นาฬิกา(ชีวิต)ที่เดินตรงเวลาที่สุด
ในการแพทย์ฝั่งตะวันออกได้มีการคิดค้นความรู้เกี่ยวกับ “นาฬิกาชีวิต” ซึ่งเราทุกคนพกนาฬิกาติดตัวมาตั้งแต่เกิดกันแล้วทั้งนั้น เพียงแต่เราไม่ได้สังเกตว่ามันอยู่กับเรามาตลอดเท่านั้นเอง แต่เราทุกคนรู้ดีว่า ควรนอนกี่โมง การทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน การขับถ่ายในแต่ละวัน นี่คือนาฬิกาชีวิตที่เริ่มเดินมาตลอดพร้อมๆ กับที่เราเกิดมา
วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ และเร็ว เกี่ยวกับเจ้านาฬิกาชีวิตเรือนนี้ เพื่อเราจะได้รู้จักร่างกายของตัวเองมากขึ้นด้วย
01:00 – 03:00 น. ช่วงเวลาของตับ
ตับจะทำงานเมื่อเราหลับ เมื่อร่างกายพักผ่อน ตับจะหลั่งสารมีลาโทนินออกมาเพื่อขับสารพิษในร่างกาย
03:00 – 05:00 น. ช่วงเวลาของปอด
ช่วงเวลาที่คุณควรตื่นขึ้นมา เพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเช้า ถือเป็นการสตาร์ทให้ปอดเริ่มทำงานในวันใหม่
05:00 – 07:00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่
ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการขับถ่ายในทุกๆ วัน เราสามารถกระตุ้นอวัยวะนี้ให้ทำงานได้ด้วยวิธีง่ายๆ คือการดื่มน้ำ 2 แก้ว หลังจากตื่นนอนเท่านั้นเอง เราควรทำกิจกรรมนี้ให้เป็นกิจวัตรประจำวัน เพราะการขับถ่ายทุกวันส่งผลดีต่อร่างกาย ทั้งการขับของเสียออกจากร่างกาย และ ทำให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณสดใสลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวง และ อาการท้องผูกได้
07:00 – 09:00 น. ช่วงเวลาของเพาะอาหาร
กองทัพต้องเดินด้วยท้อง เมื่อคุณต้องเริ่มวันใหม่ หลังจากการหลับพักผ่อนร่างกายมาตลอดทั้งคืน เมื่อตื่นขึ้นส่วนต่างๆ ของร่างกายก็ต้องการพลังงานการในสตาร์ทตัวเองเพื่อทำงาน คุณจึงควรทานอาหารเช้าเพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายนำไปใช้ได้อย่างเพียงพอตลอดทั้งวัน
09:00 – 11:00 น. ช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน
เป็นช่วงเวลาที่ม้ามและตับอ่อน จะเริ่มทำงานเต็มที่ ในช่วงนี้เพราะส่วนต่างๆ จะตื่นตัวสุดหลังจากเริ่มวันใหม่ ตับอ่อนจะนำสารอาหารที่ได้ ส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนม้ามจะคอยดักจับเชื้อโรค สร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วงเวลานี้หากใครยังไม่ยอมลุกขี้นมาจากเตียงเวลานี้ อาจส่งผลเสียต่อม้ามและตับอ่อน ทำให้มีอาการไม่มีแรง อ่อนเพลียได้
11:00 – 13:00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ
ความดันเลือดจะสูงขึ้นกว่าปกติในช่วงนี้ เป็นเหตุให้หัวใจทำงานหนัก ดังนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงภาวะต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดภาวะร่วมนี้ เราจึงควรผ่อนคลายจิตใจและสมองไม่ให้ทำงานหนักหรือเครียดเกินไป เพื่อรักษาความสมดุลของการทำงานของหัวใจเรา
13:00 – 15:00 น. ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก
หากเราทานอาหารในช่วงนี้ ลำไส้เล็กจะไม่สามารถดูดซึมอาหารและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้เต็มที่ หากเป็นผู้หญิง อาจเสี่ยงอาการไข่มาไม่ครบทุกเดือน เพราะกรดอะมิโนที่ลำไส้เล็กผลิตออกมาน้อย ดังนั้นควรเว้นจังหวะให้ลำไส้เล็กได้ทำงานอย่างเต็มที่
15:00 – 17:00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อร่างกายดูดซึม และ เผาผลาญนำสารอาหารไปใช้แล้ว ช่วงเย็นจึงเป็นช่วงเวลาแก่การขับของเสียออกจากร่างกาย แนะนำให้ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย ให้เหงื่อออก นอกจากนี้เรายังสามารถดื่มน้ำ เพื่อช่วยให้การขับของเสียจากร่างกายได้เร็วขึ้น
17:00 – 19:00 น. ช่วงเวลาของไต
เนื่องจากเราขับถ่ายของเสียและเผาผลาญโปรตีนออกจากร่างกายมาทั้งวันแล้ว ไตที่ทำงานหนักมาทั้งวัน ช่วงเวลานี้ค่าไตจะสูงขึ้นมาก การออกกำลังกายจะกระตุ้นให้ไตทำงานได้ดีขึ้น หากไม่มีเวลาออกำลังกาย การทำงานบ้านต่างๆ ก็ช่วยได้เหมือนกัน
19:00 – 21:00 น. ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ
เยื่อหุ้มหัวใจมีหน้าที่สูบโลหิตเราจึงไม่ควรทำกิจกรรมที่ทำให้เลือดที่หัวใจสูบฉีดแรงกว่าปกติ เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่การเตรียมตัวนอนที่มีประสิทธิภาพ ก่อนเข้านอนเราจึงควรผ่อนคลายทั้งร่างกายและสมองด้วยการ นั่งสมาธิหรือ ดูหนัง ฟังเพลง ที่ให้ความรู้สึกสบายๆ ไม่เคร่งเครียด
21:00 – 23:00 น. ช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น
ช่วงเวลาของการนอนที่เหมาะสมที่สุด เราควรทำให้ร่างกายอบอุ่น ไม่หนาว หรือร้อนเกินไป เพื่อการพักผ่อนอย่างต่อเนื่องถึงเช้า ไม่ควรอาบน้ำเย็นในช่วงนี้ เพราะจะทำให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว อาจจะทำให้หลับยาก และลองดื่มนมอุ่นๆ สักแก้วก่อนนอน จะช่วยให้หลับสบายขึ้น
.jpg)
23:00 – 01:00 น. ช่วงเวลาของถุงน้ำดีการจิบน้ำก่อนนอน จะช่วยให้ถุงน้ำดีได้มีน้ำเก็บเอาไว้ใช้ในยามที่ร่างกายหลับใหล และเป็นการเจือจางไม่ให้น้ำดีข้นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการ ตื่นกลางดึก เหงือกบวม อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ตอนเช้าจะจามอีกด้วย
ในปัจจุบันเราไม่อาจหลีกเลี่ยงโรคภัยต่างๆ ที่รายล้อมรอบตัวเราได้ เราทุกคนมีนาฬิกาชีวิตนี้เป็นตัวช่วยคอยแนะนำให้เราดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันเราจากโรคและความเสื่อมถอยของร่างกายที่ไม่ควรเกิดก่อนเวลาอันควร
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111