-
ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน
หากพูดถึงโรคยอดฮิตของคนวัยทำงานในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้น ‘โรคออฟฟิศซินโดรม’ ซึ่งนับวันอัตราผู้ป่วยจะสูงขึ้นเรื่อยๆ วันนี้เราจึงนำ ความรู้เกี่ยวกับโรคออฟฟิศซินโดรม มาบอกกัน เพื่อจะได้ทราบถึงสาเหตุ วิธีป้องกัน รู้ทันอาการ และรีบรักษาก่อนลุกลาม
ทำความรู้จักกับ “โรคออฟฟิศซินโดรม”
โรค ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) เป็นผลมาจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น (Tendinitis) หรือเป็นอาการชาจากปลายประสาทที่ถูกกดทับนานๆ มักพบบ่อยในผู้ที่ต้องทำกิจกรรมอยู่กับที่เป็นเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา หรือผู้หญิงที่ต้องใส่ส้นสูงยืนทั้งวัน
สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม
เนื่องจากโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่มาจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ นานๆ ดังนั้นสาเหตุของโรคจึงมาจากพฤติกรรมเหล่านี้
อาการแบบไหน เข้าข่ายออฟฟิศซินโดรม?
ดังนั้น คนทำงานควรสังเกตตัวเองบ่อยๆ หากมีอาการเตือนเหล่านี้ คุณอาจกำลังเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งหากปล่อยไว้อาการจะรุนแรงขึ้น และยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกปลิ้น หรือโรคกระดูกสันหลังคด เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงหรือมีอาการดังกล่าว ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจะได้รู้สาเหตุที่แท้จริงและรู้วิธีป้องกัน หรือรีบรักษาก่อนอาการจะลุกลามจนมีความทรมานและรักษายากขึ้น
โรคออฟฟิศซินโดรมรักษาอย่างไร?
การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ การปรับสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อให้เกิดการปรับอิริยาบถการทำงานใหม่ๆ รวมถึงปรับท่าทางในการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาด้วยยา การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ ไปจนถึงการรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม หรือการนวดแผนไทย ซึ่งการเลือกวิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมจะต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ก่อน เพื่อให้แพทย์ได้วินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ รวมถึงตรวจว่าผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนอื่นหรือไม่ มีโรคประจำตัวใดๆ ที่ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีไหนบ้างหรือเปล่า จากนั้นจึงเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดแบบรายบุคคล
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม...ป้องกันออฟฟิศซินโดรมได้
แม้โรคออฟฟิศซินโดรมจะเกิดขึ้นบ่อยในคนทำงานที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ เป็นประจำ แต่โรคนี้ก็สามารถป้องกันและลดโอกาสการเกิดได้ โดยปฏิบัติดังนี้
แม้ตัว ‘โรคออฟฟิศซินโดรม’ เองจะเป็นอาการที่ไม่มีอันตรายร้ายแรงหรือถึงกับทำให้เสียชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการเข้าข่าย หรือมีความเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้องโดยแพทย์เฉพาะทาง ทั้งนี้ การปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้โรคลุกลามหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาภายหลังได้