-
ออทิสติกเทียม...คืออะไร แท้เทียมอย่างไร? พ่อแม่ควรรู้
จากสถิติที่ผ่านมา พบว่าเด็กไทยมีภาวะ ‘ออทิสติกเทียม’ มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งภาวะนี้จะไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมหรือความผิดปกติของสมอง แต่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
จริงๆ แล้วคำว่า ‘ออทิสติกเทียม’ ไม่ใช่ศัพท์ทางการแพทย์ แต่เป็นคำที่ใช้สื่อความหมายถึงเด็กที่มีพฤติกรรมคล้ายออทิสติก โดยเป็นไปในเชิงที่เด็กมีพัฒนาการไม่สมวัยจากการขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม
ก่อนรู้จักออทิสติกเทียม ควรเข้าใจออทิสติกแท้ก่อน...
ออทิสติกแท้ ประกอบด้วยปัญหาด้านพัฒนาการ 3 ด้าน ต่อไปนี้
นอกจากนี้เด็กออทิสติกสามารถพบอาการอื่นๆ เช่น สมาธิสั้น ซน อยู่ไม่นิ่ง ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง โขกศีรษะ สะบัดมือ หมุนตัว เป็นต้น
ทำความรู้จักกับ “ภาวะออทิสติกเทียม”
ภาวะออทิสติกเทียม เป็นภาวะที่เด็กขาดการกระตุ้นในการสื่อสาร 2 ทาง (Two-way Communication) ส่งผลให้เกิดความล่าช้าทางการสื่อสารและมีพัฒนาการทางสังคมที่ไม่ปกติ คือไม่พูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยมักเกิดจากการที่ผู้เลี้ยงดูหรือพ่อแม่ปล่อยปละละเลย ไม่พูดคุยหรือเล่นกับลูก และปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์ หรือเล่นอุปกรณ์สื่อสารอย่างแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนมากเกินไป ซึ่งเหมือนการให้เด็กรับสารทางเดียว หรือที่เรียกว่า One-way Communication
จะแยกได้อย่างไรว่าอาการแบบไหนใช่ออทิสติกเทียม?
อาการของออทิสติกเทียมอาจมีบางอาการที่คล้ายกับออทิสติกแท้ และบางอาการในเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง แต่เราสามารถสังเกต ‘อาการที่เข้าข่ายออทิสติกเทียม’ ได้ดังนี้
ทั้งนี้ อาการของเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียมจะเริ่มสังเกตได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในช่วงอายุ 2 ปี
รู้เร็วแก้ไขได้...เลี่ยงอย่างไรให้ห่างไกลออทิสติกเทียม
อาการของภาวะออทิสติกเทียมมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้น หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ดูแลอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอมากขึ้น อาการของภาวะออทิสติกเทียมจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับการเลี้ยงดู เช่น
ทั้งนี้ การส่งเสริมจากครอบครัวคือกำลังที่ดีและสำคัญที่สุดที่จะช่วยบำบัดรักษาพัฒนาการของเด็กให้ดีขึ้นได้จากภาวะออทิสติกเทียม ดังนั้น ผู้ดูแลควรใส่ใจและหมั่นสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด ว่าเด็กมีอาการเสี่ยงของภาวะออทิสติกเทียมหรือไม่ เพราะเด็กออทิสติกเทียมจะหายได้ ถ้ารู้เร็ว ซึ่งการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูแค่ประมาณ 6 เดือนก็จะเห็นผล และถ้าทำอย่างต่อเนื่อง เด็กก็จะกลับมามีพัฒนาการและพฤติกรรมสมวัยได้
ดังนั้น หากพบเด็กมีอาการเข้าค่ายออทิสติกหรือออทิสติกเทียม ควรเข้ารับการตรวจโดยกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม เพื่อการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างตรงจุดโดยไม่ควรรอช้า เพราะการพบแพทย์เร็ว ตรวจไว การรักษาก็จะยิ่งได้ผลดี
บทความโดย
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
แผนก กุมารเวชกรรม อาคาร 1 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร 02-363-2000 ต่อ 2209-2210
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn