ถึงเวลาต้องใส่ใจ 5 โรคระบบทางเดินอาหาร
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
14-มี.ค.-2567
ถึงเวลาต้องใส่ใจ 5 โรคระบบทางเดินอาหาร

          ระบบทางเดินอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะในร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหาร การดูดซึม และการขับถ่าย โดยระบบ โดยระบบทางเดินอาหารนั้นจะเริ่มตั้งแต่ ช่องปาก คอหอย กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ถุงน้ำ ดี และตับอ่อนก็อาจจัดอยูในระบบทางเดินอาหารด้วยกรณีที่ตรวจพบโรค จะเห็นว่าระบบทางเดินอาหารนั้นเกี่ยวข้อง อวัยวะหลายส่วน โรคที่เกิดขึ้นก็มากขึ้นตามไปด้วย วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับ 5 โรคของระบบทางเดินอาหารกัน

ถึงเวลาต้องใส่ใจ 5 โรคระบบทางเดินอาหาร

  1. โรคกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) จะมีอาการแสดงออกมาในลักษณะของ การปวดจุกแน่นใตลิ้้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ซี่โครงด้านซ้าย บางรายเจ็บแน่นหน้าอก โดยมักมีอาการเป็นๆ หายๆ สัมพันธ์กับมื้ออาหาร อาจปวดก่อนทานอาหารในเวลาหิว หรือปวดหลังอาหารเวลาอิ่ม อาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อได้รับประทานอาหาร โรคนี้จะมีอาการรุนแรงขึ้นถึงขั้นอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมีดังนี้
    - เชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร ซึ่งติดต่อได้จากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาดปนเชื้อโรคชนิดนี้ ทำให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารบางชนิดได้
    - การทานยาแก้ปวด หรือยาแก้ปวดข้อกระดูก (Aspirin และ NSAID) รวมถึงยารักษาสิว ที่มีฤทธิ์รุนแรงทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหารได้
    - การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดแผลในระบบทางเดินอาหารมากขึ้น
    - ภาวะเครียด รับประทานอาหารเผ็ด หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา
    - ติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ อาการปวดท้องที่ควรพบแพทย์ทันที เช่น ถ่ายดำ หรือถ่ายมีเลือดปน น้ำ หนักลด ตัวซีด เหลือง (ดีซ่าน) ปวดรุนแรงนานเป็นชั่วโมง มีอาการอาเจียนรุนแรงติดต่อกัน หรืออาเจียนมีเลือดปน เจ็บ หรือกลืนลำบาก

    - มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหาร คลำพบก้อนในท้อง หรือต่อมน้ำเหลืองโต หากผู้ป่วยมีอาการป่วย ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียด แสบท้องเรื้อรังมานานกว่า 2 สัปดาห์ สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการรับประทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร งดหรือลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรมาพบแพทย์
  2. โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease) คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบบริเวณหน้าอก ใต้ลิ้นปี่ ที่เรียกว่า Heart Burn ในบางรายก็ร้างไปถึงคอ เหมือนมีก้อนบางอย่างมีจุกอยู่ที่ลำคอ ตอนเช้ามีรสขมหรือรสเปรี้ยวในปาก แสบลิ้น เสียงแหบ ในตอนกลางคืน มีอาการ ไอ กระแอม หอบหืด รุนแรงจนนอนไม่หลับ สาเหตุของโรคกรดไหลย้อนนั้น เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น การกินอาหารรสเปรี้ยว อาหารมักดอง ทานมื้อหนักจนอิ่มเกินไป แล้วนอนเลย และความเครียด เป็นต้น
  3. โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) โรคนี้ค่อนข้างน่ากลัวมาก เนื่องจากผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจไวรัสตับอักเสบบี ที่สามารถติดต่อได้จากมารดาสู่ทารก หากมารดาไม่สามารถว่าตนมีเชื้ออยู่ในร่างกาย ก็สามารถแพร่เชื้อสู่ทารกในครรภ์ได้ซึ่งเป็นการแพร่เชื้อที่พบมากที่สุด นอกจากนี้เรายังสามารถได้เชื้อจากทางเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดมาร่วมกัน การเจาะส่วนต่างๆ ตามร่างกายโดยอุปกรณ์ไมผ่านการฆ่าเชื้อ หรือจากการใช้อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนเลือด สารคัดหลั่ง เช่น มีดโกนกรรไกรตัดเล็บ เป็นต้น เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะฟักตัวอยู่ในตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบบี ในระยะแรกจะไม่แสดงอาการชัดเจนนัก จะมีเพียงไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย และจะค่อยๆ รุนแรงขึ้น ด้วยอาการ ตัวเหลือง ตาเหลือง 
    โดยเราสามารถตรวจคัดกรองโรคด้วยการตรวจหาพังผืดในเนื้อตับหรือ Fibroscan
  4. โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) เป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ใหญ่มากเกินไปส่งผลให้มีอาการปวดท้อง มวนท้อง ถ่ายบ่อย ท้องผูก ท้องเสีย โดยไม่มีสาเหตุ แม้โรคนี้จะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แต่หากผู้ป่วยเป็นเรื้อรัง กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการต่อไป
  5. โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) เป็นโรคที่บ่อยได้บ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยนิ่วในถุงนี้ดีนั้นเกิดจาก ตกกระตอนของหินปูนหรือแคลเซียมในถุงน้ำดี เป็นก้อนแข็งๆ ขนาดอาจจะเล็กเท่าเม็ดถั่วเขียวหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟก็ได้ ซึ่งก้อนนิ่วนั้นสามารถมีมากกว่า 1 หรือถึง 100 ก็เป็นได้ 
    อาการที่มักพบ คือ อาเจียน คลื่นไส้ อาการทางระบบทางเดินอาหารต่างๆ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แสบร้อนที่หน้าอก มีลมในกระเพาะอาหาร ปัสสาวะสีเข้ม บางรายปวดท้องรุนแรงเฉพาะส่วนส่วนบนด้านขวา ปวดเป็นระยะนานตั้งแต่ 15 นาทีไปจนถึง หลายชั่วโมงก็มี

โรคระบบทางเดินอาหารเป็นโรคที่เรามองไม่เห็น เพราะเกิดจากอวัยวะที่อยู่ภายใน อาการที่แสดงออกมานั้นคือสัญญาณเตือน แม้ว่าจะเป็นอาการเล็กน้อยที่ดูไม่ได้สำคัญก็ตาม แต่นั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายที่เกิดขึ้นภายในก็ได้


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต
โทร 0-2577-8111 ต่อ 2 หรือ 1772

รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่
Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต

เพิ่มเพื่อน