ไขข้อข้องใจ... ค่าต่างๆ ในผลตรวจสุขภาพ บอกอะไรได้บ้าง (PART 2)
โรงพยาบาลเปาโล
12-ธ.ค.-2566

หลังจากดูค่าความสมบูรณ์ของเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือดกันไปแล้ว ก็ต้องมาต่อกันที่การทำงานของตับ ของไต และมาดูปริมาณกรดยูริกที่เป็นสัญญาณของโรคเก๊าต์ รวมไปถึงปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของร่างกาย ถ้าพร้อมแล้ว…ไปต่อกันเลย


4. เช็กการทำงานของตับ

การตรวจตับ เป็นการตรวจหาค่าเอนไซม์ชนิดหนึ่งในเลือดที่มักจะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อตับหรือตับอ่อนเกิดความเสียหาย โดยแบ่งออกเป็น

  • ค่า SGOT หรือ AST ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบได้มากที่ตับและกล้ามเนื้อหัวใจ โดยจะแสดงค่าที่เพิ่มสูงขึ้นหลังได้รับความเสียหายภายใน 24-36 ชั่วโมง และหากได้รับการฟื้นฟูที่ตรงจุดค่า AST ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภายใน 3-7 วัน ยกเว้นเกิดการบาดเจ็บเรื้อรัง
  • ค่าปกติของ SGOT (AST)

    ผู้ชาย8 - 46 U/L
    ผู้หญิง 7 - 34 U/L

  • ค่า SGPT หรือ ALT เรียกได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นพิษต่อตับ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากยาบางชนิด แอลกอฮอล์ อาหาร หรือการติดเชื้อไวรัส ดังนั้นจึงนิยมตรวจค่า SGOT ควบคู่กับค่า SGPT เสมอ
  • ค่าปกติของ SGPT (ALT)

    ผู้ชาย 30 U/L
    ผู้หญิง19 U/L

  • ค่า Alk phosphatase หรือ ALP เอนไซม์ชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นมาด้วยโปรตีนจากตับและกระดูกที่เกิดความผิดปกติ โดยค่า ALP มาตรฐานควรอยู่ระหว่าง 30-126 U/L

  • 5. ดูการทำงานของไต

  • ค่า BUN หรือ Blood Urea Nitrogen จะบ่งบอกถึงปริมาณไนโตรเจนในกระแสเลือด ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย ซึ่งจะสะท้อนการทำงานของไตได้ โดยค่า BUN ที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 10-20 mg/dl ค่า BUN ที่สูงเกินไปอาจเป็นการบ่งบอกว่าไตเริ่มทำหน้าที่บกพร่อง
  • ค่า Creatinine (ครีอะตินีน) ค่านี้จะสะท้อนถึงสมรรถภาพการทำงานของไต หากไตยังทำงานได้ดี ก็จะสามารถขับครีอะตินีนทิ้งออกทางปัสสาวะได้เป็นจำนวนมาก และเหลือคงค้างไว้ในกระแสเลือดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • ค่าปกติของ Creatinine

    ผู้ชาย 0.6 - 1.2 mg/dL
    ผู้หญิง 0.6 - 1.2 mg/dL

    ค่าครีอะตินีนที่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สูงเกิน 4 mg/dL จtบ่งบอกถึงความผิดปกติของไตในขั้นวิกฤตร้ายแรง


    6. ระดับกรดยูริกในเลือด
  • เป็นการตรวจหาปริมาณกรดยูริกในเลือด หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นการตรวจหาโรคเก๊าต์นั่นเอง โดยปกติผู้ชายควรมีค่าไม่เกิน 5 mg/dL และผู้หญิงจะต้องมีค่าไม่เกิน 8 mg/dL

  • 7. ตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ และดูการทำงานของต่อมไทรอยด์
  • ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก TSH กันก่อน TSH เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมอง ทำหน้าที่กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมน T3 (triiodothyronine) และ T4 (thyroxine) เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ค่า TSH นี้จะขึ้นกับระดับไทรอยด์ฮอร์โมนโดยตรง หากต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้ตามปกติ ค่า TSH จะต่ำ หากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ค่า TSH ก็จะเพิ่มสูงขึ้น
  • ค่าปกติของฮอร์โมนไทรอยด์

    TSH0.5-5.0 mU/L
    T380-200 ng/dL
    T44.5-12.5 µg/dL

    โดยมักพบว่าคนที่มีค่า TSH สูงมักจะมีค่า T3 และ T4 ต่ำ ซึ่งบ่งบอกให้รู้ถึงความเสี่ยงต่อภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือ Hypothyroid แต่ในผู้ที่มีปริมาณ TSH ต่ำ ก็มักพบว่าค่า T3 และ T4 จะเพิ่มสูงกว่าปกติ ซึ่งบ่งบอกถึงความเสี่ยงภาวะ “ไทรอยด์เป็นพิษ” นั่นเอง


    8. วัดระดับแคลเซียม

    ปกติแล้วปริมาณแคลเซียมในเลือดของผู้ใหญ่ จะมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ 8.8-10 mg/dL แต่หากตรวจพบว่ามีค่าแตกต่างไปจากนี้ อาจเข้าข่ายภาวะแคลเซียมในเลือดผิดปกติ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคไต วัณโรค โรคมะเร็งที่แพร่กระจายไปที่กระดูก และผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อย แต่ทั้งนี้การตรวจปริมาณแคลเซียมในเลือดไม่สามารถบ่งบอกถึงภาวะกระดูกพรุนได้ เพราะต้องอาศัยการตรวจเฉพาะทางเพิ่มเติม


    9. ตรวจปัสสาวะ

    หลักๆ แล้วเราตรวจปัสสาวะเพื่อดูพฤติกรรมการดื่มน้ำนั่นเอง โดยในผู้ที่ร่างกายปกติจะมี ค่าความถ่วงจำเพาะของปัสสาวะจะอยู่ที่ 1.005-1.030 หากมีค่าเกินกว่าที่กำหนด แสดงว่าร่างกายขาดน้ำ หรือเราดื่มน้ำน้อยเกินไป


    เห็นไหมว่าการทำความเข้าใจค่าต่างๆ ที่ปรากฎในผลตรวจสุขภาพไม่ยากอย่างที่คิด เพราะค่าทุกค่าเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงภาวะสุขภาพของเรา ดังนั้น จากนี้ไป เมื่อได้รับผลการตรวจสุขภาพมาเมื่อไหร่ก็ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป เพราะเราจะเข้าใจได้ว่า สุขภาพในแต่ละอวัยวะของเรานั้นเป็นอย่างไรบ้าง ควรปรับพฤติกรรมอย่างไร หรือต้องรีบรักษาแล้ว


    บทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม