รู้ได้ไง ปวดท้องแบบไหนไส้ติ่ง?
ภาวะไส้ติ่งอักเสบ ถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและมีความอันตราย โดยคนส่วนใหญ่มักจะกังวลว่า การปวดท้องที่บริเวณนี้มีสาเหตุมาจากไส้ติ่งอักเสบแน่ ๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เสมอไป โดยสามารถสังเกตได้จาก อาการสำคัญไส้ติ่งอักเสบ นั่นคือ การปวดท้อง ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
- ระยะแรก – ระยะไส้ติ่งเริ่มอุดตัน : จะมีอาการปวดท้องกะทันหันและเป็นอาการที่เกิดก่อนอาการอื่น ๆ ซึ่งมักจะมีอาการเบื่ออาหาร รวมทั้งจุกแน่นเกิดร่วมด้วยตามมา โดยมักปวดตำแหน่งรอบสะดือ ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- ระยะต่อมา – ระยะไส้ติ่งบวมโป่งขึ้น : หมายถึงเชื้อโรคได้ขยายลุกลามถึงชั้นนอกของไส้ติ่ง จะมีอาการปวดท้องมากขึ้น ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่เกิน 1 – 2 วัน และจะย้ายตำแหน่งมาปวดที่ท้องน้อยด้านขวา ไม่ว่าการเคลื่อนไหว-ไอ-จาม จะทำให้ปวดมากขึ้น และอาจมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก ในระยะนี้ก็เป็นได้
- ระยะรุนแรง – ไส้ติ่งอักเสบแตกกระจายในช่องท้อง : เมื่อเราปล่อยไว้จนไส้ติ่งอักเสบแตก (สามารถพบได้บ่อยประมาณ 20%) โดยหากไม่ได้รับการผ่าตัดออกทันที จะทำให้เกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนได้ 2 แบบ นั่นคือ
- ร่างกายจะสร้างเนื้อเยื่อห่อหุ้มไส้ติ่งที่แตกนั้นไว้ ทำให้คลำเจอก้อนเจ็บที่ท้องน้อย และมีไข้
- เชื้อโรคและหนองกระจายไปทั่วท้อง (อาการเยื่อบุช่องท้องอักเสบ) อาจลามเข้ากระแสเลือด (ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ) ซึ่งอันตรายถึงชีวิต
การตรวจรักษา
การผ่าตัดผ่านกล้อง ไส้ติ่ง (Laparoscopic Appendectomy) แพทย์จะใส่เครื่องมือผ่าตัดผ่านรู และตัดไส้ติ่งออกโดยใช้กล้องช่วยนำทาง ซึ่งหากแพทย์พบว่าไส้ติ่งนั้นแตก หรือมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องอันมีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์อาจมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนเป็นการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องแทน โดยการจะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้องหรือไม่นั้น จะก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ความเสี่ยง โดยแพทย์จะประเมินจากสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละรายอย่างไรก็ตามเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 ยังไม่สู้ดี ทางโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ขอมอบสิทธิ์พิเศษเสริมความปลอดภัยให้ทุกท่านที่จะเข้ารับการผ่าตัดทุกประเภท ให้ได้รับการตรวจโรค COVID-19 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง
- ช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน ทำให้มีความเจ็บน้อย ปวยน้อย และลดการเสียเลือด
- ขนาดของแผลนั้นเล็กเพียง 1-2 ซม. ซึ่งเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดจะทำให้มีแผลกว้างถึง 12-20 ซม. ดังนั้น การผ่าตัดแบบ MIS จะช่วยลดขนาดของแผลเป็นที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
- พักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 1-2 วัน ซึ่งในบางกรณีอาจจะกลับบ้านได้ทันทีหลังการผ่าตัด นับว่าเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ที่ต้องเสียเวลาพักฟื้นนานเป็นสัปดาห์
- ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ถือว่าปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง
- ช่วยลดการเกิดพังผืดในช่องท้องจากการผ่าตัดแบบเปิด
- ทำให้แพทย์มองเห็นรายละเอียดของตำแหน่งที่ต้องการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน ด้วยเทคโนโลยีกำลังขยายของกล้อง ซึ่งช่วยให้ผ่าตัดได้ตรงจุดจึงลดการกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ
ข้อจำกัดของการผ่าตัดส่องกล้อง
- มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีนวัตกรรมพิเศษ
- ยังไม่สามารถใช้วิธีนี้กับผู้ป่วยในบางราย ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีโรคปอดและหัวใจขั้นรุนแรง และผู้ที่เคยผ่าตัด หรือมีพังผืดในท้องจำนวนมาก
วิธีการเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด
ก่อนการผ่าตัด
- เตรียมร่างกายให้พร้อม รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งนอนหลับให้เพียงพอ
- งดน้ำงดอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- แจ้งประวัติประจำตัว การแพ้ยา ให้แจ้งแพทย์เมื่อมีอาการป่วยก่อนการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์
- กรณีผ่าตัดลำไส้ แพทย์จะทำการล้างลำไส้ โดยจะให้ยากระตุ้นการขับถ่ายออกมาให้หมด
- ถอดเครื่องประดับเอาไว้ในที่ปลอดภัย เช่น แหวน สร้อยคอ ต่างหู หรือเครื่องประดับจากการเจาะตามร่างกาย เพื่อป้องกันการเสียหายในระหว่างการผ่าตัด
หลังการผ่าตัด
- งดน้ำงดอาหาร ประมาณ 12-24 ชั่วโมง ตามแพทย์สั่ง
- งดสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์
นับว่าการผ่าตัดด้วย Minimal Invasive Surgery นั้นจำเป็นต้องอาศัยแพทย์และทีมงานที่มีความชำนาญพิเศษ โดยทางโรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ มีทีมแพทย์ที่ผ่านการศึกษาอบรมการผ่าตัดด้วยวิธี Minimal Invasive Surgery จากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งพร้อมให้การดูแลรักษาสุขภาพของท่านเป็นอย่างดี
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก ศัลยกรรมทั่วไป อาคาร 1 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2145-2146
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn