รู้ก่อนปลอดภัย ห่างไกลโรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ (Ischemic Stroke) เป็นภาวะที่สมองขาดออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยง เพราะผนังของหลอดเลือดมีการขยายตัว เพราะมีไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไหลผ่านไปได้น้อยลง ซึ่งถ้าเกิดการสะสมและหนามาก จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดความเสียหายต่อบริเวณนั้น ๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอวัยวะและระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ ซึ่งในบางรายอาจกลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาต หรือมีอาการผิดปกติเช่น ตามองไม่เห็น ชาครึ่งซีก เป็นต้น แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็จะมีโอกาสลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เกิดจาก- ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบและขาดความยืดหยุ่น
- เกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เส้นเลือดอุดตัน
- เกิดลิ่มเลือดขนาดเล็กแข็งตัวและเกาะที่ผนังหัวใจและลิ้นหัวใจ จากนั้นหลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง
- อาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสภาพร่างกายของแต่ละคน โรคเส้นเลือดสมองตีบมักพบอาการดังต่อไปนี้
- ปวดศีรษะ สายตาพร่ามัว
- อัมพาตครึ่งซีก ใบหน้าบิดเบี้ยว สื่อสารไม่ได้
- เสียการรับรู้ความรู้สึก การเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว เช่น รู้สึกชาตามตัว แขนขาอ่อนแรงหรือขยับไม่ได้ เดินเซ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดในสมองตีบ- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง มักมีไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดและกีดขวางการลำเลียงของเลือด ส่งผลทำให้เลือดแข็งทั่วร่างกาย
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะในกลุ่มนี้มีน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งทั่วร่างกายได้เช่นกัน
- การสูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก เพราะพวกนี้จะมีนิโคตินและคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนลดลง และเป็นตัวที่ทำลายผนังหลอดเลือด
- ครอบครัวที่เคยมีประวัติเส้นเลือดในสมองตีบ
- ผู้สูงอายุเพราะอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมตามไปด้วยแนวทางการรักษาและวิธีการป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ
การรักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบ สามารถรักษาได้หลายวิธีโดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ดังนี้- การใช้ยา ในบางรายสามารถใช้ยาบรรเทาอาการได้เช่น ยาละลายลิ่มเลือด การกินยาต้านเกล็ดเลือด รวมไปถึงฟื้นฟูให้ระบบเลือดไหลเวียนได้ตามปกติ เป็นต้น
- การป้องกันเส้นเลือดในสมองตีบ สามารถป้องกันได้แบบง่าย ๆ ได้หลากหลายวิธีเช่น การกินยาควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การรักษาความดันโลหิต
- ควบคุมน้ำหนักและรูปร่างให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว
หากเริ่มสงสัยว่าตัวเองเริ่มมีอาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อการรักษาที่รวดเร็วและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตเฉียบพลัน