โรคมือเท้าปาก


โรคมือเท้าปากในเด็ก อาการ สาเหตุ และวิธีดูแลที่พ่อแม่ควรรู้ 
คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า
โรคมือเท้าปากเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
โรคมือเท้าปาก ตั้งแต่สาเหตุ อาการที่สังเกตได้ง่าย ไปจนถึงแนวทางการดูแลลูกน้อยอย่างถูกวิธี เพื่อให้คุณพร้อมรับมือและปกป้องลูกรักให้ห่างไกลจากโรคนี้ 


โรคมือเท้าปาก
เกิดจากอะไร?
 

โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enteroviruses) ซึ่งมักจะแพร่ระบาดในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าฝน ที่อากาศเย็นและความชื้นสูง ทำให้เชื้อไวรัสสามารถมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น การติดต่อของโรคมือเท้าปาก สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อน เช่น น้ำมูก น้ำลาย ไอ จาม หรือการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ เมื่อเด็กสัมผัสแล้วนำมือเข้าปาก ก็จะทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายและเกิดการติดเชื้อได้ 


สัญญาณเตือนโรคมือเท้าปากในลูกน้อย
เมื่อลูกน้อยติดเชื้อโรคมือเท้าปาก จะแสดงอาการต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้: 

    • ไข้สูง: มักมีอาการไข้สูง ในช่วงแรกของการป่วย 
    • เจ็บคอ: ลูกน้อยอาจมีอาการเจ็บคอ ทำให้ไม่อยากทานอาหาร 
    • มีแผลในปาก: พบแผลในปากได้หลายตำแหน่ง เช่น บริเวณเพดานแข็ง เพดานอ่อน ลิ้น และกระพุ้งแก้ม 
    • น้ำลายไหล: เนื่องจากมีแผลในปาก ทำให้ลูกอาจมีน้ำลายไหลมากกว่าปกติ 
    • ตุ่มที่มือและเท้า: หมั่นสังเกตตุ่มแดง หรือตุ่มน้ำใส ขึ้นตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมถึงบริเวณแขนและขา 
    • ทานอาหารน้อยลง: อาการเจ็บคอ และมีแผลในปาก ทำให้ลูกน้อยกินข้าวได้น้อยลง


ดูแลลูกน้อยอย่างไร
เมื่อเป็นโรคมือเท้าปาก?
 

โดยทั่วไปแล้ว อาการของโรคมือเท้าปาก มักจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 5-7 วัน ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคมือเท้าปากโดยเฉพาะ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยตามอาการเพื่อบรรเทาความไม่สบายตัวได้ดังนี้ 

    • ให้ยาลดไข้เพื่อบรรเทาอากาไข้ขึ้นสูงตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร 

    • หากมีอาการคันสามารถใช้ยาลดอาการผื่นคันได้ 

    • เนื่องจากลูกจเจ็บคอ และมีแผลในปากำให้กลืนลำบาก ควรให้ทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ เช่น โจ๊กเย็น น้ำซุป หรือไอศกรีม หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ร้อน หรือแข็งกระด้าง 

    • หมั่นเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อช่วยลดไข้ 

    • ให้ลูกดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ


ล้างมือ

ดูแลลูกน้อยอย่างไรเมื่อเป็นโรคมือเท้าปาก? 

โดยทั่วไปแล้ว อาการของโรคมือเท้าปาก มักจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 5-7 วัน ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคมือเท้าปากโดยเฉพาะ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยตามอาการเพื่อบรรเทาความไม่สบายตัวได้ดังนี้ 

    • ให้ยาลดไข้เพื่อบรรเทาอากาไข้ขึ้นสูงตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร 

    • หากมีอาการคันสามารถใช้ยาลดอาการผื่นคันได้ 

    • เนื่องจากลูกจเจ็บคอ และมีแผลในปากำให้กลืนลำบาก ควรให้ทานอาหารอ่อนๆ เย็นๆ เช่น โจ๊กเย็น น้ำซุป หรือไอศกรีม หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ร้อน หรือแข็งกระด้าง 

    • หมั่นเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นเพื่อช่วยลดไข้ 

    • ให้ลูกดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ


เมื่อไหร่ควรพาลูกไปพบแพทย์
?
 

หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม: 

    • ไม่สามารถทานอาหารหรือดื่มน้ำได้เลย 

    • มีอาการเจ็บคอากและเบื่ออาหารอย่างรุนแรง 

    • มีอาการซึมลงอ่อนเพลียมาก 

    • มีอาการชัก

ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือควรให้เด็กหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้านและงดไปโรงเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคมือเท้าปากปสู่เด็กคนอื่นๆ 


ป้องกันโรคมือเท้าปาก
...ทำได้อย่างไร?
 

แม้ว่าโรคมือเท้าปากจะสามารถหายเองได้ แต่การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคมือเท้าปากให้กับลูกน้อยได้โดย: 

    • สอนให้ลูกล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ 

    • หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านในช่วงที่มีการระบาดของโรค 

    • ทำความสะอาดของเล่นและสิ่งของที่เด็กสัมผัสบ่อยๆ 

    • หากมีเด็กป่วยเป็นโรคมือเท้าปากในบ้าน ควรแยกของใช้ส่วนตัวและดูแลสุขอนามัยเป็นพิเศษ


โรคมือเท้าปาก
เป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็ก การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีการดูแลที่ถูกต้อง จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสังเกตพบอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรัก 





สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์ตรวจสุขภาพเด็ก โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5121
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Family Child Paolo