ไม่หายต้องอ่าน! “ปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน” จากแผ่นดินไหว สาเหตุ อาการ และวิธีดูแล
โรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ
11-เม.ย.-2568

ไม่หายต้องอ่าน! "ปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน" จากแผ่นดินไหว สาเหตุ อาการ และวิธีดูแล


หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว หลายคนอาจยังต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง นั่นคือ “อาการปวดกล้ามเนื้อ” ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน

การเคลื่อนไหวที่ผิดท่า การเกร็งตัวในขณะตกใจ หรือความผิดพลาดขณะทำการช่วยเหลือผู้อื่น เหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้นได้ หลายคนอาจไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือไม่ มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุ อาการที่ควรสังเกต และวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างปลอดภัย เพื่อฟื้นฟูสุขภาพกันค่ะ




สาเหตุของอาการ "ปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน"

แม้เหตุการณ์ แผ่นดินไหว จะกินเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ร่างกายของเราอาจตอบสนองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ต่อความตกใจหรือแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว เช่น

  • เกร็งตัวทันทีจากความตกใจ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดแรงตึงมากผิดปกติ 
  • เคลื่อนไหวผิดท่าขณะหลบหนี เช่น การวิ่งเร็ว ก้ม เก็บของ หรือกระโดดโดยไม่ทันตั้งหลัก
  • ยืนนานในท่าตึงเครียด เช่น นั่งหรือยืนหดตัวระหว่างเกิดเหตุการณ์
  • ความเครียดสะสม หลังเหตุการณ์อาจกระตุ้นอาการปวดกล้ามเนื้อคล้ายคนที่เป็น office syndrome




สังเกตุอาการตัวเอง
อาการปวดกล้ามเนื้อจากเหตุการณ์เฉียบพลัน มักแสดงออกใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังเหตุการณ์ โดยอาจพบอาการเหล่านี้

  • ปวดตึงบริเวณ คอ บ่า ไหล่ หลังส่วนล่าง
  • ปวดจี๊ดเฉพาะจุด หรือรู้สึกปวดเวลาขยับ
  • กดลงไปมีจุดเจ็บหรือเป็นก้อนแข็ง
  • อ่อนแรงหรือเคลื่อนไหวได้น้อยลง


การดูแลเบื้องต้น
หากอาการปวดกล้ามเนื้อไม่รุนแรง ยังสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ ดังนี้ 

  1. ประคบร้อน (ยกเว้นช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังเจ็บใหม่ๆ ควรประคบเย็น) วันละ 2 - 3 ครั้ง ครั้งละ 15 - 20 นาที ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด คลายกล้ามเนื้อ
  2. หลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นอาการปวด งดก้ม ยกของหนัก หรือหมุนลำตัวเร็วๆ  
  3. ยืดเหยียดเบาๆ เช่น ท่ายืดคอ ท่าหมุนไหล่ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ
  4. หากไม่รู้สึกปวดมากจนเกินไป ให้ทำการนวดกล้ามเนื้อเบาๆ
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ ความเครียดสะสมทางจิตใจก็ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งโดยไม่รู้ตัวได้


สัญญาณเตือน! ว่าควรไปพบแพทย์
หากอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน มีอาการปวดร้าว ชา หรืออ่อนแรงร่วมด้วย ขยับแล้วมีเสียงดัง "ก๊อบแก๊บ" หรือรู้สึกข้อติด ปวดจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

การดูแลรักษาที่ถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญ การบำบัดด้วย “เครื่องมือกายภาพ” ที่ช่วยฟื้นฟูและบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลันได้อย่างตรงจุด ด้วยเทคโนโลยีคลื่นไฟฟ้าความถี่ต่ำ ควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยความร้อน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการฟื้นฟูอาการปวดเฉียบพลันนี้... โปรแกรมตรวจ Office Syndrome 





สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์กระดูกและข้อ
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ 
โทร.02 3632 000 ต่อ 2130-2131

รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่
Line official account : ศูนย์กระดูก PLS
Line ID : @ortho_paolo_pls

Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn