ตรวจมะเร็งปากมดลูก

สาขา

โรงพยาบาลเปาโลสมุทรปราการ

ระยะเวลา

ใช้ได้ถึง 31/5/63

สอบถามรายละเอียด

-

ตรวจมะเร็งปากมดลูก + อัลตร้าซาวด์มดลูกรังไข่ สนใจคลิก..

 มะเร็งปากมดลูกในช่วงก่อนเป็นมะเร็งและระยะเริ่มแรกจะไม่ปรากฏอาการ เมื่อมีอาการมักอยู่ในระยะรุนแรงอาการที่พบมาก ได้แก่ มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ 
                 มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงเป็นความผิดปกติของเซลล์ที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกที่มีความผิดปกติโดยการตรวจภายในร่วมกับเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจ มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกไม่มีสัญญาณ เมื่อมีอาการมักเป็นในระดับรุนแรง มะเร็งปากมดลูกโดยส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus) ซึ่งแม้จะมีหลายสายพันธุ์ แต่มีสายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในบริเวณอวัยวะเพศของทั้งหญิงและชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HPV 16 และ 18 เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูก และ ผู้ที่มีความเสี่ยง คือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกคน ทั้งผู้ที่มีคู่นอนหลายคน หรือคนเดียวก็ตาม แต่ผู้ที่มีคู่นอนหลายคนมีโอกาสได้รับเชื้อเอชพีวีมากขึ้น

มะเร็งปากมดลูกในช่วงก่อนเป็นมะเร็งและระยะเริ่มแรกจะไม่ปรากฏอาการ เมื่อมีอาการมักอยู่ในระยะรุนแรง อาการที่พบมาก ได้แก่

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  • ตกขาว
  • ประจำเดือนมาน้อย หรือมามากผิดปกติ
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • เลือดออกในวัยหลังหมดประจําเดือน
  • อ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาการ น้ำหนักลด
  • มีการบวม
  • ปัสสาวะไม่ออก หรือไหลไม่หยุด
  • ปวดท้องน้อย
หรือ หากเข้าสู่ระยะลุกลาม ผู้ป่วยอาจจะมาด้วยอาการขาบวมทั้งสองข้าง เนื่องจากท่อน้ำเหลืองอุดตัน ปวดหลังปัสสาวะเป็นเลือด ไตวาย หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เนื่องจากก้อนมะเร็งลุกลามไปโดนท่อปัสสาวะหรือลำไส้

มะเร็งปากมดลูก สามารถแบ่งระยะของโรคเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งจำกัดอยู่เฉพาะในบริเวณปากมดลูก 
ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งลุกลามไปบริเวณโดยรอบ เช่น ช่องคลอดส่วนบนเนื้อเยื่อที่อยู่ติดกับปากมดลูก 
ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งแพร่ไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง เช่น ช่องคลอดส่วนล่าง ต่อมน้ำเหลือง เนื้อเยื่อภายในอุ้งเชิงกราน 
ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือออกนอกอุ้งเชิงกราน รวมทั้งปอด ตับ กระดูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  • การตรวจแปปเสมียร์ (Pap smear) แพทย์จะใช้ไม้พายเก็บเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก ก่อนนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ เป็นวิธีที่ใช้มาเป็นเวลานาน
  • ธินเพร็พ (ThinPrep) พัฒนามาจากการตรวจด้วยวิธีแปปเสมียร์มีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น โดยเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นใส่ลงในขวดน้ำยาตินแพร็พ ก่อนนำส่งเพื่อตรวจผลในห้องปฏิบัติการ
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบเจาะลึกถึงระดับ DNA ด้วย Thin Prep Plus Cervista HPV DNA Testing เป็นการตรวจหาเซลล์มะเร็งปากมดลูกร่วมกับตรวจดีเอ็นเอของเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งปากมดลูก ร่วมกับการเจาะลึกขึ้นว่ามีการติดเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 หรือไม่ จะช่วยบอกความเสี่ยงต่อการมีรอยโรคแอบแฝงโดยที่ผล Thin Prep ปกติ
                 สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้นอาจไม่มีการเตรียมตัวมากนัก เพียงเตรียมใจเตรียมร่างกายให้พร้อม ช่วงการตรวจที่ดีที่สุด คือ 10 วันตรงกลาง โดย 1 เดือนเราแบ่งเป็น 3 ช่วงๆละ 10 วัน วันแรกที่มีประจำเดือนนับเป็นวันที่1 และนับต่อไปวันที่ 11 หลังจากมีประจำเดือนวันแรก ถึงวันที่ 20 นั่นเอง ซึ่งค่าเบี่ยงเบนจะมีน้อย เพราะเป็นช่วงที่มีความสะอาดมาก แต่สุดท้ายแล้วการจะเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวันใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ

หากพบว่าเป็นมะเร็งต้องทำอย่างไร ?

                 หากมะเร็งเกิดขึ้นในระยะแรก การผ่าตัดเป็นวิธีการที่ได้ผลดีเป็นอย่างมาก แต่หากเกิดขึ้นในระยะลุกลามมากแล้ว จะใช้รังสีช่วยในการฉายแสงร่วมกับการใส่แร่ หรือการผสมผสานระหว่างการผ่าตัดรังสี และการให้ยาเคมีบำบัด 

=================================================================================================================


ถ้าพูดถึงการตรวจมดลูกและรังไข่ สาว ๆ มักจะนึกถึง “การตรวจภายใน” แต่จริง ๆ แล้วยังมี “การตรวจอัลตร้าซาวด์” ซึ่งสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ได้แม่นยำกว่า

และนี่คือเหตุผลที่ว่าทำไม ? การตรวจอัลตร้าซาวด์นี้จึงสำคัญ!!!


การตรวจอวัยวะภายใน…จำเป็นต้องใช้วิธีการอัลตร้าซาวด์เสมอไปหรือไม่ ?

ในการตรวจอวัยวะภายในเพื่อวินิจฉัยหาความผิดปกตินั้น โดยมากแล้วแพทย์จะใช้วิธีการสอดใส่เครื่องมือหรือนิ้วมือเข้าไปในช่องคลอด หากพบความผิดปกติ เช่น มีก้อน แพทย์จึงจะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อความแม่นยำยิ่งขึ้น หรืออีกกรณีหนึ่ง คือ คนไข้ที่ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแพทย์จะเลือกใช้การตรวจอัลตร้าซาวด์ เพื่อตรวจดูเพียงความผิดปกติในระดับเบื้องต้น

ทำไม ? ผู้หญิงต้องตรวจอัลตร้าซาวด์ มดลูก & รังไข่

สำหรับการตรวจอวัยวะบริเวณช่องท้องส่วนล่างนี้ มักจะใช้ในกรณีตรวจหาความผิดปกติของมดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ หรือไส้ติ่ง ซึ่งโรคร้ายที่ผู้หญิงต้องพึงระวังและสามารถตรวจพบได้ด้วยการอัลตร้าซาวด์ ได้แก่ ถุงน้ำรังไข่, เนื้องอกรังไข่, เนื้องอกในมดลูก หรือก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน โดยอาจเป็นเพียงก้อนเนื้อธรรมดาหรือเซลล์มะเร็งก็ได้ ซึ่งการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่เป็นเพียงทางเลือกเดียวที่จะช่วยให้แพทย์ตรวจพบโรคร้ายก่อนสายเกินรักษาได้

การตรวจอัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจผ่านทางหน้าท้อง… หรือทางช่องคลอดก็ได้

เพราะมดลูกและรังไข่เป็นสิ่งที่อยู่ลึกภายใน การตรวจอัลตร้าซาวด์จึงแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การตรวจโดยผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งแพทย์จะให้คนไข้ดื่มน้ำเปล่าแล้วกลั้นปัสสาวะเอาไว้จนในกระเพาะปัสสาวะมีปริมาณน้ำปัสสาวะมากพอ เพื่อให้สามารถมองเห็นมดลูกและรังไข่ได้ชัดเจนขึ้น ส่วนอีกวิธีหนึ่ง คือ การตรวจโดยผ่านทางช่องคลอด โดยแพทย์จะทำการสอดอุปกรณ์อัลตร้าซาวด์เข้าไปทางช่องคลอด ซึ่งคนไข้อาจจะต้องนอนหงายหรือนอนตะแคงเข่าชันชิดหน้าอก หรือนอนบนขาหยั่ง ซึ่งแพทย์จะสามารถมองเห็นภาพของมดลูกและรังไข่จากจอมอนิเตอร์ได้ชัดเจน ทำให้การตรวจผ่านทางช่องคลอดนี้มีความแม่นยำกว่า

ผลข้างเคียงจากการตรวจอัลตร้าซาวด์… มีบ้างหรือไม่ ?

แม้การตรวจอัลตร้าซาวด์อาจจะทำให้คนไข้รู้สึกไม่สบายตัว เมื่อเครื่องมือแนบลงบนผิวหนังหรือถูกสอดเข้าทางช่องคลอด แต่ก็เป็นเพียงผลกระทบชั่วคราวเท่านั้น ส่วนคลื่นเสียงที่ใช้ในการตรวจอัลตร้าซาวด์ยังไม่พบว่ามีอันตราย เนื่องจากคนไข้ไม่ต้องเผชิญกับรังสีเอ็กซเรย์เหมือนกับการตรวจ CT Scan

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร.0-2363-2000 ต่อ 2201, 2202

ช่องทางปรึกษาปัญหาสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ คลิกเลย!...