โรคหัวใจ
ถือเป็นโรคที่มีขอบเขตการเจ็บป่วยที่กว้าง มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของพยาธิสภาพ
ภายในหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีความหลากหลายมาก หากพบความผิดปกติที่อวัยวะส่วนใดก็จะเกิดเป็นโรคหัวใจชนิดนั้นๆ
เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจ การส่งสัญญาณกระแสไฟฟ้าในหัวใจ เป็นต้น
โดยพยาธิสภาพที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
เช่น ไขมันพอกในหลอดเลือดหัวใจ การพอกของหัวใจทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ การเกิดฝีในลิ้นหัวใจ
ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น
โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ที่พบบ่อย คือ
สูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง พันธุกรรม เป็นต้น
โรคหัวใจ...ที่พบบ่อย
·
หลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary
artery disease)
ผู้ป่วยมักจะมีอาการ เจ็บหน้าอก
วูบ หมดสติ เป็นลม โดยมีสาเหตุที่หลากหลายภาวะร่วมกัน เช่น พันธุกรรม
การสูบบุหรี่ ไขมันพอกหลอดเลือด อายุ โรคประจำตัวอื่นๆ หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว
ถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยทันที
เพื่อป้องกันการเสียชีวิต โดยกระบวนการรักษา คือ
1.
การให้ยาละลายลิ่มเลือด
2.
การขยายด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด
3.
การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้การเกิดโรคได้ด้วยการ
ควบคุมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
และควบคุมโรคปัจจุบันเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
·
หัวใจวายเฉียบพลัน (Heart failure)
ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคที่เด่นชัด คือ เหนื่อยง่าย ขาบวม นอนราบแล้วเหนื่อยมากขึ้น โดยอาการของโรคมีปัจจัยจากสาเหตุของปัญหาสุขภาพปัจจุบันที่มีอยู่เป็นตัวกระตุ้น เช่น ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดี ภาวะซีด ภาวะไทรอยด์ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องค้นหาความผิดปกติเหล่านี้ให้เจอ และทำการรักษาทันที ซึ่งถือเป็นการรักษาภาวะหัวใจวายได้ตรงจุดที่สุด
·
หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac
arrhythmia)
เป็นภาวะที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะธรรมชาติ
ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งมักพบอาการสัญญาณเตือนของโรคที่เด่นชัด
คือ ใจสั่น หน้ามืด วูบ และอาจเสียชีวิตได้
เนื่องจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายชนิด หลายสาเหตุที่เป็นปัจจัยกระตุ้น
จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจำแนกแยกโรคให้ชัดเจน ก่อนวางแผนการรักษาได้ตรงจุด
อาจด้วยวิธีการทานยา หรือจี้ไฟฟ้า
4 วิธีการตรวจคัดกรองทำงานของหัวใจ
ช่วยรู้ทันความเสี่ยง...เลี่ยงการเจ็บป่วย
พร้อมรักษาได้ทันท่วงที
· EKG (Electrocardiography) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เป็นการตรวจการทำงานของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ด้วยหลักการจับกระแสไฟฟ้า ขั้วบวก ขั้วลบ โดยการแปะตัวนำสัญญาณคลื่นไฟฟ้าตามตำแหน่งมาตรฐานของการตรวจ ช่วยค้นหาความผิดปกติของ หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจโต สามารตรวจได้ทุกวัย
· ECHO (Echocardiogram) การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
สามารถตรวจโครงสร้างของหัวใจ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น การบีบตัวการคลายตัวหัวใจ ลักษณะห้องหัวใจ การหนาตัวของผนังหัวใจ ลักษณะการรั่วหรือตีบของลิ้นหัวใจ ความดันในห้องหัวใจ อีกทั้งยังช่วยในการตรวจวินิจฉัยในผู้ป่วยโรคหัวใจหลายชนิด
· EST (Exercise Stress Test) การตรวจสมรรถภาพการทำงานของหัวใจขณะออกกำลังกาย
ช่วยตรวจประเมินภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยที่เกิดขณะออกกำลังกาย ประเมินความสามารถในการออกกำลังกาย ไม่แนะนำการตรวจสำหรับผู้สูงอายุ และมีปํญหาสุขภาพข้อเข่า
·
Holter Monitoring บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
24 ชั่วโมง
การตรวจต้องสวมอุปกรณ์การตรวจวัดซึ่งมีลักษณะเป็นกล่องขนาดเล็ก
เชื่อมต่อกับสายที่ยึดติดกับแผ่น Electrode ไว้กับตัวตลอดเวลา
เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมงหรือมากกว่า มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ
“ อาการความผิดปกติของ โรคหัวใจและหลอดเลือด
จำเป็นต้องจำแนกแยกโรค และภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจมีร่วมด้วย
ให้ชัดเจน ก่อนวางแผนตรียมการรักษาให้ตรงจุด
”
แพทย์หญิงฐิศิรักน์ ฉินนะโสต อายุรแพทย์โรคหัวใจ
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
โทร. 02 1500 900
Line official account : Paolo Hospital Kaset