ทำความรู้จักกับการอุดฟัน ความเสื่อมของฟันที่เกิดจาการละเลยที่จะดูแลรักษา ความแข็งแรงที่ลดลงเมื่อายุมากขึ้น หรือปัจจัยอื่นๆ ก็ตาม ทำให้ฟันสภาพนั้นไม่เหมือนเดิม มีการผุ กร่อน เนื้อฟันเว้าแหว่งหลายด้าน จนทะลุเป็นหลุม ร่องที่เศษอาหารเข้าไปอุดตัน ยากต่อการทำความสะอาด บางรายรุนแรงจนทะลุไปถึงโพรงประสาท ทำให้เกิดปัญหาอาการเสียวฟัน ปวดฟัน ไปจนถึงมีอาการ บวม อักเสบ ปวดร้าวไปถึงหู หรือศีรษะได้
การอุดฟันจึงเป็นวิธีการรักษาสภาพฟันด้วยการนำวัสดุที่มีความแข็งแรงใกล้เคียงกับฟันที่เป็นกระดูกชนิดหนึ่งที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการทานอาหารหรือขบเคี้ยว เข้าไปอุดหรือเติมในส่วนที่เนื้อฟันขาดหายไป เพื่อให้ซี่ฟันนั้นมีความสมบูรณ์ใกล้เคียงกับของเดิม ทำให้เราสามารถใช้งานฟันได้เหมือนเดิมมากที่สุด
ฟันที่สามารถรับการรักษาด้วยการอุดฟันได้ คือฟันที่ยังไม่ทะลุถึงโพรงประสาทฟัน และยังเนื้อฟันเหลือมากพอที่จะยึดกับวัสดุอุดฟันได้
วัสดุที่ใช้อุดฟันมีอะไรบ้าง- อุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม (Amalgam) อมัลกัม ทำจากวัสดุที่มีส่วนผสมของ เงิน ปรอท ดีบุก และโลหะอื่นๆ ที่มีความแข็งแรงคล้ายคลึงกับกระดุกฟันของเรา ข้อดีของวัสดุอมัลกัมคือมีราคาถูก ทนทานต่อแรงบดเคี้ยว สามารถใช้ได้นานถึง 10-15 ปี แต่ข้อเสียคืออมัลกัมนั้นจะมีสีเงินแตกต่างเนื้อฟันของเราที่เป็นสีขาว จึงนิยมใช้วัสดุนี้อุดฟันบริเวณฟันกราม
- อุดฟันด้วยวัสดุเรซินคอมโพสิต (Composite Resin) ทำมาจากวัสดุที่มีส่วนผสมของเรซินคอมโพสิตที่เป็นสีขาวคล้ายกับสีเนื้อฟันของเรา ซึ่งเป็นข้อดีของวัสดุประเภทนี้เพราะให้ความเป็นธรรมชาติมีความสวยงาม กลมกลืนกับเนื้อฟัน แต่ก็มีราคาสูงกว่า อมัลกัม จึงนิยมใช้อุดฟันหน้า ที่ต้องมีความสวยงามมากกว่าฟันกรามที่อยู่ด้านหลัง
ขั้นตอนการอุดฟัน ระยะเวลาที่ใช้ในการอุดฟันนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพฟันของแต่ละบุคคล หากไม่ได้ผุลึก หรืออุดเพื่อความสวยงาม ก็จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที แต่บางกรณีที่มีความยากของการอุดฟัน ต้องตกแต่งเพื่อความสวยงาม ก็อาจใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
- ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพฟัน ซักประวัติ และประเมินว่าควรแก้ไขฟันก่อนทำการอุดฟันหรือไม่
- ทันตแพทย์จะฉีดยาชา เพื่อป้องกันไม่อาการปวดหรือเสียวฟันในขั้นตอนการนำเนื้อฟันที่ผุออกด้วยการกรอเนื้อฟัน ซึ่งเนื้อฟันที่ผุนั้นจะมีผิวสัมผัสและสีที่แตกต่างจากเนื้อฟันปกติ โดยทันตแพทย์จะนำเนื้อฟันที่ผุจนหมด ให้เหลือเพียงเนื้อฟันที่ยังปกติดีเอาไว้
อาการแบบใดที่ควรกลับมาพบทันตแพทย์ หลังจากอุดฟันไปแล้ว- วัสดุที่อุดฟันนั้นแตกหรือหลุด
- รู้สึกเจ็บหรือปวดเวลาเคี้ยวอาหาร
- มีอาการเสียวฟันมากกว่า 2 – 3 สัปดาห์
- ปวดฟันรุนเรง มีอาการบวม อักเสบ
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต