รู้ก่อน…ป้องกันได้ การสึกหรอของน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
04-เม.ย.-2567
รู้ก่อน…ป้องกันได้ การสึกหรอของน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า

          น้ำเลี้ยงข้อ (Synovial fluid) เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในข้อต่อ (Joints) ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะที่ข้อเข่า แต่ยังพบในข้อไหล่ ข้อเท้า ข้อสะโพก เป็นต้น เพราะลักษณะโครงสร้างของข้อต่อเหล่านี้จะคล้ายกันคือ เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ดังนั้นก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคข้อเสื่อมได้เช่นกัน โดยปกติน้ำเลี้ยงข้อจะมีการสร้างใหม่มาทดแทนด้วยกลไกตามธรรมชาติ แต่เมื่อไรก็ตามที่ข้อต่อ เริ่มมีพยาธิสภาพไม่ดี อันเกิดจากปัจจัยทางอายุการใช้งานข้อ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับข้อต่อ ฯลฯ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้ส่วนประกอบในข้อ รวมถึงน้ำเลี้ยงข้อจะเสียคุณสมบัติไปด้วย ทั้งความหนืดและความยืดหยุ่นที่น้อยลง หรือบางรายที่เป็นมาก น้ำเลี้ยงข้อที่มีคุณภาพคงเหลืออยู่ในปริมาณน้อยมากจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่ผู้ป่วยมักพบได้ อันได้แก่
  •  ปวดหรือเสียวในข้อ โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหว
  •  ข้อยึด ฝืดขัด
  •  มีเสียงกรอบแกรบในข้อ เป็นต้น

          ดังนั้นจะเห็นได้ว่าน้ำเลี้ยงข้อนั้นมีความสำคัญกับข้อต่อเป็นอย่างยิ่ง การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียม จึงถือเป็นการรักษาโรคข้อเสื่อมวิธีหนึ่งที่แพทย์พิจารณาเลือกใช้เนื่องจากน้ำเลี้ยงข้อธรรมชาติ ประกอบด้วยสารสำคัญที่มีชื่อว่า “ไฮยาลูโรนิค เอซิด (HyaluronicAcid)” ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะเป็นสายโซ่ยาวเรียงตัวกัน แต่จะมีน้ำหนักโมเลกุลแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่พบ เช่น น้ำตา น้ำเลี้ยงข้อ เป็นต้น น้ำเลี้ยงข้อเทียมที่จะฉีดเข้าไปทดแทน จึงประกอบด้วยตัวยาสำคัญ ก็คือ ไฮยาลูโรนิค เอซิด นี้เอง


 
          ปัจจุบันน้ำเลี้ยงข้อเทียมมีหลายผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันไป แม้ว่าจะมีความเข้มข้นของไฮยาลูโรนิค เอซิด ที่เท่ากันก็ตาม แต่แพทย์มักจะพิจารณาเลือก โดยคำนึงถึง…
1. น้ำหนักโมเลกุล (Molecular weight) ของไฮยาลูโรนิค เอซิด ซึ่งจะมีผลต่อกลไกการทำงานของน้ำเลี้ยงข้อเทียม คือ 
  • a. น้ำหนักโมเลกุลใหญ่ (High molecularweight) จะช่วยหล่อลื่นข้อต่อได้ดี แต่ไม่สามารถซึมผ่านเยื่อที่บุอยู่ภายในข้อได้ เพื่อไปจับกับเซลล์ในเนื้อเยื่อและกระตุ้นการสร้างใหม่ของน้ำเลี้ยงข้อธรรมชาติได้
  • b. น้ำหนักโมเลกุลเล็ก (Low molecularweight) สามารถซึมผ่านเข้าเยื่อที่บุในข้อ และจับกับเซลล์ในเนื้อเยื่อได้บางส่วนเพื่อกระตุ้นการสร้างใหม่ได้ แต่ความหนืดจะต่ำ จึงหล่อลื่นข้อได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  • c. น้ำหนักโมเลกุลกลาง (Medium molecularweight; 1-2 ล้านดาลตัน) จะเป็นช่วงน้ำหนักโมเลกุลที่เหมาะสม เพราะประกอบด้วย

2. แหล่งที่มาของไฮยาลูโรนิค เอซิด
  • a. สกัดจากสัตว์ปีก (avian source) จากงานวิจัยรายงานว่า มีโอกาสเกิดการแพ้โปรตีนสัตว์ปีกได้
  • b. สกัดจากกระบวนการหมักเชื้อ(Bio-fermentation source) ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่เป็นที่ยอมรับกันมากในปัจจุบัน เพราะมีความปลอดภัยและเกิดการแพ้ต่ำ
  • c. สกัดและนำไปเชื่อมต่อด้วยสารเคมี(Cross-linked) เพื่อให้สายโซ่ของไฮยาลูโรนิค เอซิดใหญ่ขึ้น แต่จากงานวิจัยพบว่า ร่างกายอาจสร้างสารมาต่อต้านสารเคมี จนเกิดอาการรุนแรงได้ โดยเฉพาะเมื่อมีการฉีดซ้ำ งานวิจัยทางการแพทย์ เป็นสิ่งสำคัญที่แพทย์และผู้ป่วยจะต้องพิจารณาเพราะเป็นเครื่องมือที่พิสูจน์ให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยานั้นๆ ได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล นอกจากนี้ งานวิจัยจะส่งผลถึงข้อบ่งชี้ (Therapeutic Indications) ที่แต่ละผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองจาก อย. ว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม รวมถึงช่วยชะลอการเสื่อมของข้อและสามารถครอบคลุมการใช้ในข้อเสื่อมที่ข้อต่ออื่นๆ นอกเหนือจากข้อเข่าได้ด้วยหรือไม่ การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมต้องฉีดกี่เข็มฉีดซ้ำได้หรือไม่ อย่างไร ?

          การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรฉีดแบบรายสัปดาห์ (weekly) เพราะจะทำให้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นให้เซลล์สร้างน้ำเลี้ยงข้อใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและผลการรักษาก็จะอยู่ได้นานถึง 12 เดือน รวมถึงบางผลิตภัณฑ์มีงานวิจัยที่พิสูจน์แล้วว่า การฉีดรายสัปดาห์ให้ครบ 3 เข็ม และกลับมาซ้ำทุก 6 เดือนนอกจากจะทำให้น้ำเลี้ยงข้อสร้างมาทดแทนได้ดีแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้าง ซ่อมแซมใหม่ของกระดูกอ่อนผิวข้อได้อีกด้วย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ยังเป็นไม่มาก ก็จะยิ่งได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพราะยังคงมีเซลล์ที่ยังสามารถถูกกระตุ้นให้สร้างซ่อมแซมกระดูกอ่อนเหลืออยู่มาก

          “ดังนั้นหากพิจารณาเลือกน้ำเลี้ยงข้อเทียมที่มีงานวิจัยรับรองด้านประสิทธิภาพในการทดแทนและกระตุ้นการสร้างใหม่ได้ชัดเจน ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่าน้ำเลี้ยงข้อเทียมที่ฉีดเข้าไปนั้นเปรียบเสมือนน้ำเลี้ยงข้อธรรมชาตินั่นเอง”




ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772

รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน