title
ไทรอยด์
เป็นชื่อของต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายผีเสื้ออยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือก มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม แม้เราจะส่องกระจกมอง หรือลองคลำดูก็ไม่เจอ เจ้าต่อมไร้ท่อนี้ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นส่งไปออกฤทธิ์ที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง และต่อมไฮโปทาลามัส โดยร่างกายจะมีระบบควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์อย่างดี เพื่อรักษาระดับไทรอยด์ ฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา ควบคุมการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด อารมณ์และความรู้สึก

รวมถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมากกว่าครึ่งของผู้ป่วยทั้งหมด การเจ็บป่วยของโรคไทรอยด์ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติ เช่น
- ต่อมไทรอยด์โตแบบเป็นพิษ หรือทำงานมากเกินไป (Hyperthyroid) หรือไทรอยด์ชนิดผอม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือชนิดโตทั่วไป (Graves’disease) ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนตะปุ่มตะป่ำ (Toxic multinodular) และไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนเดี่ยว (Toxic nodule)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) หรือไทรอยด์ชนิดอ้วน เป็นภาวะที่ตรงข้ามกับต่อมไทรอยด์ทำงานมาก คือฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดอยู่ในระดับน้อยเกินไป และทำให้เกิดอาการผิดปกติต่อร่างกาย
ไทรอยด์ชนิดอ้วนและผอม ต่างกันอย่างไร?
ไทรอยด์ชนิดอ้วน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ จึงมีการเผาผลาญพลังงานน้อยกว่าปกติ และมีอาการต่างๆ เช่น
- เฉื่อยชา เบื่อ ขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร
- ง่วงนอนบ่อย ขี้หนาว ผมร่วง
- น้ำหนักขึ้น อ้วนแบบบวมฉุ
- เหนื่อยง่าย ทำอะไรไม่ค่อยไหว
- ท้องผูก
- บางรายประจำเดือนผิดปกติ
ไทรอยด์ชนิดผอม เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูง จึงมีการเผาผลาญพลังงานมากกว่าปกติ และมักมีอาการเหล่านี้
- ใจสั่น มือสั่น ตื่นเต้น ตกใจง่าย
- ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
- ขี้โมโห หงุดหงิดง่าย เครียดง่าย
- .หิวบ่อย กินเก่ง แต่น้ำหนักไม่ขึ้น
- เหนื่อยง่าย
- ประจำเดือนน้อยลง
วิธีการตรวจเช็คความเสี่ยงโรคไทรอยด์ ทำได้โดยสังเกตอาการของตนเอง หากมีลักษณะดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ซักประวัติ รวมถึงเจาะเลือดดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยตรวจหาระดับฮอร์โมน เช่น Thyroxine (T4), Triiodothyronine (T3), Thyroid stimulating hormone (TSH) เป็นต้น
โรคไทรอยด์ สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยา ติดตามระดับ Thyroid stimulating hormone (TSH) ไปจนถึงการผ่าตัด ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร.0-2271-7000 ต่อ หู คอ จมูก