เตรียมความพร้อมเพื่อการตรวจสุขภาพที่แม่นยำ
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
19-ม.ค.-2566
รู้ก่อน เตรียมตัวทัน การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ


          การตรวจสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ และทำอย่างสม่ำเสมอทุกปี เพื่อคัดกรองโรคและประเมินสมรรถภาพร่างกายของเราเอง เราจึงควรให้ความสำคัญกับการเตรียมตัวตรวจสุขภาพ เพราะการเตรียมตัวนั้นส่งผลต่อการวิเคราะห์ที่แม่นยำมากที่สุด



การเตรียมตัวตรวจสุขภาพทั่วไป
  1.  งดเครื่องมือทุกชนิด 10 – 12 ชั่วโมงก่อนการตรวจ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้)
  2.  พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
  3.  งดเครื่องดื่มชูกำลัง ชา กาแฟ อย่างน้อย 1 วันก่อนตรวจ
  4.  สตรีมีครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรงดการเอกซเรย์ปอด
  5.  สำหรับสตรีที่มีประจำเดือนควรเก็บปัสสาวะส่งตรวจหลังหมดรอบประจำเดือนอย่างน้อย 7 วัน
  6.  สตรีที่ต้องตรวจภายใน และ มะเร็งเต้านม ควรตรวจหลังหมดประจำเดือนอย่างน้อย 7 วัน
  7.  หากมีไข้ หรือสงสัยว่ามีไข้ควรหลีกเลี่ยงการตรวจสุขภาพจนกว่าจะหายเป็นปกติ

การเตรียมตัวตรวจการได้ยิน
  1. งดสัมผัสเสียงดังอย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
  2.  ในกรณีจำเป็นต้องสัมผัสเสียงดังในที่ทำงาน ก่อนการตรวจ แนะนำให้ใช้เครื่องป้องกันเสียงดัง ในขณะทำงานและไม่ควรทำงานเกิน 4 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
การเตรียมตัวตรวจสายตาอาชีวอนามัย
  1.  พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
  2.  ไม่ควรใช้สายตาอย่างหนัก เช่น จ้องหรือเพ่งมองภาพ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือวัตถุนานๆ อย่างน้อย 20 นาที ก่อนตรวจ
  3.  ควรพกแว่นสายตาหรือ Contact Lens ประจำตัวมาด้วยในวันตรวจ
การเตรียมตัวตรวจสมรรภาพปอด
  1.  ไม่ออกกำลังกายอย่างหนัก อย่างน้อย 30 นาที ก่อนตรวจ ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดคอ ทรวงอก และท้อง
  2.  หลีกเลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ 2 ชั่วโมง ก่อนทำการตรวจ
  3.  งดดื่มแอลกอฮอลล์ 4 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ
  4.  ไม่สูบบุหรี่ 1 ชั่วโมง ก่อนทำการตรวจ


คำแนะนำขั้นตอนการตรวจปัสสาวะ
  1. ก่อนการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ ควรอุจจาระทิ้งไปก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่อาจส่งผลให้การตรวจผิดพลาดได้
  2.  ล้างมือให้สะอาดก่อนเก็บ เพื่อป้องกันการปนเปื้อน
  3.  ขณะการเก็บปัสสาวะไม่ควรนำภาชนะไปสัมผัสโดนกับอวัยวะเพศหรือผิวหนังบริเวณนั้นโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อต่าง ๆ ที่อาจพบได้จากบริเวณนั้น ทำให้ผลการวิเคราะห์คลาดเคลื่อน

คำแนะนำการเตรียมตัวตรวจอุจจาระ
  1.  ควรงดอาหารที่มีแอนไซม์เปอร์ออกซิเดรส เช่น เนื้อแดง ตับ เลือด หรือผักบางชนิด เช่น หัวไชเท้า บล็อกโคลี่ เป็นต้น
  2.  หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม Aspirin , ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ และวิตามินปริมาณมากกว่า 250mg/วัน
  3.  ก่อนการเก็บตัวอย่างอุจจาระ ควรปัสสาวะทิ้งไปก่อน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่อาจส่งให้ผลการตรวจอัจจาระผิดพลาดได้
  4.  ล้างมือให้สะอาดก่อนเก็บเพื่อป้องกันการปนเปื้อน

นพ.วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอาชีวเวชศาสตร์
ประจำโรงพยาบาลเปาโล รังสิต 


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน