-
หมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท
กระดูกสันหลังมีหน้าที่ช่วยค้ำจุนร่างกายให้ตั้งตรง เป็นสะพานเชื่อมเส้นประสาทจากสมองสู่เชิงกราน และถูกใช้รับน้ำหนักจากลำตัว ถือเป็นอวัยวะที่เมื่อเกิดความเสียหายก็อาจเกิดปัญหารุนแรงต่อสุขภาพโดยรวมของเราได้ เพราะภายในกระดูกสันหลังมีอวัยวะชิ้นเล็กๆ วางเรียงๆ ต่อกันในข้อต่อของกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เรียกว่า “หมอนรองกระดูก” ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง ทำหน้าที่เหมือนเป็นหมอนหรือโช้คอัพประจำตัว คอยรับน้ำหนักและแรงกระแทกที่มาจากกระดูกสันหลัง
โดยในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น หมอนรองกระดูกจะมีลักษณะเป็นก้อนนิ่มๆ ยืดหยุ่นได้ดี แต่เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกก็จะเริ่มแข็งขึ้นและแบนลงเรื่อยๆ ทำให้รู้สึกว่าร่างกายเตี้ยลง พอความยืดหยุ่นลดลง หมอนรองกระดูกก็จะปลิ้นออกมาจนไปกดทับเส้นประสาท ส่งผลให้เส้นประสาทอักเสบ โดยเฉพาะกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 - 5 และกลายเป็น “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” ในที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะมีอาการดังนี้
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
การรักษา “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
1. หมอนรองกระดูกทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว จึงแนะนำให้รักษาโดยการลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกดที่สันหลัง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นการเพิ่มน้ำหนักตัว เช่น
อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการรักษา แพทย์จะแนะนำให้รักษาโดยใช้ยาควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัดในขั้นต้น ซึ่งหากรักษาตามปกติแล้วยังไม่หาย ก็จะแนะนำให้ใช้การรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องขยาย (Microscopic Spine Surgery) แทน
การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องขยาย (Microscopic Spine Surgery)
การผ่าตัดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท โดยทั่วไปศัลยแพทย์จะใช้เครื่องมือในการตัดกระดูก และเส้นเอ็นเพื่อขยายโพรงประสาท และคลายการกอดรัดของเส้นประสาท โดยในระหว่างการผ่าตัดโพรงประสาทบางตำแหน่งอาจมีขนาดที่ตีบแคบมาก ทำให้มองเห็นเส้นประสาทได้ไม่ชัดเจน ซึ่งการสอดใส่เครื่องมือแพทย์ในโพรงประสาทอาจเป็นอันตรายต่อเส้นประสาทได้
โดยการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังด้วยการส่องกล้องขยายนั้น แพทย์จะทำการเจาะรูที่ข้างลำตัวหรือบริเวณแนวกระดูกสันหลัง ขนาดประมาณ 1 - 2 เซนติเมตรเพื่อให้สามารถสอดกล้องขยายเข้าไปได้ ขนาดแผลผ่าตัดส่องกล้องจึงเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผล และช่วยให้แพทย์เห็นรายละเอียดโครงสร้างภายในขณะผ่าตัดได้ชัดเจนยิ่งขึ้นผ่านกล้องขยาย
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้อง
ข้อจำกัดของการผ่าตัดส่องกล้อง
วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลังการผ่าตัด
ก่อนผ่าตัด
หลังการผ่าตัด
ทั้งนี้ การผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก หรือ Minimally Invasive Surgery จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง ร่วมกับทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญพิเศษในการผ่าตัด ซึ่งทางโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ เรามีทีมแพทย์ที่ผ่านการอบรมการผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้องแผลเล็กจากสถาบันการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศพร้อมให้การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเป็นอย่างดี ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี และสุขภาพโดยรวมกลับมาแข็งแรงได้ดังเดิม