เจ็บจากกีฬา ดูแลถูกวิธี ฟื้นตัวไว
วิธีดูแลเบื้องต้นด้วย P.R.I.C.E และคำแนะนำจากแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา
ทำไมการดูแลอาการบาดเจ็บจากกีฬาให้ถูกต้องจึงสำคัญ ?
การเล่นกีฬาเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพ แต่บางครั้งอาจเกิดอาการบาดเจ็บจากการล้ม การกระแทก หรือการใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น หรือส่งผลกระทบต่อการเล่นกีฬาในอนาคต
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง จะช่วยลดอาการบวม อักเสบ และเร่งการฟื้นตัวได้เร็วขึ้น! วันนี้เราจะพามารู้จักกับ หลัก P.R.I.C.E ซึ่งเป็นวิธีดูแลเบื้องต้นที่แพทย์เวชศาสตร์การกีฬาแนะนำ
หลัก P.R.I.C.E วิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อบาดเจ็บจากกีฬา
P = Protection (ปกป้องส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ)
● การป้องกันบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บให้คงสภาพโครงสร้างของบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ และป้องกันการกระแทกหรือกระทบกระเทือน อาจทำโดยบุคคลากรทางการแพทย์R = Rest (พักการใช้งาน)
● หยุดการเคลื่อนไหวของบริเวณที่บาดเจ็บทันที เพื่อลดอาการบวมและอักเสบ
● หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักหรือฝืนใช้งานกล้ามเนื้อ
I = Ice (ประคบเย็น)
● ใช้ถุงน้ำแข็งหรือ Cold Pack ประคบตรงจุดที่บาดเจ็บ
● ประคบครั้งละ 15-20 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมงในช่วง 48 ชั่วโมงแรก
● ห้ามประคบเย็นโดยตรงบนผิวหนัง ควรใช้ผ้าห่อก่อน
C = Compression (พันผ้ายืด)
ใช้ผ้ายืดพันรอบบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อช่วยลดบวม
● ไม่ควรรัดแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
E = Elevation (ยกส่วนที่บาดเจ็บสูงขึ้น)
● ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้อยู่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อลดการไหลเวียนของเลือดไปยังจุดที่ได้รับบาดเจ็บ
● ช่วยลดอาการบวมและเร่งการฟื้นตัว
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ?
หากอาการบาดเจ็บไม่ดีขึ้นหลังใช้ หลัก P.R.I.C.E หรือมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา
● อาการปวดรุนแรงขึ้นแม้จะหยุดพัก
● ข้อบวม ข้อผิดรูป หรือขยับไม่ได้
● มีเสียงดัง "กร๊อบแกร๊บ" ขณะบาดเจ็บ
● มีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง
● ไม่สามารถเดิน, ขยับข้อได้ตามปกติ
การดูแลจากแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา ช่วยฟื้นตัวไวขึ้น!
แพทย์เวชศาสตร์การกีฬาให้การรักษาเฉพาะทาง เพื่อช่วยให้ผู้บาดเจ็บฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย โดยใช้วิธีการดังนี้
การใช้ยา – เพื่อลดอาการปวด, ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ
กายภาพบำบัด – ใช้เทคนิคทางกายภาพเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อและข้อต่อ
การฉีด PRP Therapy (Platelet-Rich Plasma) – กระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์โดยใช้พลาสมาของตนเอง
อุปกรณ์พยุงและฟื้นฟู – ใช้สนับเข่า ผ้ายืด หรือเฝือกอ่อนตามความจำเป็น
แนะนำการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟู – ปรับโปรแกรมออกกำลังกายให้เหมาะสมกับร่างกาย
การผ่าตัดรักษา – ในรายที่จำเป็นและมีข้อบ่งชี้
การรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยให้คุณกลับมาเล่นกีฬาได้ไวขึ้น และลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บซ้ำ!
ดูแลอาการบาดเจ็บจากกีฬาให้ถูกวิธี ฟื้นตัวเร็ว ป้องกันบาดเจ็บซ้ำ
● ใช้ หลัก P.R.I.C.E ทันทีเมื่อบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
● หากอาการไม่ดีขึ้น รีบพบแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา
● การรักษาที่ถูกต้อง ช่วยให้ฟื้นตัวไว ลดโอกาสบาดเจ็บเรื้อรัง
หากคุณมีอาการบาดเจ็บจากกีฬา ปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์การกีฬาเพื่อรับการดูแลที่เหมาะสม !
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกศัลยกรรม กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5114
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset