ฝากครรภ์…ครั้งนี้มีประโยชน์อย่างไร
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
04-พ.ย.-2565
ฝากครรภ์…ครั้งนี้มีประโยชน์อย่างไร

       เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ “การฝากครรภ์” คือสิ่งแรกที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ เพราะการฝากครรภ์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเตรียมความพร้อมดูแลสุขภาพด้านต่างๆ ทั้งของแม่และทารกน้อยในครรภ์ รวมทั้งติดตามพัฒนาการในแต่ละช่วงสัปดาห์ของทารกน้อยในครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้ประสบความสำเร็จ มีคุณภาพและปลอดภัยจนถึงวันคลอด


การฝากครรภ์…เริ่มได้เมื่อไร

         ทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถเข้าพบสูตินรีแพทย์ เพื่อทำการฝากครรภ์ได้ทันที โดยสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเข้ารับการฝากครรภ์ในครั้งนี้ คือ การเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลสุขภาพของคุณแม่เอง เช่น ประวัติแพ้ยา ประวัติการเจ็บป่วย โรคประจำตัว วันสุดท้ายที่มีประจำเดือน เป็นต้นฝากครรภ์วันแรก ต้องตรวจอะไรบ้าง

1. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ความดันโลหิต

2. ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจยืนยันการตั้งครรภ์

3. ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงภาวะเบาหวาน และอัตราการทำงานของไต

4. ตรวจเลือด เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด โรคติดต่อที่สามารถส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ได้เช่น ไวรัสตับอักเสบบี เอดส์ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน เป็นต้น

5. ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อตรวจดูตำแหน่งของการตั้งครรภ์ และการเจริญเติบโตของทารก และสามารถที่จะประเมินกำหนดวันคลอดได้ด้วย เมื่อเข้ารับการฝากครรภ์แล้วในแต่ละช่วงสัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่ยังคงมี

การตั้งครรภ์

       การเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ รวมทั้งพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกน้อยในครรภ์ ซึ่งสูตินรีแพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการ โดยแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาสของการตั้งครรภ์ ซึ่งในแต่ละไตรมาสนั้นจะมีจำนวนครั้งที่จะนัดหมายมาตรวจเป็นระยะ3 ไตรมาส ของการตั้งครรภ์

ไตรมาส ที่ 1 อายุครรภ์ 0-14 สัปดาห์
1. ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์

2. ตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อดูตำแหน่งของการตั้งครรภ์ที่ชัดเจน
    ดูพัฒนาการการเจริญเติบโตของทารก

3. ทราบกำหนดวันคลอดที่ชัดเจน

4. ให้ยาบำรุงครรภ์ เช่น โฟลิก แคลเซียม สังกะสี

ไตรมาส ที่ 2 อายุครรภ์ 15-28 สัปดาห์
1. ตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์

2. ตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรม

3. ตรวจดูเพศทารกและพัฒนาการเจริญเติบโต
    เช่น การฟังเสียงหัวใจ

ไตรมาส ที่ 3 อายุครรภ์ 29-42 สัปดาห์
1. ฉีดวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันโรค เช่น
    วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนบาดทะยัก

2. ให้คำแนะนำวิธีการนับลูกดิ้นและการบันทึกข้อมูลการดิ้น

3. ตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อประเมินน้ำหนักตัวและสุขภาพทารกน้อยในครรภ์

4. ประเมินความพร้อมของร่างกาย เพื่อเลือกวิธีการคลอดที่เหมาะสม

       แน่นอนว่าในแต่ละช่วงสัปดาห์มีล้วนมีความสำคัญ ที่คุณแม่ต้องได้รับการใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ และพบกับการเปลี่ยนของร่างกาย และพัฒนาการเจริญเติบโตของทารกหลายด้าน

       ดังนั้นการเข้าพบสูตินรีแพทย์ตามนัดหมายในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์จึงมีประโยชน์ที่ไม่ควรพลาด ซึ่งจะช่วยให้สามารถดูแลสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิด

      ทั้งนี้หากคุณแม่มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ หรืออาการแพ้ท้องที่รุนแรงในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์แต่ยังไม่ถึงกำหนดวันนัดหมาย ก็สามารถที่จะมาพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้น พร้อมให้การดูแลด้วยวิธีการเหมาะสมต่อไป

บทความโดย
พญ.ขนิษฐา อิ่มวัฒนา
สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร


ตารางแพทย์ออกตรวจ


สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900 ต่อ 5420

Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset