อาการแพนิค แค่กังวลหรือเป็นโรค บ่อยครั้งที่เรา
รู้สึกใจเต้น ตกใจ จนร่างกายกิดอาการชาวาบ ขนลุก เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์คับขัน มีความกดดันมากกว่าปกติ แต่เกิดขึ้นไม่นานแล้วก็หายไป เมื่อเราตั้งสติ รู้สึกตัว แต่ในบางคนนั้นอาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วไม่หายไปทันทีแถมยังรุนแรงขึ้น หรือมีอาการอื่นแทรกซ้อน เช่น การรับรู้บิดเบือน ได้ยินเสียงคนพูด เห็นภาพลอน หรือมีความคิดในแง่ร้ายว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเอง เป็นต้น
อาการตกใจนั้นเป็นกลไกที่กระตุ้นให้สมองตื่นตัวกับสถานการณ์ตรงหน้า แต่โรคแพนิคนั้นส่งผลเสียมากกว่านั้น แล้วเราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวเองเป็นโรคแพนิค
อาการของโรคแพนิคสังเกตได้อย่างไร เราสามารถแยกอาการตกใจปกติกับโรคแพนิคได้ด้วยการสังเกตว่าหากอาการตกใจนั้นมีระยะนานเกินไป หรือรุนแรงขึ้นผ่านในเวลา 3-10 นาที อาการทีเกิดขึ้นก็ไม่หายสักที บางรายมีอาการอื่นแทรกซ้อนเข้ามาด้วย
อาการที่มักพบ- ใจเต้นรัว เต้นเร็ว
- มีอาการเจ็บหน้าอก
- หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม
- ชาตามมือและเท้า ตัวชา ร้อนวูบวาบ
- เหงื่อออกมือ หรือเหงื่อออกตามร่างกายเยอะกว่าปกติ
- แขนขาอ่อนแรง
- เวียนหัว คลื่นไส้
บางรายมีความกลัวเกิดขึ้นมากจนเกิด
ภาวะเกินปกติ ไม่สามารถควบคุม ความคิด คำพูด การกระทำของตนเองได้ ความคิดถูกบิดเบือน คิดไปเองว่าตนนั้นไม่ปลอดภัย มีคนจะมาทำร้าย ตนเองกำลังจะตาย
สาเหตุของโรคแพนิค โรคแพนิคนั้นสามารถขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มีความกดดันอยู่บ่อยครั้ง หรือต้องพบกับสถานการณ์ที่ทำร้ายความจิตใจ ความรู้สึก ร่างกาย สร้างบาดแผลที่กลายเป็นความทรงจำที่เลวร้ายอ จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคแพนิคมากกว่าผู้อื่น แต่ก็ต้องมีหลายๆ ปัจจัยประกอบกันด้วย
- คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคจิตเภทมาก่อน
- ฮอร์โมนในร่างกายที่ผิดปกติ ทำให้การทำงานของระบบสมองผิดปกติตามไปด้วย ส่งผลกระทบให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายนั้นผิดปกติตามไปด้วย
- ความเครียด ที่เกิดขึ้นเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน บีบครั้นอยู่บ่อยๆ ความเครียดสามารถตกค้างในตัวเรา สะสมเหมือนภูเขาไฟอรวันระเบิด ซึ่งความจริงแล้วความเครียดสะสมนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่เราคิด และคนส่วนใหญ่ก็มักจะไม่รู้ตัวด้วยว่กำลังมีความเครียดโดยไม่รู้ตัว
- พักผ่อนน้อย เป็นพฤติกรรมที่หากทำเป็นประจำจนร่างกายอ่อนเพลียเรื้อรัง นากจากจะเป็นสาเหตุของโรคแพนิคแล้วยังส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลายๆ ด้านอีกด้วย ทั้งเรื่องของฮอร์โมน เรื่องของการระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่เสียระบบอีกด้วย
- ขาดการออกกำลังกาย อย่างที่เรารู้กันว่าการออกกำลังกายนั้นช่วยให้สุขภาพของเรานั้นแข็งแรง ขจัดไขมันส่วนเกิน และยังช่วยเรื่องสุขภาพจิตด้วย เพราะการออกกำลังกายนั้นเป็นกิจกรรมช่วยให้ร่างกายได้ออกแรง สร้างความผ่อนคลาย
- ผ่านเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ แม้จะเป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถเลี่ยงได้ แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคแพนิค เพราะความเครียดหลังจากผ่านเหตุการณ์นันมาแล้วจะยังฝังลึกอยู่ในความรู้สึก ความจำของเรา เมื่อเราอยู่สถานการณ์ที่คล้ายคลึงหรือพบเจออะไรบางอย่างที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์นั้น ก็สามารถกระตุ้นให้อาการกำเริบได้

โรคแพนิคสามารถรักษาหายได้หรือไม่? โรคแพนิคนั้นเป็นโรคที่อันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วย แต่ก็ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต และผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้ารับการรักษานั้นสามารถหายขาดได้ โดยการรักษาก็มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
- การรักษาด้วยยา ในกรณีที่ต้องใช้ยามักใช้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับได้ โดยการใช้ยารักษานั้น จำเป็นต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์เท่านั้น
- การรักษาด้านจิตใจ เป็นการฝึกให้ผู้ป่วยคิดและเข้าใจถึงโรค ด้วยการให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมให้มองโลกในแง่ดี เข้าใจถึงการแก้ไขปัญหา การปล่อยวางในสิ่งที่ยังไม่เกิด สิ่งที่แก้ไขไม่ได้ รู้จักกับภาวะและความรู้สึกของตนเมื่อมีอาการ เพื่อจัดการกับโรคได้ด้วยตนเอง โดยการรักษาด้านจิตใจนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดทั้งการรักษา
- การรักษาด้วยการฝึกหายใจ เพราะโรคแพนิคนั้นมักมีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ เช่น การหายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ใจเต้นเร็ว โดยแพทยะสอนให้ทราบถึงการมือเมื่ออยู่ในภาวะที่เริ่มมีความผิดปกติของการหายใจ ฝึกการรับรู้ถึงลมหายใจ ฝึกการกำหนดลมหายใจ เพื่อไม่ให้อาการแพนิคนั้นส่งผลกระทบต่อระบบหายใจได้อย่างยั่งยืน