ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยพูดช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
06-ส.ค.-2567
เมื่อลูกน้อยพูดช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน

          การเลี้ยงลูกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากต้องดูแลสุขภาพร่างกายของเขาให้แข็งแรงปราศจากโรคภัยแล้ว การเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยในวัย 1-2 ปีก็สำคัญ เพราะในช่วงวัยนี้การเรียนรู้ถือเป็นรากฐานของเจริญเติบโตต่อไป และปัญหายอดฮิตที่พ่อแม่กังวลนั้นคือการสื่อสาร กลัวว่าลูกน้อยนั้นเรียนรู้ช้ากว่าวัย เพราะช่วงวัยนี้กำลังเริ่มพูด เริ่มสื่อสารหากพัฒนาการด้านนี้ของลูกนั้นช้าก่าเพื่อนในวัยเดียวกัน คงเป็นเรื่องหนักใจของครอบครัวไม่น้อยเลยทีเดียว

อาการแบบไหนที่เรียกว่าพูดช้า
          ให้เราลองสังเกต ลูกน้อยเมื่ออายุ 2 ปี แล้วยังทำตามคำสั่งง่าย ๆ ไม่ได้ และยังไม่พูดคำที่มีความหมายเลย อาจมีความเสี่ยงที่จะพูดช้ากว่าวัยที่ควรจะเป็น 

ทำอย่างไรเมื่อลูกน้อยพูดช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน


สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกน้อยพูดช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน
  1. ความผิดทางร่างกาย เช่น การได้ยิน ปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นต้น
  2. โรคบางชนิด เช่น ออทิสติก สมองพิการหรือ CP (Cerebral Palsy) เป็นต้น
  3. คุณพ่อคุณแม่มีประวัติพูดช้า
  4. ลักษณะการเลี้ยงดู เช่น ขาดการกระตุ้นพูดคุยกับเด็ก การให้ดูหน้าจอตั้งแต่เล็ก ๆ การรู้ใจ ตามใจเด็กมาก ๆ ทำให้เด็กไม่ได้มีโอกาสในการใช้ภาษาในการสื่อสาร ไม่เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาในการสื่อสาร

แนวทางใดบ้างที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาให้ลูกน้อย
  1. งดหน้าจอก่อน 2 ปี รวมถึงการจำกัดเวลาในการใช้หน้าจอของเด็ก โดย 3-6 ปี ควรใช้ไม่เกิน 30 นาที/วัน และ 6-12 ปี ควรใช้หน้าจอไม่เกิน 1 ชม./วัน รวมถึงคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรดูแลเรื่องสื่อที่เด็กดูให้เหมาะสม
  2. หลีกเลี่ยงการรู้ใจและตามใจเด็ก
  3. พยายามเข้าไปร่วมเล่นกับเด็ก กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารแบบสองทาง หรือพูดใส่คำศัพท์ต่าง ๆ ในระหว่างการเล่นหรือการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ

บทความโดย

กบ. ภัทราภรณ์ สิงหศิริ
นักกิจกรรมบำบัด 
ประจำโรงพยาบาลเปาโล รังสิต


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน