การตรวจ ABI เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดตีบตัน เส้นเลือดนั้นทำหน้าที่ลำเลียงเลือดและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย หากเส้นเลือดของเรานั้นเกิดการอุดตันหรือตีบตันภายในหลอดเลือดขึ้นมา อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและหลอดสมองขาดเลือดได้ การตรวจ ABI หรือ Ankle Brachial Index ตัวช่วยการวินิจฉัยภาวะปลายหลอดเลือดตีบตันได้ตรวจหาหลอดเลือดส่วนปลายตีบ ซึ่งเป็นสัญญาณของภาวะหลอดเลือดแข็งตัว
ขั้นตอนการตรวจ ABI- ควรสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นมากเกินไป
- หากสวมถุงน่อง ถุงเท้าหรือกางเกงกระชับสุดส่วน แนะนำให้ถอดออก
เริ่มการตรวจ- พยาบาลจะนำที่วัดความดันติดที่แขนทั้งสองข้าง และขาทั้งสองข้าง
- นำเครื่องวัดสัญญาณเสียง (Phonocardiography Microphone) ติดบริเวณเหนือกระดูกหน้าอก
- เมื่อพยาบาลจะเริ่มทำการเปิดระบบการตรวจที่เครื่องให้ผู้รับการตรวจนอนนิ่งๆ ไม่ต้องเกร็งประมาร 5-10 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย
ผลการตรวจ การอ่านผลจะวัดจากความแข็งตัวของหลอดเลือดแดง โดยผลการตรวจจะแปรค่าเป็นตัวเลข จากมากไปน้อย ดังนี้
- น้อยกว่า 0.9 = ปกติ การไหลเวียนของเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- หากเท่ากับหรือน้อยกว่า 0.9 หมายความว่า การไหลเวียนของเลือดส่วนปลายไม่ปกติ อาจมีการอุดตันของแคลเซียมหรืออื่นๆ ยิ่งค่าน้อยเท่าไรอัตราการไหลเวียนของเลือดยิ่งมีความผิดปกติเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
- น้อยกว่า 0.6 มีความเสี่ยงของหลอดเลือดตีบตันและอาการขาดเลือดที่ขา
- น้อยกว่า 0.3 มีความเสี่ยงการตีบของหลอดเลือดที่ขาหรือแขน เฉพาะรุนแรง ต้องทำการรักษาทันที
- น้อยกว่า 0.26 มีความเสี่ยงภาวะปวดขาจากอาการเส้นเลือดตีบตันได้
- น้อยกว่า 0.2 มีความเสี่ยงของเซลล์ในเนื้อเยื่อ บริเวณขาหรือแขน เกิดภาวะขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง
ใครเหมาะที่จะตรวจ ABI- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน
- ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือติดต่อมานานเกิน 10 ปี , ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง
- ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ และโรคหลอดเลือดหัวใจ
- มีสมาชิกในครอบครัว เคยมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ
- ผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
โรคหลอดเลือดนั้นเป็นภัยเงีบยในร่างกายที่เรามักจะไม่รู้ หรือกว่าจะรู้ตัวก็เกิดโรคลุกลาม จนต้องเสียค่าใช้จ่ายและเวลาในการรักษาจำนวนมาก นำไปสู่โรคหลอดเลือดตีบตัน เมื่อเป็นแผลแล้วมักรักษาหายยาก บางรายรุนแรงถึงขั้นเนื้อตายเป็นสีดำที่เท้าเกินรักษาจนต้องตัดเท้าทิ้งเพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปที่อวัยวะอื่น ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือเป็นเกี่ยวกับหลอดเลือดคือมาตรวจ ABI เพื่อประเมินความเสี่ยง ก่อนที่จะสายเกินการรักษา