ลูกคลอดออกมา “ตัวเหลือง”นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
18-ต.ค.-2565

ในความเป็นจริงแล้ว หลังคลอด”  ... “ ทารกจะตัวเหลือง” ทุกคน แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะอาการตัวเหลืองจะมีทั้งแบบหายเองได้ ไปจนถึงแบบที่เป็นอันตรายที่ต้องได้รับการรักษา วันนี้เราเลยจะชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกับภาวะตัวเหลือง จะได้ไม่ตระหนกหรือตกใจและสามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง

 


ทำไม 
? ลูกถึงตัวเหลือง
หลังจากคลอด ทารกจะมีเม็ดเลือดแดงสูง ทำให้มีอัตราการแตกตัวสูงตามไปด้วย ซึ่งการแตกตัวนี้ทำให้เกิดสารสีเหลืองชื่อบิลิรูบิน ทำให้ทารกตัวเหลืองอยู่ประมาณ 3-5 วัน จากนั้นจะค่อยๆจางหายไปเอง เมื่อสารบิลิรูบินถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และอุจจาระ

 


ตัวเหลืองแบบไหน
ที่ต้องกังวล
ส่วนใหญ่แล้วทารกจะเริ่มเหลืองที่ใบหน้าก่อน แล้วค่อยไล่ลงส่วนล่าง แต่ถ้าเมื่อไหร่มาถึงขา แสดงว่าเหลืองมาก ควรจะต้องตรวจหาค่าบิลิรูบิน ซึ่งถ้าสูงเกินหลัก 10 ขึ้นไป หรือค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ภายในช่วง 3 วันหลังคลอด จะต้องรีบทำการรักษา ซึ่งต้องระวังไม่ให้ค่าสูงเกิน 20 เพราะสารเหลืองจะซึมเข้าสมอง ทำให้เด็กมีอาการผิดปกติทางสมองได้

 


สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเหลืองผิดปกตินั้นแบ่งออกได้เป็น
5 ปัจจัย คือ

1.
ทารกที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยคลอด จะทำให้มีเลือดออกที่ใต้หนังศรีษะ มีเลือดคั่งเฉพาะส่วน เพิ่มโอกาสให้การแตกตัวของเม็ดเลือดสูงขึ้น
2.
ภาวะกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากันมักพบในคู่ที่แม่มีหมู่เลือด O ส่วนลูกเป็น A หรือ B และคู่ที่แม่มีเลือดหมู่ Rh- กับลูกที่มีเลือดหมู่ Rh+
3.
เป็นโรคเลือด ช่น โรคธาลัสซีเมีย หรือโรคขาดเอนไซน์ G6PD ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ
4.
การทำงานของตับยังไม่สมบูรณ์ทำให้สารบิลิรูบินไม่ถูกขับ หรือขับช้ากว่าปกติ
5.
ความผิดปกติที่ลำไส้ อย่างเช่น เกิดภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้บิลิรูบินไม่ถูกขับออกไป แต่กลับถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดแทน

 


วิธีการรักษา
ภาวะตัวเหลือง
หลังคลอดควรให้ทารกกินนมแม่ให้บ่อยที่สุด ประมาณ 10-12 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ทารกจะขับถ่ายบ่อย ซึ่งเป็นการขับสารบิลิรูบินตามธรรมชาติ ช่วยให้สีผิวกลับมาปกติเร็วที่สุด แต่ในกรณีที่ค่าบิลิรูบินสูงเกิน 10 จะต้องทำการรักษาโดยใช้เครื่องมือแพทย์

-
ถ้าค่าบิลิรูบินต่ำกว่า 20 จะรักษาโดยการส่องไฟ วิธีนี้จะช่วยเปลี่ยนโมเลกุลบิลิรูบินให้กลายเป็นสารที่ละลายน้ำได้ และจะถูกขับผ่านทางน้ำดี ถ่ายเป็นปัสสาวะ และอุจจาระ
- ถ้าค่าบิลิรูบินสูงกว่า 20 อาจจะต้องรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายเลือด
เพื่อนำเลือดที่มีบิลิรูบินสูงออก แล้วให้เลือดที่มีค่าปกติเข้าไปแทน

 

 



ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

กุมารเเพทย์ ศูนย์กุมารเวช  อาคาร 3 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 

โทร.02-514-4141 ต่อ 3320-3221
Line id : @Paolochokchai4