เมื่อเราไป “ตรวจสุขภาพ” ก็จะต้องพบกับคำศัพท์ในการตรวจสุขภาพวัดค่าต่างๆ มากมาย รวมถึงตัวเลขที่ได้ก็ดูเหมือนว่าจะมีแต่คุณหมอเท่านั้นที่รู้ความหมาย และถึงแม้คุณหมอจะอธิบายให้เราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้ว แต่พอกลับถึงบ้านก็มักสับสนกับค่าต่างๆ ว่าดีหรือแย่มากน้อยแค่ไหน สรุปแล้วร่างกายเรายังปกติดี เริ่มมีปัญหา หรือว่าส่วนไหนต้องดูแลกันเป็นพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้เราจะมาทำความเข้าใจใน “ผลตรวจสุขภาพพื้นฐาน” กันว่า ปกติแล้วจะมีการตรวจสุขภาพอะไรบ้าง และค่าตัวเลขสุขภาพที่ได้บอกถึงสุขภาพในแต่ละอวัยวะว่าเป็นอย่างไรบ้าง
แพ็กเกจตรวจสุขภาพพื้นฐาน...ตรวจอะไรบ้าง?
การตรวจสุขภาพพื้นฐานของโรงพยาบาลต่างๆ จะมีการวัดส่วนสูงและน้ำหนัก วัดความดันโลหิตก่อนเจาะเลือดและเก็บปัสสาวะไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันประเภทต่างๆ ในเลือด ค่าการทำงานของตับและไต ค่ากรดยูริก และค่าต่างๆ ที่ตรวจได้จากปัสสาวะ เป็นต้น
ตัวเลขผลการตรวจสุขภาพ...กับค่าที่เราต้องรู้
1.ผลตรวจสุขภาพความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count : CBC)
เป็นการตรวจนับปริมาณ และลักษณะของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด
ตรวจเม็ดเลือดแดง วัดค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb/HGB)
หากมีน้อยจะเกิดภาวะโลหิตจาง (Anemia) เลือดจะนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่ดี หากมีมากเลือดจะหนืด (Polycythemia) เลือดไหลเวียนช้า เสี่ยงภาวะเม็ดเลือดแดงอุดตันบริเวณหลอดเลือดฝอย แต่พบไม่บ่อย
ตรวจเม็ดเลือดขาว เพื่อดูจำนวนเซลล์ (White Blood Cell Count : WBC)
หากตรวจพบค่าสูงกว่าปกติอาจมีภาวะการติดเชื้อ แต่ถ้าค่าต่ำกว่าปกติจะเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
ตรวจเกล็ดเลือด (Platelet Count)
หากมีเกล็ดเลือดน้อยเกินไปจะมีภาวะเลือดหยุดยากหรือไม่หยุดเมื่อมีแผล ถ้ามีเกล็ดเลือดมากไปจะเสี่ยงภาวะหลอดเลือดตีบได้ง่าย
2.ผลตรวจสุขภาพระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
เพื่อหาข้อบ่งชี้ของโรคเบาหวานหลังการงดอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังงานมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง โดยหาค่าระดับกลูโคสในเลือด (Blood Glucose)
3.ผลตรวจสุขภาพระดับไขมันคลอเรสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกรีเซอร์ไรด์ (Triglyceride)
เป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงในการเป็นโรคที่เกี่ยวกับความดันโลหิต โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง โดยค่าที่เหมาะสมคือ
4.ผลตรวจสุขภาพการทำงานของตับ (Liver Function Test : LFT)
เป็นการตรวจหาเอนไซม์ของตับ เพื่อดูการทำงานของตับว่าผิดปกติหรือไม่ โดยวัดค่า SGOT (Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase) หรือ AST (Aspartate Transaminase) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบได้มากที่ตับและกล้ามเนื้อหัวใจ โดยค่าปกติของ SGOT (AST) ในผู้ชายและผู้หญิงจะต่างกัน ดังนี้
ส่วนค่า SGPT (Serum Glutamate-Pyruvate Transaminase) หรือ ALT (Alanine Aminotransferase) จะบอกถึงความเป็นพิษต่อตับที่อาจเกิดจากยาบางชนิด แอลกอฮอล์
อาหาร หรือการติดเชื้อไวรัส โดยทั่วไปการตรวจตับจะนิยมตรวจค่า SGOT คู่กับค่า SGPT เสมอ โดยค่าปกติของ SGPT (ALT) ในผู้ชายและผู้หญิงจะไม่เท่ากัน คือ
หากค่าที่วัดได้สูงกว่าปกติอาจบอกได้ว่าตับหรือตับอ่อนกำลังมีปัญหา
5.ผลตรวจสุขภาพการทำงานของไต (Blood Urea Nitrogen : BUN) และ ครีอะตินิน (Creatinine)
การตรวจค่า BUN เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดค่าไนโตรเจนจากส่วนประกอบของยูเรีย ว่ามีการรั่วออกมาในกระแสเลือดมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในผู้ใหญ่
หากตรวจพบค่า BUN สูง แสดงว่าการทำงานของไตกำลังมีปัญหา อาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้
ส่วนค่าครีอะตินิน (Creatinine) เป็นการตรวจสมรรถภาพการทำงานของไตว่ายังขับครีอะตินินออกทางปัสสาวะได้ดีอยู่หรือไม่ ซึ่งค่าปกติของครีอะตินิน คือ
หากค่าที่ได้สูง แสดงว่าไตทำงานแย่ลง ขับครีอะตินินได้ไม่ดี ทำให้เหลือค้างในกระแสเลือดมากเกินไป
6.ผลตรวจสุขภาพกรดยูริก (Uric Acid)
เป็นการตรวจกรดยูริกในเลือด หรือหาความเสี่ยงโรคเก๊าต์ ซึ่งค่าปกติ
ทั้งนี้การมีค่ายูริกสูง ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคเก๊าต์ หรือมีอาการปวดบวมตามข้อเสมอไป แต่ควรปรับพฤติกรรมเพื่อให้ค่ากลับมาเป็นปกติ
7.ผลตรวจสุขภาพปัสสาวะ (Urine Analysis : UA)
เป็นการตรวจลักษณะทางกายภาพ สี กลิ่น ความใสของน้ำ สารเคมีหรือสารเจือปนต่างๆ แต่หลักๆ แล้วการตรวจปัสสาวะจะเป็นการหาความถ่วงจำเพาะ (Urine Specific Gravity) ซึ่งสามารถบอกได้ถึงการดื่มน้ำที่เพียงพอหรือไม่ โดยในผู้ที่ร่างกายปกติจะมี
หากตรวจพบค่าที่มากเกินไปแสดงว่าร่างกายขาดน้ำ หรือดื่มน้ำน้อยเกินไป ควรปรับพฤติกรรม
หรือหากตรวจเวลาไหนของวันยังได้ไม่เกิน 1.005 นั่นอาจแสดงว่ากลไกการควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะของไตเสื่อมสมรรถภาพ
อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจสุขภาพทั้งหมดนี้ นับเป็นการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ยังต้องมีการพบแพทย์ เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกายด้วยวิธีอื่นๆ เพื่อประกอบการวินิจฉัย ซึ่งหากแพทย์พบความผิดปกติหรือประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงโรคอื่นใด อาจแนะนำให้ทำการตรวจสุขภาพเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือพิเศษเพื่อผลที่ชัดเจนและแม่นยำยิ่งขึ้น จะได้ทำการป้องกันการลุกลาม หรือรีบรักษาอย่างตรงจุดต่อไป
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
อาคาร 3 ชั้น 1 ศูนย์ตรวจสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
สอบถามเพิ่มเติมโทร.02-514-4141 ต่อ 5160 - 5161