ไม่หายต้องอ่าน! "ปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน" จากแผ่นดินไหว สาเหตุ อาการ และวิธีดูแล
หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว หลายคนอาจยังต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพ ที่เป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง นั่นคือ “อาการปวดกล้ามเนื้อ” ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
การเคลื่อนไหวที่ผิดท่า การเกร็งตัวในขณะตกใจ หรือความผิดพลาดขณะทำการช่วยเหลือผู้อื่น เหตุการณ์เหล่านี้ ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อขึ้นได้ หลายคนอาจไม่แน่ใจว่าเกิดจากอะไร หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือไม่ มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุ อาการที่ควรสังเกต และวิธีการดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างปลอดภัย เพื่อฟื้นฟูสุขภาพกันค่ะ

สาเหตุของอาการ "ปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน"
แม้เหตุการณ์ แผ่นดินไหว จะกินเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ร่างกายของเราอาจตอบสนองอย่างรวดเร็วและรุนแรง ต่อความตกใจหรือแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ตัว เช่น
- เกร็งตัวทันทีจากความตกใจ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดแรงตึงมากผิดปกติ
- เคลื่อนไหวผิดท่าขณะหลบหนี เช่น การวิ่งเร็ว ก้ม เก็บของ หรือกระโดดโดยไม่ทันตั้งหลัก
- ยืนนานในท่าตึงเครียด เช่น นั่งหรือยืนหดตัวระหว่างเกิดเหตุการณ์
- ความเครียดสะสม หลังเหตุการณ์อาจกระตุ้นอาการปวดกล้ามเนื้อคล้ายคนที่เป็น office syndrome
.jpg)
สังเกตุอาการตัวเอง
อาการปวดกล้ามเนื้อจากเหตุการณ์เฉียบพลัน มักแสดงออกใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังเหตุการณ์ โดยอาจพบอาการเหล่านี้
- ปวดตึงบริเวณ คอ บ่า ไหล่ หลังส่วนล่าง
- ปวดจี๊ดเฉพาะจุด หรือรู้สึกปวดเวลาขยับ
- กดลงไปมีจุดเจ็บหรือเป็นก้อนแข็ง
- อ่อนแรงหรือเคลื่อนไหวได้น้อยลง
การดูแลเบื้องต้น
หากอาการปวดกล้ามเนื้อไม่รุนแรง ยังสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ ดังนี้
- ประคบร้อน (ยกเว้นช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังเจ็บใหม่ๆ ควรประคบเย็น) วันละ 2 - 3 ครั้ง ครั้งละ 15 - 20 นาที ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด คลายกล้ามเนื้อ
- หลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นอาการปวด งดก้ม ยกของหนัก หรือหมุนลำตัวเร็วๆ
- ยืดเหยียดเบาๆ เช่น ท่ายืดคอ ท่าหมุนไหล่ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ
- หากไม่รู้สึกปวดมากจนเกินไป ให้ทำการนวดกล้ามเนื้อเบาๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ ความเครียดสะสมทางจิตใจก็ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งโดยไม่รู้ตัวได้
สัญญาณเตือน! ว่าควรไปพบแพทย์
หากอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน มีอาการปวดร้าว ชา หรืออ่อนแรงร่วมด้วย ขยับแล้วมีเสียงดัง "ก๊อบแก๊บ" หรือรู้สึกข้อติด ปวดจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน
การดูแลรักษาที่ถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญ การบำบัดด้วย “เครื่องมือกายภาพ” ที่ช่วยฟื้นฟูและบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลันได้อย่างตรงจุด ด้วยเทคโนโลยีคลื่นไฟฟ้าความถี่ต่ำ ควบคู่ไปกับการบำบัดด้วยความร้อน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการฟื้นฟูอาการปวดเฉียบพลันนี้... โปรแกรมตรวจ Office Syndrome

สอบถามรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์กระดูกและข้อ
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร.02 3632 000 ต่อ 2130-2131
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่Line official account : ศูนย์กระดูก PLS
Line ID : @ortho_paolo_pls

Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn