จุดสังเกตไฟฟ้ารั่วไหล...อันตรายใกล้ตัว
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
10-ต.ค.-2565
จุดสังเกตไฟฟ้ารั่วไหล...อันตรายใกล้ตัว


         ช่วงที่ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องบางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง น้ำเอ่อล้นตลิ่ง ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเดินทางและภัยที่มากับน้ำท่วมขังและฝนตก ไฟฟ้ารั่ว ลัดวงจร ไฟฟ้าช็อตก็เป็นปัญหาที่มากับน้ำที่เราต้องเฝ้าระวัง ด้วยปัจจัยมากมายไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือความบังเอิญต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วได้ ยิ่งถ้าเกิดนำพื้นที่มีน้ำท่วมขัง น้ำที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า ในพื้นที่เดิม ๆ ที่เราเคยเดินผ่าน หรืออุปกรณ์เดิมทีเราเคยใช้งาน เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรก็เป็นอันตรายโดยที่เราไม่รู้ตัว



จุดสังเกตและเฝ้าระวังไฟฟ้ารั่วไหล
  1. เสาไฟฟ้า เป็นจุดที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเดินทางกลับบ้าน เสาไฟฟ้าที่เรียงรายบนทางเดิน เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในกรณีที่มีน้ำท่วมขังบริเวณแนวเสาไฟฟ้าอาจกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงควรหลีกเลี่ยง
  2. รั้วไฟฟ้า ทำจากลวดสลิงที่เป็นตัวนำไฟฟ้า ประโยชน์ของรั้วแบบนี้ใช้เพื่อการป้องกันการบุกรุกเข้าพื้นที่ หากมีฝนตกหนักหรือน้ำท่วมขัง บริเวณโดยรอบรั้วประเภทนี้ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วได้
  3. กริ่งหน้าประตู แม้ว่าจะอยีในพื้นที่สูง ห่างไกลจากการถูกน้ำท่วมขังก็จริง หากเราใช้งานในขณะที่มือเปียกนั้น อาจโดนไฟฟ้าดูดได้เช่นกัน
  4. โคมไฟสนาม เป็นอีกจุดที่ควรเฝ้าระวัง เพราะกรณีที่เกิดไฟฟ้ารั่วนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพราะอุปกรณ์หรือการติดตั้งที่ไม่ได้คุณภาพ เมื่อเข้าสู่หน้าฝนที่สนามหญ้าเปียกชื้น เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วก็กลายเป็นพื้นที่เสี่ยงได้
  5. เครื่องปั๊มน้ำ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานน้ำในครัวเรือน หากมีการใช้งานเป็นเวลานาน ประสิทธิภาพอุปกรณ์อาจมีการเสื่อมตามกาลเวลาด้วย
การช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร
  1. อย่าแตะต้องผู้ป่วยด้วยมือเปล่า ควรสังเกตบริเวณโดยรอบว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงอันตรายหรือไม่
  2. หากพบต้นตอหรืออุปกรณ์ที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ให้รีบตัดกระแสไฟฟ้าโดยเร็ว หากไม่รู้วิธีตัดกระแสไฟ ควรเรียกผู้เชี่ยวชาญมาช่วย
  3. หาวัสดุที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น ถุงมือยาง ผ้า ไม้ เชือก ที่ไม่เปียกน้ำ เพื่อใช้ในการสัมผัสผู้ป่วย หรือดึง ผลักผู้ป่วยในออกจากบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วโดยเร็ว




กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกและไม่หายใจควรทำตามขั้นตอนดังนี้
  1. จับผู้ป่วยนอนราบในพื้นที่โล่ง มีอากาศถ่ายเท ปลดผ้าพันคอหรือเข็มขัดเพื่อให้ระบบหายใจทำงานได้สะดวก จากนั้นคลำบริเวณกลางหน้าอกผู้ป่วย หาส่วนที่กระดูกอกที่ต่อกับกับกระดูกซี่โครง ด้วยการใช้นิ้วสัมผัสชายซี่โครงไล่ขึ้นมา
  2. วางนิ้วชี้และนิ้วกลางที่กระดูกซี่โครงที่ต่อกับกระดูกอกส่วนล่าง วางสันมือทับบริเวณนั้นที่เป็นตำแหน่งในการกดนวดกระตุ้นหัวใจ
  3. ประสานมืออีกข้าง วางซ้อนลงหลังมือที่วางในตำแหน่งที่จะปั๊มหัวใจ เหยียดแขนให้ตั้งฉากกับหน้าอก โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อทิ้งน้ำหนักตัวลงขณะที่กดหน้าอกผู้ป่วย
  4. การในปั๊มหัวใจผู้ป่วยให้ได้จังหวะที่สม่ำเสมอให้นับจังหวะการสูบฉีดเลือดเข้าออกจากหัวใจพอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการด้วยการนับหนึ่งแล้วกดลงไป การกดหน้าอกที่มีประสิทธิภาพควรทำดังนี้
    4.1. กดลึก 1-3 ของความหนาหน้าอก
    4.2. กดด้วยความเร็ว 100-120 ครั้ง/ นาที
    4.3. ปล่อยให้หน้าอกขายยกลับสุด
    4.4. หยุดกดหน้าอกไม่เกิน 10 วินาที
  5. การเป่าปากควรทำสลับกับการนวดหัวใจทุก ๆ 30 ครั้งแล้วเป่าปาก 2 ครั้ง ทำสลับกันแบบนี้ให้ครบ 5 รอบและประเทินการหายใจของผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยยังไม่หายใจ ให้ทำการกดหน้าอกเพื่อปั๊มหัวใจต่อ หากพบว่าผู้ป่วยหายใจแล้ว ให้จัดท่านอนพักฟื้น (Recovery Position) ให้ผู้ป่วย


ขอบคุณข้อมูลจาก 

  1. scasset , ระวัง!! 5 จุดเสี่ยงไฟช็อต ไฟรั่ว ช่วงหน้าฝน
  2. MEA การไฟฟ้านครหลวง , การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากไฟฟ้า


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน