-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อปอด
- มีปริมาณของเชื้ออยู่ในปอดจำนวนมากหรือมีการติดเชื้อชนิดอื่น
- สุขภาพ และภูมิคุ้มกันแต่ละคนแตกต่างกัน
- ระยะเวลาในการรักษา
สภาพปอดหลังรักษาโควิด-19
ช่วงที่ 1 เป็นช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังหายจากโรค ยังพบฝ้าขาวที่ปอดในฟิล์มเอกซเรย์ แต่มีปริมาณเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงที่ติดเชื้อ
ช่วงที่ 2 ช่วงสัปดาห์ที่ 3 - 4 หลังจากที่หายจากโรค ร่างกายมีการฟื้นฟูกลับมาบ้างแล้ว แต่จะยังรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่แข็งแรง ไม่กะปรี้กะเปร่า
การฟื้นฟูหลังจากรักษาโรคโควิด-19
1.ออกกำลังกายเบา ๆ ขยับขา เคลื่อนไหวบ่อย ๆ
อาจเริ่มจากการออกกำลังกายเบา ๆ ลุกเดินบ่อย ๆ ไม่อยู่เฉย พยายามเคลื่อนไหวขา เพื่อทำให้เลือดเกิดการไหลเวียน อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเกิดลิ่มเลือด โดยไม่หักโหมจนเกินไป เช่น ยืดงอขา หรือยืดเหยียดปลายเท้า เป็นต้น
2.ฝึกการหายใจ บริหารปอด
ควบคุมลมที่หายใจออกมาทางปากช้า ๆ จนกระทั่งลมหมดปอด แล้วหายใจเข้าใหม่ให้ลมเต็มปอดแล้วค่อย ๆ หายใจออกช้า ๆ เป็นการทำให้พังผืดที่ปอดมีการขยับทำให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และปอดจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมา
ท่าที่ 1 ฝีกหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ หายใจเข้าทางจมูก ยกแขน 2 ข้างขึ้นด้านหน้าหรือด้านข้าง หายใจออกเป่าปากยาว ๆ ผ่อนแขนลง
ท่าที่ 2 วางมือข้างหนึ่งที่หน้าอก อีกข้างใต้ลิ้นปี่ หายใจเข้าทางจมูก ท้องป่องดันมือด้านล่างขึ้น หายใจออกเป่าปาก ท้องยุบ ทำซ้ำ 5 - 10 รอบ ระหว่างรอบอาจจะมีการพักประมาณ 30 วินาที
ท่าที่ 3 หายใจให้ทรวงอกขยาย วางมือสองข้างที่ชายโครง หายใจเข้าให้ซี่โครงบานออก หายใจออกให้ซี่โครงยุบ ทำซ้ำ 3 - 4 รอบ
ท่าที่ 4 หายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ทางจมูก ยกแขน 2 ข้างขึ้นด้านหน้า หายใจออกเป่าปากยาว ๆ ผ่อนแขนลง ทำซ้ำ 5-10 รอบ
ท่าที่ 5 หายใจออกอย่างแรง นั่งโน้มตัวไปด้านหน้า หายใจเข้าค้างไว้ 1-3 วินาที หายใจออกอย่างแรงทางปาก 1-3 ครั้งติดกันโดยไม่หายใจเข้า ทำซ้ำ 1 - 2 รอบ การฝึกหายใจดังกล่าวควรทำซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง
หากมีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว แน่นหน้าอก ปวดหัวเวียนหัว ใจสั่น ตามัว เหงื่อออกมาก หรือมีอาการซีดเขียว ควรหยุดออกกำลังกายทันที ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวดังที่กล่าวมาข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย
นอกจากการฟื้นฟู การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ก็เป็นเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการป่วยหนักและอัตราการเสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ก็ควรใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และรักษาระยะห่างทางสังคม เหมือนเดิม ผู้ที่อยู่ในสถานที่ ๆ มีความเสี่ยง หรือประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง เช่น อยู่ในสถานที่ปิดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก หากจะสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันสารคัดหลั่งสัมผัสเข้าร่างกายและลดอัตราการติดเชื้อได้อีกด้วย