การตรวจ HbA1c เป็นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงเวลา 2–3 เดือนที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางวิธีลดค่าน้ำตาลในกระแสเลือดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง
คนไม่เป็นโรค ก็สามารถตรวจ HbA1c ได้
หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติแล้วมีอาการน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำผิดปกติ ควรตรวจเลือดซ้ำอีกครั้งหนึ่งหรือตรวจวัดระดับน้ำตาลให้ถี่มากขึ้น และแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อปรับแผนการรักษาต่อไป ดังนั้นการตรวจ เป็นการรับรู้สถานะน้ำตาลในร่างกายปัจจุบัน
ฮีโมโกลบิน เอวันซี (HbA1c) คือ ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด เกิดจากการที่น้ำตาลในเลือดไปจับกับฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ที่ทำหน้าที่พาออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ โดยปกติเม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 3 เดือน ดังนั้น การตรวจฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C; HbA1C) เป็นการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา ถ้าเราได้รับอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลมากเกินความต้องการที่ร่างกายจะนำไปใช้ น้ำตาลบางส่วนที่เหลือในเลือดจะไปจับกับเม็ดเลือดแดง จนมีปริมาณฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
การตรวจ HbA1c
น้ำตาลกลูโคส (Glucose) เป็นน้ำตาลชนิดหลักที่มีอยู่ในเลือด ได้มาจากการรับประทานอาหารและใช้เป็นพลังงานในร่างกาย น้ำตาลกลูโคสที่เข้าสู่กระแสเลือดจะจับกับฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเซลล์เม็ดเลือดแดง หากรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง จะส่งผลให้น้ำตาลไปจับกับฮีโมโกลบินมากขึ้น และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสะสมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
HbA1c หรือ Hemoglobin A1c (ฮีโมโกลบินเอวันซี) คือ การตรวจวัดค่าเฉลี่ยของน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือดที่จับกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา (แพทย์บางท่านใช้คำว่า “น้ำตาลสะสม” เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น แต่โดยความหมายแล้วจะสะท้อนค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดช่วงเวลาที่ผ่านมา) เพราะเม็ดเลือดแดงทั่วไปจะมีอายุขัยอยู่ประมาณ 100-120 วัน ดังนั้น ค่าน้ำตาลที่ตรวจได้จึงเป็นค่าน้ำตาลที่สะสมอยู่ในฮีโมโกลบินนานประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งเป็นค่าที่ช่วยพิจารณาและประเมินผลการรักษาโดยรวมในช่วงที่ผ่านมาว่าผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีหรือไม่ และยังช่วยคัดกรองและวินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ได้ด้วย
ตรวจ HbA1c มีประโยชน์อย่างไร- ตรวจเช็คสุขภาพเบื้องต้น รู้สภาวะน้ำตาลสะสมในเลือด เพื่อเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพ
- ในผู้ป่วยเบาหวาน เช็คควบคุมระดับน้ำตาล ไม่ให้สูงเกิน จนโรคแทรกซ้อน
- รู้ประเมิน ว่าคุมระดับน้ำตาลได้ดีเท่าใด โดยดูค่าเฉลี่ยน้ำตาลในช่วง 2-3 เดือนก่อน
- Hemoglobin เป็นสารในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่พาออกซิเจนไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ตลอด จะบอกถึงค่าเฉลี่ยของน้ำตาล ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีอายุเพียงประมาณ 120 วัน
ดูค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดอย่างไร
คนปกติ | คนเสี่ยงเป็นเบาหวาน | คนเป็นเบาหวาน |
(ค่าปกติ) ค่าช่วง HbA1C = น้อยกว่า 6.0 mg% | ค่าช่วง HbA1C = 6.0 mg% ถึง 6.4 mg% | (ค่าสูง) ค่าช่วง HbA1C = มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg% |
หากคุณมีค่าระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเท่ากับ 6.0 mg% ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
แตกต่างอย่างไรกับค่าน้ำตาลทั่วไป
เรามักคุ้นเคยกับการอดอาหาร 6-8 ชั่วโมง เพื่อไปตรวจสุขภาพ ค่าน้ำตาลที่ได้จะบอกได้คร่าว ๆ ว่าวันสองวันที่ผ่านมานั้นคุณทานอาหารที่มีน้ำตาลมากน้อยแค่ไหน แต่การตรวจหาค่า HbA1c เป็นตัวช่วยประเมินความสามารถในการควบคุมเบาหวานในช่วงเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาได้ชัดเจนกว่า ไม่ใช่เพียงแค่วันสองวันก่อนการตรวจ
หากพบ 'ค่าน้ำตาลสูง' ควรทำอย่างไร
- ปรึกษาแพทย์ต่อเนื่องเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาที่เหมาะสม
- ตรวจร่างกายเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท
- ติดตามค่า HbA1c อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี หรือตามดุลพินิจของแพทย์
- ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ลดอาหารประเภทให้พลังงาน เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
- ลดน้ำหนักด้วยวิธีที่เหมาะสม
- ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
ปัจจัยที่อาจทำให้ผลตรวจ HbA1c คลาดเคลื่อน
ผลตรวจ HbA1c คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงในผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้
- ตั้งครรภ์
- มีโรคเกี่ยวกับตับ ไตวาย และโลหิตจางอย่างรุนแรง
- มีประวัติเสียเลือด และเพิ่งบริจาคเลือด
- ใช้ยาบางชนิด เช่น ยาโอปิออยด์ (Opioids) และยารักษาเอชไอวี (HIVs)
- ผู้ที่มีฮีโมลโกลบินน้อย โดยมักจะเป็นผู้ที่มีโรคเลือด เช่น ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Disease)
ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลเปาโล พระประแดงโทร. 02-818-9000 ต่อ 113