-
โรคจูบ อันตรายร้ายที่หลายคนไม่คาดคิด
แม้การจูบจะเป็นเหมือนการแสดงความรักอย่างหนึ่ง แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าการจูบ ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้ เพียงแค่การจูบ หอมแก้ม หรือการสัมผัสด้วยปาก ก็สามารถทำให้เกิดโรคที่มีชื่อว่า “โรคจูบ” ได้
รู้จักกับ “โรคจูบ”
โรคจูบ (Kissing Disease) หรือโรคโมโนนิวคลิโอซิส (infectious mononucleosis (IM)) เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสเอ็มสไตลบาร์ (Epstein Barr Virus หรือ EBV) เป็นไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง ส่วนใหญ่มักติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลาย ผ่านการไอ จาม หรือการจูบ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อก็สามารถรับเชื้อไวรัสตัวนี้ได้แล้ว
โรคจูบเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ยิ่งในวัยเด็กยิ่งสามารถติดเชื้อได้ง่าย อย่างการที่คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่หอมแก้มเด็ก เด็กก็สามารถรับเชื้อได้แล้ว ดังนั้นจึงเป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง
อาการของการติดเชื้อจากโรคจูบ
อาการของโรคจูบจะคล้ายกับโรคไข้หวัดทั่วไป จึงแยกโรคจากอาการได้ค่อนข้างยาก เลยจำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือด โดยอาการของผู้ป่วยจะแสดงออกหลังได้รับเชื้อราว 2-3 สัปดาห์ และเมื่อมีการติดเชื้อชนิดนี้แล้ว เชื้อจะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงอาจไม่มีอาการแสดง แต่หากภูมิคุ้มกันตกลงเมื่อไหร่เชื้อไวรัสจะสามารถกลับมากำเริบได้ โดยมีอาการดังนี้มีไข้สูง
ซึ่งโดยทั่วไป อาการเหล่านี้จะหายไปเองใน 3-4 วัน ตัวโรคก็ไม่มีความรุนแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต เว้นแต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนักอันเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น
ดังนั้น หากมีอาการเหล่านี้ หรือสังเกตพบความผิดปกติดังกล่าวที่เข้าข่ายอาการข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ทันที
การป้องกันไวรัสจากการจูบง่ายๆ ทำได้ดังนี้...
ในปัจจุบันยังไม่มีการฉีดวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสตัวชนิดนี้ แต่เราสามารถป้องได้ตัวเองง่ายๆ ได้โดยการ...
ทั้งนี้ อีกหนึ่งวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดจากโรคติดเชื้อจากการจูบ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ภูมิคุ้มกันไม่ตกง่ายๆ และการพาคู่ของเราไปตรวจสุขภาพให้แน่ใจ เพราะนอกจากจะช่วยให้รู้เท่าทันโรคต่างๆ แล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดโรคติดต่ออื่นๆ ที่อาจมีอยู่ได้อีกด้วย