การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว  และการผ่าตัดซ่อนแผลไร้แผลเป็น
โรงพยาบาลเปาโลเกษตร
04-พ.ย.-2565
เทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง
แบบแผลเดียว และการผ่าตัดซ่อนแผล
ไร้แผลเป็น

         การผ่าตัดผ่านกล้อง
Laproscopic Surgery
เป็นเทคนิคทางเลือกเพื่อการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงทักษะความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนจนชำนาญการอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จ โดยเข้าถึงอวัยวะจุดที่มีปัญหาได้ตรงจุดและง่ายขึ้น ลดการเสียเลือด ลดอาการบอบช้ำของอวัยวะและเนื้อเยื่อข้างเคียงในระหว่างการตัดให้น้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อยที่สุด ลดอาการปวด ขนาดแผลหลังผ่าตัด เพื่อให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง

          โดยปกติการผ่าตัดผ่านกล้อง Laproscopic Surgery จำเป็นต้องเจาะรูบริเวณหน้าท้องของคนไข้ 3-4 รู เพื่อสอดท่อพร้อมติดกล้องกำลังขยายสูงเข้าไปเพื่อช่วยเข้าถึงอวัยวะภายใน และทำการผ่าตัดแก้ไขตรงจุดที่มีปัญหา ซึ่งมีข้อดีคือช่วยลดการบาดเจ็บ ลดอาการปวดหลังผ่าตัด การเสียเลือดระหว่างผ่าตัดได้ดี เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบปกติ
       
       ทำความรู้จัก การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว
 
Single Incision Laproscopic Surgery หรือ (SILS) 

        เป็นอีกขั้นของเทคนิคการผ่าตัดที่ถูกพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ไต้หวัน สามารถผ่าตัดได้หลากหลาย เช่น การผ่าตัดไทรอยด์ทางช่องปาก การผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ผ่าตัดไส้เลื่อนผนังหน้าท้อง ผ่าตัดไส้ติ่ง และผ่าตัดถุงน้ำดี การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ การผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ

         ซึ่งการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้จำเป็นต้องอาศัยทักษะความเชี่ยวชาญศัลแพทย์ผู้ผ่าตัด โดยจะเจาะรูขนาดเล็กที่บริเวณหน้าท้องเพียง 1 รู แต่สามารถสอดอุปกรณ์ขณะผ่าตัดได้ 4 รู หรือซ่อนแผลได้ด้วย ทำให้คนไข้มีแผลจากการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียวขนาดเล็ก 1.5 – 2.5 เซนติเมตร ทั้งนี้ขนาดแผลผ่าตัดขึ้นกับขนาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการผ่าตัดและขนาดของอวัยวะที่มีพยาธิสภาพที่ต้องเอาออกจากแผลผ่าตัด พยาธิสภาพของตัวโรคที่มีผลต่อความยากง่ายในการผ่าตัด

ผ่าตัดส่องกล้องแผลเดียว

           ซึ่งการผ่าตัดซ่อนแผลไร้แผลเป็น Natural Orifice Transluminal Endoscopic Surgery หรือ (NOTES) ในประเทศไทยเริ่มมีการผ่าตัดแผลเดียวและซ่อนแผลมาไม่นาน แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเหมือนในบางประเทศ ทั้งนี้เพราะการผ่าตัดดังกล่าวต้องใช้เทคนิคการผ่าตัดและเครื่องมือพิเศษ ซึ่งมีความยากกว่าการผ่าตัดผ่านกล้องทั่วไป ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ผ่าตัดผ่ากล้องเป็นอย่างดี เช่น
  1. การผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบผ่านทางช่องคลอด (Transvaginal Appendectomy) 
  2. การผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านทางช่องคลอด (Transvaginal Cholecystectomy) 
  3. การผ่าตัดไทรอยด์ทางช่องปาก (Transoral Endoscopic Thyroidectomy Vestibular Approach (TOETVA)



          โดยในปัจจุบัน การผ่าตัดไทรอยด์ทางช่องปาก ในประเทศไทยมีการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้น การผ่าตัดดังกล่าวมีข้อดีที่เห็นได้ชัด คือ หลังผ่าตัดผู้ป่วยไม่มีแผลเป็นให้เห็นจากภายนอก  กำลังขยายของกล้องผ่าตัดและคุณภาพภาพระดับ 4k ทำให้สามารถเห็นเส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงในระหว่างผ่าตัดชัดเจนขึ้น ลดโอกาสบาดเจ็บเส้นเลือดและเส้นประสาทได้ดีกว่าผ่าตัดแบบเปิด และตำแหน่งผ่าตัดทางช่องปากยังสามารถทำการรักษาผ่าโรคอื่นได้ เช่น การผ่าตัดต่อมไทมัสที่อยู่บริเวณกลางช่องอกผ่านทางช่องปาก

การผ่าตัดส่องกล้อง
   
การผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียวใช้ผ่าตัดโรคใดได้บ้าง 
  1. โรคไทรอยด์
  2. ต่อมพาราไทรอยด์
  3. เส้นประสาทในช่องอกเพื่อรักษาอาการเหงื่อออกมือ
  4. การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารในผู้ป่วยโรคอ้วน
  5. โรคกระเพาะอาหารทะลุ
  6. โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  7. ตับอ่อนและลำไส้เล็ก เช่น รักษาเนื้องอกตับอ่อน หรือเนื้องอกบางชนิดบริเวณลำไส้เล็ก
  8. ไส้เลื่อนขาหนีบ
  9. ไส้เลื่อนกระบังลม 
  10. ไส้เลื่อนขาหนีบที่มีลำไส้อุดตัน
  11. ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ
  12. ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องที่เกิดหลังการผ่าตัด
  13. พังผืดรัดลำไส้เล็กอุดตัน
  14. ต่อมหมวกไต
  15. โรคไส้ติ่งอักเสบ
  16. โรคเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ใหญ่
     
          โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากกำลังขยายของกล้องและอุปกรณ์หยุดเลือดแบบพิเศษในการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งสามารถตัดต่อมน้ำเหลืองรอบๆเส้นเลือดแดงได้อย่างแม่นยำ จึงช่วยลดโอกาสการแพร่กระจายของมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผลลัพธ์ของการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียวมีประสิทธิภาพมากกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง

ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเดียว
  1. ลดการเสียเลือดระหว่างผ่าตัดได้ดี เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบปกติ
  2. ลดอาการบอบช้ำของอวัยวะและเนื้อเยื่อข้างเคียงในระหว่างการตัดให้น้อยที่สุด
  3. ลดอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด
  4. ขนาดแผลเล็ก
  5. ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นน้อย เพื่อให้คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง

          และถึงแม้ว่าการผ่าตัดส่องกล้องจะมีข้อดีมากมาย แต่ขนาดแผลผ่าตัด ขนาดของอวัยวะ และตัวโรคมีผลต่อความยากง่ายในการผ่าตัด ทางผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางในการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างรวมถึงสภาพร่างกายผู้ป่วยเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้ป่วย


ตารางแพทย์ออกตรวจ


นพ.ธนเดช


บทความโดย
นพ.ธนเดช วงศ์จารุกร
ศัลยแพทย์ ชำนาญการด้านผ่าตัดผ่านกล้อง
โรงพยาบาลเปาโล เกษตร

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม

โรงพยาบาลเปาโล เกษตร โทร. 02 1500 900

Line official account : Paolo Hospital Kaset
Line ID : @paolokaset