-
นิ่วในถุงน้ำดี...น่ากลัวกว่าที่คิด
นิ่วในถุงน้ำดี หนึ่งในโรคระบบทางเดินอาหารที่มีอันตรายถึงชีวิต หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ซึ่งนิ่วในถุงน้ำดีพบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตัวเองเป็น หรือจะมาพบแพทย์ก็ต่อเมื่อมีอาการที่เริ่มรุนแรงแล้ว เนื่องจากนิ่วในถุงน้ำดีในบางรายอาจไม่แสดงอาการหรือมีสัญญาณเตือนใดๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยรู้ตัวล่วงหน้า ทำให้พอรู้ตัวอีกทีก็พบว่านิ่วในถุงน้ำดีเริ่มลุกลามหรือมีการอักเสบที่รุนแรงแล้ว
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ จึงอยากมาให้ความรู้เกี่ยวกับ นิ่วในถุงน้ำดี เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันโรคนี้มากยิ่งขึ้น
นิ่วในถุงน้ำดี เกิดขึ้นได้อย่างไร?
การเกิดนิ่วในถุงน้ำดี มีสาเหตุมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในร่างกายอย่างคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี รวมถึงการติดเชื้อบริเวณถุงน้ำดี ส่งผลให้เกิดการตกตะกอนผลึกในถุงน้ำดี ซึ่งการตกผลึกนี่เองที่เป็นสาเหตุให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี โดยก้อนนิ่วที่อยู่ในถุงน้ำดีสามารถมีขนาดได้ตั้งแต่ก้อนเท่าเม็ดทราย ไปจนถึงก้อนเท่าลูกกอล์ฟ และจำนวนของก้อนนิ่วในถุงน้ำดีก็มีได้ตั้งแต่ก้อนเดียวไปจนถึงหลักพันก้อน
ใครบ้างเสี่ยงเป็น...นิ่วในถุงน้ำดี
สัญญาณเตือนหรืออาการของ “นิ่วในถุงน้ำดี”
โรคนิ่วในถุงน้ำดี มักจะไม่มีอาการแสดงที่แน่ชัด หากไม่เกิดการอักเสบเฉียบพลันหรือเกิดการติดเชื้อใดๆ ในถุงน้ำดี แต่เราสามารถสังเกตสัญญาณเตือนที่สามารถบ่งบอกถึงอาการของนิ่วในถุงน้ำดีได้ ดังนี้
อาการเหล่านี้อาจแสดงหลายๆ อย่างร่วมกัน แต่อาจไม่แสดงครบทุกอาการ ซึ่งอาการดังที่กล่าวมักเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารมันๆ หรือช่วงเวลากลางคืน และมักเกิดขึ้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นอาการจะหายไป มีการทิ้งระยะไปสักพักแล้วจึงกลับมาเป็นอีก
นิ่วในถุงน้ำดี เป็นแล้วหายเองได้หรือไม่?
นอกจากอาการที่กล่าวมาข้างต้น หากเกิดนิ่วในถุงน้ำดีแล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ก็อาจส่งผลให้อาการมีระดับที่รุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เนื่องจากก้อนนิ่วในถุงน้ำดีไม่ได้หายไปไหน แต่จะยิ่งมีการสะสมก้อนนิ่วมากขึ้นเรื่อยๆ ในถุงน้ำดี และก่อให้เกิดการอักเสบเฉียบพลัน หรือติดเชื้อได้ทุกเมื่อ ซึ่งอาการก็จะรุนแรงกว่า โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
เนื่องจากก้อนนิ่วในถุงน้ำดีไม่สามารถหายเองได้ หากพบอาการที่กล่าวมาทั้งหมดร่วมกันหลายๆ อาการ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา เพราะหากตรวจพบเร็วการรักษาก็สามารถทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งก้อนนิ่วในถุงน้ำดีหากมีขนาดใหญ่มากอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งถุงน้ำดีได้
อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน...วิธีนี้ดีอย่างไร?
ก่อนที่จะเข้ารับการรักษา แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยอาการเพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยการตรวจวินิจฉัยแพทย์จะทำการซักประวัติ อาการ ทำการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และทำการอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถเห็นรายละเอียดภายในถุงน้ำดีได้อย่างชัดเจนว่ามีก้อนนิ่วอยู่หรือไม่ หรือมีลักษณะเป็นอย่างไร เพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ในการวางแผนการรักษา
เป็น “นิ่วในถุงน้ำดี” จำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่?
หากตรวจพบก้อนนิ่วในถุงน้ำดี จะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการใช้เครื่องสลายนิ่วได้ เนื่องจากนิ่วในถุงน้ำดีเป็นนิ่วที่เกิดขึ้นคนละชนิดกับนิ่วที่เกิดขึ้นในไตและทางเดินปัสสาวะ การรักษาจึงจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อนำถุงน้ำดีและนิ่วออกเท่านั้น โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง : เป็นการผ่าเปิดบริเวณช่องท้องด้านชายโครงขวา โดยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการอักเสบขั้นรุนแรง หรือถุงน้ำดีแตกทะลุในช่องท้อง และเคยผ่าตัดทางหน้าท้องมาก่อน เพราะอาจมีพังผืดมากทำให้รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้องไม่ได้
การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดผ่านกล้อง : เป็นการเจาะรูเล็กๆ บริเวณหน้าท้อง ประมาณ 3-5 รู เพื่อสอดกล้องและเครื่องมือผ่านรูผนังหน้าท้อง โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่แพทย์จะสามารถเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งการรักษาด้วยวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันอีกด้วย เนื่องจากจะมีเพียงแผลเล็กๆ เจ็บน้อย และพักฟื้นไม่นานก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้
ไม่มีถุงน้ำดีแล้ว...จะมีน้ำดีอยู่หรือไม่?
แม้การรักษาด้วยการผ่าตัดจะเป็นการนำถุงน้ำดีออก แต่แท้จริงแล้วถุงน้ำดีเป็นเพียงที่กักเก็บน้ำดีเพื่อให้พร้อมสำหรับย่อยไขมันเท่านั้น อวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำดีคือ ตับ ดังนั้น หากไม่มีถุงน้ำดีแล้วก็ยังสามารถมีน้ำดีเพื่อใช้สำหรับย่อยไขมันอยู่นั่นเอง
ลดความเสี่ยง...แค่เปลี่ยนพฤติกรรม
ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี หากไม่มีอาการปวดมักพบโดยบังเอิญจากการมาตรวจร่างกายโดยการอัลตร้าซาวด์ แต่ถ้าหากมีอาการปวดหรืออักเสบมาก่อน เมื่อมาพบแพทย์ก็จะต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
บทความโดย
แพทย์หญิงศศพินทุ์ วงษ์โกวิท
แพทย์ประจำสาขาศัลยกรรมทั่วไป
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก ศัลยกรรมทั่วไป อาคาร 1 ชั้น 1
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2145-2146