-
หัวเข่าลั่น เกิดจากแก๊สที่อยู่บริเวณรอบหัวเข่ามีการสะสมกันที่ด้านในของน้ำเลี้ยงข้อเข่าจนเป็นฟองแก๊สในน้ำเลี้ยงข้อเข่า เมื่อมีการขยับหรือมีการงอเข่า ฟองแก๊สนั้นก็จะแตกตัวและทำให้เกิดอาการหัวเข่าลั่นได้
ภาวะโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) คือภาวะที่ช่องโพรงกระดูกสันหลังเกิดแคบลง จนกดเบียดรบกวนไขสันหลัง หลอดเลือด หรือเส้นประสาทต่างๆ ที่ผ่านในช่องทางนี้ถูกกดทับ มักเกิดขึ้นบ่อยในส่วนของหลังส่วนล่าง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดขา รู้สึกชาตามแขนขา หรือปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง หากปล่อยไว้อาการเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นจนกระทบต่อการเคลื่อนไหว
โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในคนทำงานจำพวกออฟฟิศ ที่เกิดจากการนั่งทำงานในท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามคอ บ่า ไหล่ หลัง และข้อมือ ซึ่งโรคออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาได้ แต่การรักษาให้ได้ผลดีนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการวินิจฉัยที่เหมาะสม
โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่เพียงเกิดขึ้นแต่ในผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะโรคข้อเข้าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมนั่นคือ “พฤติกรรมของเราเอง” ที่จะก่อให้เกิดอาการปวดเข่าซึ่งเป็นสัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อม
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดสามารถช่วยให้การฟื้นฟูเป็นไปอย่างรวดเร็วและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติอย่างรวดเร็ว
สาเหตุของข้อเข่าที่เสื่อมลง อาจเกิดได้จากอายุที่เพิ่มขึ้นหรือข้อเข่ามีการรับน้ำหนักมากเกินไปหรือมีการบาดเจ็บ ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึกกร่อนและมีกระดูกงอกเพราะมีหินปูนมาเกาะขรุขระ เวลาเคลื่อนไหวข้อจึงทำให้เกิดอาการปวดในข้อ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ น้ำหนักมาก ข้อที่เป็นได้บ่อย มักเป็นข้อที่รับน้ำหนักมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกคอ
อาการปวดคอ เป็นอาการที่พบได้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะผู้คนที่มีพฤติกรรมนั่งทำงานอนู่ท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ได้มีการลุกเคลื่อนไหวร่างกาย และหากปล่อยไว้จนอาการปวดคอเข้าสู่ระยะที่รุนแรง คือ รู้สึกปวดร้าวไปยังอวัยวะต่างๆ อาจเป็นสัญญาณของหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณต้นคอเสื่อมแล้วเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพในอนาคตได้
ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกมีความเปราะบางส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย โดยปกติกระดูกจะประกอบไปด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ที่ทำหน้าที่สร้างเซลล์กระดูกขึ้นมาใหม่ตามกระบวกการเติบโตของร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากแคลเซียมและโปรตีน และเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ที่ทำหน้าที่สร้างสลายเนื้อกระดูกเก่า หากเกิดการสลายตัวของกระดูกเร็วกว่าการสร้างกระดูกก็จะทำให้เกิด “ภาวะกระดูกพรุน”
การผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscope เป็นการผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้อง ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยี และเทคนิคในการผ่าตัดที่เฉพาะทาง โดยจุดประสงค์เพื่อช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด ทำให้ผลของการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้อง มีแผลที่เล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ส่งผลให้มีอาการเจ็บน้อยกว่า และลดความเสียหายต่อร่างกายทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้ไว
หน้าที่สำคัญของแคลเซียม คือการเสริมสร้างกระดูกและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่จะกินอย่างไรให้เหมาะสมและเป็นผลดีต่อร่างกายเพื่อไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต
เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกก็เริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้ตัวเตี้ยลง ซึ่งหมอนรองกระดูกอาจไหลไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
ข้อเข่ามีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะการลุกยืน การนั่ง การเดิน การวิ่ง และเป็นข้อที่คอยแบกรับน้ำหนักตัวของเราไว้ ซึ่งหลายคนที่มีพฤติกรรมการใช้หัวเข่าที่ไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้กระดูกข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรได้
โรคเกาต์ เป็นโรคที่เกิดจากการสะสมตัวของกรดยูริกในกระแสเลือดมากเกินไป ทำให้มีการตกผลึกของเกลือยูเรตในข้อ เมื่อร่างกายมีสารเหล่านี้มากเกินไปก็อาจส่งผลให้เกิดเป็นโรคเกาต์ได้ในที่สุด
การบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในนักกีฬาหรือนักกิจกรรมเอ็กซ์ตรีม คืออาการเอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด ส่งผลให้รู้สึกเจ็บที่เข่าเมื่อลงน้ำหนัก การรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็ก หรือ MIS จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บกลับมามีคุณภาพชีวิตและเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม
โรคข้อสะโพกเสื่อม ภัยเงียบที่ส่งผลให้ขยับตัวลำบาก จะลุก ยืน เดิน หรือนั่งก็ปวดไปหมด หากเป็นหนักเข้าอาจต้องรักษาด้วยการ "ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม"
อาการปวดข้อเรื้อรังไม่ได้เกิดแค่ในผู้สูงวัย
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ใช้ตรวจหาความผิดปกติในร่างกายที่มีความละเอียดและซับซ้อนสูงได้ แต่จะใช้ตรวจอวัยวะอะไรได้บ้าง มาดูกัน!
อาการปวดหน้าแข้งหรือโรคกล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ กดแล้วเจ็บ หรือปวดตุบๆ ตามจังหวะของชีพจร การประคบเย็นจะช่วยบรรเทาอาการได้ แต่หากเจ็บนานเกิน 3 วันยังไม่หาย ควรพบแพทย์
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าที่เสื่อมสภาพออก แล้วใส่ข้อเข่าเทียมซึ่งผลิตจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทานเข้าไปแทนที่
การฉีด PRP หรือ Platelet Rich Plasma คือการนำเลือดของผู้ป่วยเองมาปั่นแยกเป็นพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น แล้วฉีดกลับเข้าไปเพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ที่บาดเจ็บ ทั้งเอ็นกล้ามเนื้อ เอ็นกระดูก และเนื้อเยื่ออ่อนต่างๆ โดยเฉพาะในโรคข้อเข่าเสื่อม
การตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูก (Bone Mineral Density, BMD) เป็นการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน สามารถตรวจกระดูกได้ทั่วตัว แต่จุดที่เสี่ยงการแตกหักง่าย คือ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ
การตรวจเอกซเรย์เป็นการใช้รังสีเอกซ์ที่ทำให้เกิดภาพ 2 มิติ ส่วนการทำ MRI เป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้ภาพ 3 มิติ ดังนั้นจึงมีจุดเด่นและวัตถุประสงค์ในการตรวจไม่เหมือนกันเสียทีเดียว
เช็กความผิดปกติของกระดูกสันหลังด้วยการทำ-MRI
ออฟฟิศซินโดรม โรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน
ปวดกล้ามเนื้อและข้อ อาการที่คนทำงานอย่ามองข้าม
ปวดหลังอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อหรือเอ็นอักเสบ โรคของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคกระดูกสันหลังเสื่อมหรือเคลื่อน กระดูกพรุน กระดูกสันหลังคด โรคไต และโรคนิ่ว
‘ข้อเข่า’…อวัยวะที่พบการเสื่อมมากที่สุด
โรคกระดูกและข้อไม่ได้เกิดแค่ผู้สูงวัย