เนื้องอกกระดูกสันหลัง เนื้องอกไขสันหลัง ฟังดูอาจไม่ค่อยคุ้นกับชื่อนี้มากนัก! และถึงแม้ว่าจะมีโอกาสพบได้น้อยกว่าเนื้องอกบริเวณอวัยวะอื่นๆ แต่หากปล่อยเรื้อรังไปนานๆ อาจส่งผลถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณเป็นคนนึงที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังมานาน จนเข้าใจว่าตัวเองเป็น “ออฟฟิศซินโดรม” คงต้องมาเช็คกันหน่อย...ว่ามีอาการร่วมอื่นๆ ที่เป็นสัญญาณเตือนของ “เนื้องอกกระดูกสันหลัง” อยู่หรือเปล่า
สำหรับการวินิจฉัยเนื้องอกกระดูกสันหลังหรือเนื้องอกไขสันหลัง นอกจากการตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้ว แพทย์จะทำการตรวจเช็กเพิ่มเติมด้วยเครื่อง CT Scan หรือทำร่วมกับเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นโครงสร้างของกระดูกสันหลังได้ชัดเจน ซึ่งหากตรวจพบเนื้องอก แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไป
เพราะก้อนเนื้องอกอาจลุกลามไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆ จนเส้นประสาทถูกทำลายมาก อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง เช่น เป็นอัมพาตครึ่งล่างหรืออัมพาตทั้งแขนและขาได้
รวมทั้ง..ยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผ่าตัดรักษาลดลงอย่างมาก โดยจากผลการศึกษาพบว่า ถ้าผู้ป่วยยังสามารถเดินเองได้ก่อนผ่าตัด หลังการรักษาจะยังมีโอกาสเดินเองได้มากกว่า 60% แต่ถ้าผู้ป่วยขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง หลังการรักษาจะมีโอกาสเดินเองได้เพียง 35% และหากก่อนผ่าตัดผู้ป่วยเป็นอัมพาต ขยับขาไม่ได้ทั้งสองข้าง หลังการรักษาจะมีโอกาสเดินเองได้ เหลือเพียง 0-25% เท่านั้น
แม้จากสถิติทางการแพทย์จะพบว่า โอกาสเกิดเนื้องอกในกระดูกสันหลังและไขสันหลังมีเพียง 1% แต่หากมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะการตรวจกระดูกสันหลังไม่ได้น่ากลัว แต่ผลกระทบจากการปล่อยให้ก้อนเนื้องอกทำลายระบบประสาทไขสันหลัง...นั้นน่ากลัวกว่า!!!