-
เบื้องหลังความห่วงใย คือเครื่องมือที่แม่นยำและทันสมัย
เพราะทุกการเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องเล็ก... เบื้องหลังความห่วงใยของ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ คือเครื่องมือที่ทันสมัยและแม่นยำ พร้อมช่วยแพทย์วินิจฉัยได้อย่างตรงจุด เพื่อให้คุณได้รับการรักษาที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพและมั่นใจได้ในทุกขั้นตอนของการดูแลอย่างปลอดภัย
เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เราใช้
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้คุณมั่นใจได้ในทุกขั้นตอนของการรักษา ด้วยมาตรฐานที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้
1. MRI (Magnetic Resonance Imaging) มีลักษณะคล้ายอุโมงค์ขนาดใหญ่ โดยมีเตียงที่เลื่อนเข้าออกในอุโมงค์ได้ เป็นเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ใช้ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุความเข้มสูง” สแกนให้เห็นอวัยวะภายในร่างกายอย่างละเอียด โดยสัญญาณที่ได้จะถูกประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีความละเอียดสูง ชัดเจน จึงให้ภาพที่คมชัดในรูปแบบ 3 มิติเสมือนจริง แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อได้อย่างชัดเจน ทำให้แพทย์เห็นความผิดปกติทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกาย จึงวินิจฉัยโรคได้แม่นยำ และวางแผนการรักษาต่อไปได้ทันท่วงที การตรวจ MRI ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง
อาการที่จำเป็นต้องตรวจ MRI
ข้อควรระวัง!
แม้การตรวจ MRI จะไม่มีปริมาณรังสี แต่ก็มีสนามแม่เหล็กแรงสูง จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เคยผ่าตัดติดตั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์หรือมีโลหะบางชนิดในร่างกาย เพราะอาจทำให้โลหะที่ฝังอยู่ในร่างกายมีการขยับจึงควรแจ้งแพทย์ พยาบาล และผู้ดูแลก่อนการทำ MRI ทุกครั้ง
2. MIS (Minimally Invasive Surgery) คือนวัตกรรมการผ่าตัดผ่านกล้องขนาดเล็ก โดยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาเป็นรูขนาดเล็ก เพื่อสอดกล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปแพทย์จะสามารถมองเห็นอวัยวะภายในผ่านจอมอนิเตอร์ และผ่าตัดได้โดย ไม่ต้องเปิดแผลขนาดใหญ่ เหมือนการผ่าตัดแบบเดิมๆ ลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน และลดโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ใช้เวลาพักฟื้นไม่นานและเจ็บน้อย
โรคที่นิยมใช้เทคนิค MIS
3. CT Scan (Computed Tomography Scan) คือการตรวจวินิจฉัยด้วย เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ที่สามารถเห็นระบบเส้นเลือดและโครงสร้างทั้งหมดได้แบบ 3 มิติทำให้เห็นอวัยวะภายในชัดเจน ละเอียดกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา ใช้เวลาตรวจไม่นาน เหมาะกับกรณีฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ
โรคที่นิยมใช้เทคนิค CT Scan
ข้อควรระวัง!
การตรวจ CT Scan แม้จะปลอดภัยสำหรับคนทั่วไป แต่ก็มี ข้อควรระวัง ที่ควรรู้ไว้ โดยเฉพาะในบางกลุ่มผู้ป่วยหรือกรณีที่ต้องใช้สารทึบรังสี
1. การได้รับรังสี
2. แพ้สารทึบรังสี
4. PMS (Peripheral Magnetic Stimulation) คือเทคโนโลยีทางกายภาพบำบัดที่ใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ ไปกระตุ้นเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณร่างกายส่วนต่างๆ โดยไม่ต้องสัมผัสผิวหนังหรือใช้เข็ม ให้เจ็บตัว สามารถส่งคลื่นแม่เหล็กลงลึกเข้าสู่ร่างกายได้ประมาณ 10 เซนติเมตร เพียงพอที่จะ กระตุ้นเส้นประสาทส่วนปลาย และกล้ามเนื้อได้อย่างแม่นยำ
เหมาะกับผู้ที่มีอาการ
5. Shockwave Therapy คือการใช้ คลื่นเสียงความเข้มสูง ยิงเข้าไปยังจุดที่บาดเจ็บหรืออักเสบของกล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นการฟื้นฟูของร่างกาย ซ่อมแซมตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ เช่น การสร้างหลอดเลือดใหม่ ลดอักเสบ คลายพังผืด ลดอาการปวดเรื้อรังได้ดี โดยเฉพาะในจุดที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น หลังทำสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
เหมาะกับผู้ที่มีอาการ
ข้อควรระวัง!
ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ มีภาวะเลือดออกง่าย หรือใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ เมื่อทำแล้วอาจมีรอยช้ำหรือรู้สึกเจ็บเล็กน้อย แต่อาการจะดีขึ้นใน 1–2 วัน
6. Ultrasound Therapy หรือ การรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ลงลึกเข้าสู่ร่างกายได้ประมาณ 3–5 เซนติเมตร เป็นเทคโนโลยีทางกายภาพบำบัดที่ใช้ คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ ส่งผ่านเข้าสู่เนื้อเยื่อในร่างกาย เพื่อช่วยลดอาการปวด อักเสบ และฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อ เอ็น หรือข้อ เพิ่มการยืดหยุ่น
เหมาะกับผู้ที่มีอาการ
ข้อควรระวัง!
ผู้ที่มีโลหะฝังอยู่ในบริเวณที่ทำการรักษา ผู้มีภาวะมะเร็งบริเวณที่ต้องการรักษา หรือมีแผลเปิดหรือผิวหนังอักเสบในบริเวณที่ทำการบำบัด ไม่ควรทำ Ultrasound Therapy
7. TENS (Transcutaneous Electrical Nerve Stimulation) คือ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิวหนัง ที่ใช้กระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำ ไปกระตุ้นเส้นประสาท เพื่อช่วยลดอาการปวดเฉียบพลันที่เรื้อรัง เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดกล้ามเนื้อ โดยไม่ต้องใช้ยา ปลอดภัย และใช้งานง่าย โดยเป็นเครื่องขนาดเล็ก สามารถใช้ในคลินิก หรือให้คนไข้ใช้ต่อที่บ้านได้ในบางกรณี
ข้อควรระวัง!
ห้ามใช้กับผู้ที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ และหญิงตั้งครรภ์ (บริเวณหน้าท้องหรือหลังส่วนล่าง) รวมไปถึงในบริเวณหัวใจ คอด้านหน้า หรือศีรษะ
8. Hot Pack คือ อุปกรณ์ประคบร้อน ใช้ความร้อนชื้น ลงลึกเข้าสู่ร่างกายในระดับกล้ามเนื้อได้ประมาณ 1–2 เซนติเมตร ไม่ทำให้ผิวหนังแห้ง เพื่อบรรเทาอาการปวด คลายกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนเลือด เหมาะสำหรับการรักษาอาการบาดเจ็บเรื้อรัง และอาการตึงของกล้ามเนื้อ มักใช้ก่อนทำกายภาพ เช่น ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือฝึกการเคลื่อนไหว
ข้อควรระวัง!
ไม่ควรวางถุงร้อนโดยตรงบนผิว ควรมีผ้าหุ้ม 4–6 ชั้น หลีกเลี่ยงในผู้ป่วยที่ผิวไวต่อความร้อน หรือมีปัญหาการรับรู้สัมผัส ห้ามใช้บริเวณแผลเปิด หรือผิวหนังที่ไหม้และติดเชื้อ ระยะเวลาในการใช้ควรอยู่ที่ 15–20 นาที ต่อครั้ง
เบื้องหลังความห่วงใย... คือเครื่องมือที่แม่นยำและทันสมัย
การดูแลที่ดี เริ่มจากการวินิจฉัยที่ถูกต้อง โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ พร้อมเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้แพทย์ตัดสินใจรักษาได้อย่างถูกต้อง และคุณได้รับการดูแลที่ดีที่สุดตั้งแต่วันแรก
“เพราะการรักษาคนไข้ไม่ใช่แค่การดูแล แต่คือความใส่ใจในทุกรายละเอียด”
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร. 02-363-2000
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆได้ที่
Facebook : Paolo Hospital Samutprakarn
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn