่น “การเกิดซีสต์” หรือ “ก้อนที่เต้านม”

ก้อนที่เต้านมมีกี่ชนิด

  • ไฟโบรซีสติค (Fibrocystic changes หรือ FCC ) ก้อนชนิดนี้จะมีลักษณะขุขระ หยุ่น ๆ ไม่แข็ง เคลื่อนที่ได้ และมักมาร่วมกับอาการเจ็บเต้านม อย่างไรก็ตามอาการต่าง ๆ ของก้อนชนิดนี้จะพบได้บ่อยในช่วงก่อนที่จะมีประจำเดือน แต่อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อประจำเดือนมาแล้ว โดยทั่วไปก้อนชนิดนี้จะพบได้ประมาณ 40 % ของก้อนในเต้านมที่พบทั้งหมด

  • ไฟโบรอะดีโนมา (Fibroadenoma) ก้อนชนิดนี้มีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเรียบ เคลื่อนที่ได้ ไม่เจ็บ ไม่แข็งมาก มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ก้อนนี้พบได้มากในผู้หญฺิงวัยเจริญพันธุ์หรือคนที่มีประจำเดือน

  • ซีสต์ ( Cyst ) หรือถุงน้ำ ก้อนนี้จะพบได้มากในผู้หญิงที่มีประจำเดือน โดยลักษณะก้อนคือจะเป็นถุงน้ำซึ่่งสามารถเคลื่อนที่ได้ จะเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ ถุงน้ำนั้นจะมีได้หลายขนาดทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ยุบและหายเองได้ ภายหลังจากที่หมดประจำเดือน



นอกจากที่ยกตัวอย่างดังกล่าวแล้ว ก้อนหรือซีสต์ที่เกิดกับเต้านมยังมีอีกหลายชนิดทั้ง ที่เป็นก้อนไขมัน Lipoma เนื้องอกชนิด Phyllodes ก้อนเนื้อที่เกิดจากการอักเสบ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม หากต้องทราบว่าก้อนหรือซีสต์นั้นเป็นอันตรายหรือเป็นมะเร็งได้ไหมควรให้แพทย์พิจารณาแยกว่าก้อนที่พบนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่ และหากเป็นมะเร็งแล้วก็ต้องดูเพิ่มเติมว่าเป็นก้อนมะเร็งที่ยังไม่ลุกลาม non invasive cancer หรือ ก้อนมะเร็งที่ลุกลาม invasive cancer


สาเหตุของการเกิด
สาเหตุของการเกิดซีสต์นั้นเชื่อว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากร่างกายในแต่ละคน โดยเฉพาะเพศหญิงซึ่งมีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงซึ่งอาจทำให้เกิดก้อนขึ้นได้ สำหรับช่วงวัยที่มีแนวโน้มจะเกิดซีสต์หรือก้อนได้นั้นส่วนมากจะเป็นคนช่วงอายุ 20 – 35 ปี โดยเฉพาะผู้หญิงในช่วงที่มีฮอร์โมนเพศหญิงสูงก็ย่อมจะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดก้อนขึ้นได้ อย่างไรก็ตามเรื่องของก้อนหรือซีสต์ที่เต้านมนั้นไม่ได้เกิดเพียงแค่ในเพศหญิงเท่านั้นแต่หากเพศชายก็สามารถเกิดได้เช่นกัน แต่อัตราการเกิดของผู้ชายจะร้อยกว่าซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1 ขณะที่การเกิดก้อนหรือซีสต์ในผู้หญิงนั้นอัตราการเกิดอยู่ที่ร้อยละ 99

การตรวจวินิจฉัย
เมื่อก้อนเกิดขึ้นที่เต้านมอาจจะต้องพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจซ้ำและยืนยันลักษณะว่าเป็นก้อนหรือเป็นถุงน้ำ พร้อมกันนี้หมอก็จะวินิจฉัยหาสาเหตุของก้อนนั้นโดย ซักประวัติ อายุ และอาการต่าง ๆ พร้อมทั้งทำแมมโมแกรม ทำอัลตร้าซาวด์เพื่อดูว่าตัวก้อนนี้ต้องนำชิ้นเนื้อไปตรวจหรือไม่หรือว่าเป็นแค่ซีสต์ธรรมดาที่สามารถที่จะรักษาแบบเฝ้าระวังโดยไม่ต้องผ่าตัดได้ ทั้งนี้การตรวจต่าง ๆ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาสำหรับความเหมาะสม


สำหรับแนวทางการรักษา
รักษาด้วยการผ่าตัด แต่่ก็จะแยกไปอีกว่าเป็นการผ่าตัดแบบเอาเต้านมออกทั้งหมด หรือว่าเอาก้อนออกอย่างเดียว แพทย์จะดูว่าก้อนขนาดใหญ่แค่ไหนถ้าเทียบกับขนาดของเต้านม หรือดูจำนวนของก้อนถ้าจำนวนก้อนเยอะและใหญ่เราก็ไม่สามารถที่จะเก็บเต้านมไว้ได้ก็ต้องตัดเต้านมออกให้หมด อย่างไรก็ตามหากคนไข้สามารถเก็บเต้านมไว้ได้ทั้งสองข้างแพทย์ก็เลือกที่จะไม่ผ่าออกเพื่อให้คนไข้มีเต้านมที่เท่ากันดังเช่นปกติ เมื่อทราบว่าก้อนเป็นก้อนชนิดใดแพทย์ก็จะใช้วิธีการติดตามและนัดมาดูอาการทุก 3 – 6 เดือนอีกครั้งแล้ว



หลังการผ่าตัด
แพทย์จะนัดมาดูอาการทุก 3 – 6 เดือนแล้วก็จะอัลตร้าซาวด์อีกที อันนี้ก็เป็นการเฝ้าระวัง การเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามหากซีสต์หรือก้อนที่พบนั้นพบว่าเป็นก้อนมะเร็ง แต่หากเราพบไว รักษาไว โอกาสที่ก้อนนั้นจะรักษาไม่หายนั้นน้อยมาก ๆ เพราะแม้ก้อนนั้นจะเป็นก้อนมะเร็งแต่หากเราเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโอกาสที่จะหายหรือจะลามไปที่ปอดหรือตับนั้นก็ไม่มีอย่างแน่นอน

การป้องกัน
สำหรับสาเหตุของการเกิดซีสต์นั้นเกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่เราควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงที่เราควบคุมไม่ได้ก็คือ ยีนส์ที่ถูกส่งต่อมาจากพ่อแม่เรา ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ก็ยังมีปัจจัยที่เราควบคุมได้เช่น การละลดกิน แอลกอฮอล์ การลดละไขมัน การกินอาหารที่มีประโยชน์ รวมไปถึงการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อคัดกรองหาความเสี่ยง



ขอบคุณข้อมูลโดย

นพ.วสุพล จึงพัฒนปรีชา
ศัลยแพทย์ คลินิกศัลยกรรม โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4