-
ระหว่างตรวจแมมโมแกรมกับอัลตร้าซาวด์เต้านม ตรวจแบบไหนดีกว่ากัน!
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ การคลำเต้านมโดยแพทย์ การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม และการอัลตร้าซาวด์เต้านม แต่ทว่าทั้ง 3 วิธีก็มีขั้นตอนและวิธีในการตรวจที่แตกต่างกันไป แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการตรวจแบบไหนที่เหมาะกับเรามากที่สุด?
ไขข้อข้องใจ! ตรวจแมมโมแกรมกับอัลตร้าซาวด์เต้านม ต่างกันอย่างไร?
แม้การตรวจทั้งสองวิธีนี้ จะเป็นการตรวจเต้านมเหมือนกัน แต่ก็มีข้อแตกต่างเล็กๆ ที่ช่วยบ่งบอกถึงจุดเด่นของแต่ละวิธี ซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้
หลักการทำงานของเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตร้้าซาวด์เต้านม
การตรวจแมมโมแกรม : เป็นการตรวจโดยใช้รังสีชนิดหนึ่ง คล้ายกับการตรวจด้วยเอกซเรย์ แต่ปริมาณรังสีที่ใช้จะน้อยกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป ทำให้สามารถมองเห็นความหนาแน่นของเนื้อเต้านม การกระจายของเนื้อเต้านมที่ผิดปกติ หรือตรวจพบจุดหินปูนในเต้านมได้ ซึ่งการตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมจะช่วยให้พบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทั้งยังช่วยระบุตำแหน่งความผิดปกติของเต้านมได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว
การตรวจอัลตร้าซาวด์ : เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นความถี่เสียงสูง สแกนเข้าไปในเนื้อเต้านม คลื่นเสียงจะเข้าไปตกกระทบกับเนื้อเยื่อภายในเต้านมและสะท้อนกลับมาที่เครื่องรับทรานสดิวเซอร์ (transducer) ทำให้สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อเต้านมกับก้อนในเต้านมได้ และหากพบก้อนเนื้อในเต้านมยังสามารถบอกได้ว่าก้อนนั้นมีส่วนประกอบเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ
ทว่าการอัลตร้าซาวด์ก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้างตรงที่ไม่สามารถตรวจหาหินปูนขนาดเล็กได้เหมือนการตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม ดังนั้นหากต้องการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยการอัลตร้าซาวด์จึงต้องทำร่วมกับการตรวจแมมโมแกรม จึงจะเห็นผลดีที่สุด
ขั้นตอนการตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม
ตรวจแมมโมแกรม :
อัลตร้าซาวด์เต้านม :
การตรวจดิจิทัลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม…ตรวจแบบไหนเหมาะกับใครมากกว่า?
การตรวจแมมโมแกรม : จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น เนื้อเต้านมจะมีความหนาแน่นลดลง ทำให้เวลาตรวจสามารถเห็นรายละเอียดเต้านมได้ชัดเจน จึงทำให้พบจุดหินปูนขนาดเล็กที่อาจเป็นต้นเหตุของมะเร็งเต้านมได้
อัลตร้าซาวด์ : เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี เนื่องจากเนื้อเต้านมยังมีความหนาแน่นอยู่ ทำให้การอัลตร้าซาวด์เต้านมสามารถเห็นก้อนความผิดปกติในเนื้อเยื่อเต้านมได้ดีกว่า
การเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม
แม้การตรวจแมมโมแกรมหรืออัลตร้าซาวด์จะมีความแม่นยำสูง แต่ในการตรวจแต่ละชนิดก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น
ฉะนั้นในการตรวจคัดกรองเต้านม ควรทำการตรวจร่วมกันระหว่างแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ พร้อมเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นประจำ ก็จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจพบมะเร็งได้ดีที่สุด เพราะหากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่ม โอกาสที่จะรักษาให้หายขาดก็ยิ่งมีมากขึ้น ทั้งยังเพิ่มทางเลือกการรักษาได้มากขึ้นด้วย
บทความโดย
แพทย์หญิงศศพินทุ์ วงษ์โกวิท
แพทย์ประจำสาขาศัลยกรรมทั่วไป
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก ศัลยกรรมทั่วไป อาคาร 1 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2145-2146