title
ในแต่ละวันเราต้องเผชิญกับสารพิษต่างๆ มากมาย ทั้งในอากาศ ควัน ไอเสีย หรือกระทั่งในอาหาร ใครจะไปรู้ว่าอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้อาจมีสารปนเปื้อนอยู่ก็ได้
เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมความพร้อม เราไปดูกันสิว่าสารปนเปื้อนชนิดใดบ้างที่มักปนเปื้อนมากับอาหารที่เรากินอยู่ทุกวัน!
การปนเปื้อนในอาหาร คืออะไร
ในแต่ละวันเราต้องเผชิญกับสารพิษต่างๆ มากมาย ทั้งในอากาศ ควัน ไอเสีย หรือกระทั่งในอาหาร ใครจะไปรู้ว่าอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันนี้อาจมีสารปนเปื้อนอยู่ก็ได้
เพื่อเป็นการป้องกันและเตรียมความพร้อม เราไปดูกันสิว่าสารปนเปื้อนชนิดใดบ้างที่มักปนเปื้อนมากับอาหารที่เรากินอยู่ทุกวัน!
การปนเปื้อนในอาหาร คืออะไร
สารปนเปื้อนในอาหาร (Contaminants) คือสารที่ปนเปื้อนมากับอาหาร โดยอาจมาจากกระบวนการผลิตไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการผลิต โรงงาน การดูแลรักษา การบรรจุ ตลอดจนการขนส่งและการเก็บรักษา หรือเกิดจากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นคือผู้ผลิตบางแห่งมีการนำสารเคมีผสมในอาหาร ซึ่งสารเคมีบางอย่างนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย บางชนิดหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้
สารเคมีที่พบปนเปื้อนได้บ่อย ได้แก่
- สารบอแรกซ์ พบมากในอาหารประเภทเนื้อหมู เนื้อปลา เนื้อวัว ฯลฯ เมื่อใส่สารนี้ไปแล้วจะทำให้อาการมีสีสันที่สวยงาม รสชาติดี และเก็บไว้ได้นาน สารนี้เป็นสารที่ก่อให้เกิด สารไนโตรซามีน (nitrosamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
- สารกันรา (กรดซาลิซิลิค) พบได้ในอาหารประเภท แหนม หมูยอ และผักผลไม้ดอง เช่น มะม่วงดอง ผักกาดดอง มะกอกดอง มะดันดอง ขิงดอง เป็นต้น หากกินอาหารที่มีสารกันราปนเปื้อนพิษของมันก็จะเข้าไปทำลายเซลล์ต่างๆ ทำให้ความดันโลหิตต่ำ เป็นผื่นคันตามตัว อาเจียน หูอื้อ หรือมีไข้
- สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) ส่วนใหญ่จะใส่อยู่ในอาหารพวก ดอกไม้จีน เห็ดหูหนูขาว เยื่อไผ่ หน่อไม้ ถั่วงอก แป้ง หรือเส้นก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ หากสารชนิดนี้สะสมในร่างกายมากๆ จะทำให้หายใจติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หรือหมดสติได้
- ฟอร์มาลิน เป็นสารอันตรายที่ถูกนำมาใช้กับอาหารสดไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล เนื้อสัตว์ หรือกระทั่งผัก เพื่อให้มีความสดได้นาน หากถูกปนเปื้อนเข้าไปในร่างกายปริมาณมาก จะทำให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ส่งผลให้ปวดหัว ปวดท้อง แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการเหงื่อออก ร่วมด้วย
- สารตกค้างพวกยาฆ่าแมลง ที่มักตกค้างมากับผักหรือผลไม้สด ซึ่งสารเหล่านี้มีพิษต่อระบบประสาท ส่งผลให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ทำให้ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย โดยอาการจะรุนแรงมากหากได้รับสารโดยตรง
วิธีสร้างความปลอดภัยง่ายๆ ด้วยตัวเอง
- เลือกซื้ออาหารจากแหล่งคุณภาพและเชื่อถือได้
- แช่ผักและผลไม้ในสารละลายน้ำส้มสายชู หรือสารละลายด่าง ก่อนนำมาบริโภคทุกครั้ง
- เลือกรับประทานอาหารที่ใช้สีปรุงแต่งจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารจากสารเคมี
- เลือกซื้อสินค้าที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาเพื่อรับรองคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร
ดูเหมือนว่าสารปนเปื้อนเหล่านี้จะพบได้ทั่วไปกับอาหารแทบทุกประเภท วิธีที่ดีที่สุดคือการเลือกซื้ออาหารจากแหล่งผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ และหากมีอาการแพ้ใดๆ เกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด!
สอบถามรายละเอียด
ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ อาคาร 1 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1210 – 1211