การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรม หรือดิจิทัลแมมโมแกรม และการทำอัลตร้าซาวด์เต้านม ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน รวมถึงผลตรวจครั้งแรกว่าพบความผิดปกติใดๆ หรือไม่
หลายคนอาจสงสัยว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรม หรือดิจิทัลแมมโมแกรม และการทำอัลตราซาวด์เต้านม ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน ซึ่งคำตอบก็คือ... ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน รวมถึงผลตรวจครั้งแรกว่าพบความผิดปกติใดๆ หรือไม่ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการใดๆ ให้สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งเต้านม จะมีเกณฑ์การตรวจดังนี้
.jpg)
การประเมินความเสี่ยง
แพทย์จะซักประวัติ และทำการประเมินความเสี่ยง เช่น
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือไม่
- มีประวัติได้รับการฉายแสงบริเวณหน้าอก ในช่วงอายุ 10-31 ปี หรือไม่หากไม่พบความเสี่ยงดังกล่าว
- • ผู้ที่มีอายุ 25-40 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองทุก 1-3 ปี
- • อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อย 1 ปีละครั้ง
กรณีพบความเสี่ยง เช่น
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ให้พิจารณาเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุก่อนญาติจะตรวจพบมะเร็ง 10 ปี เช่น ญาติตรวจพบเมื่ออายุ 30 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 20 ปี และตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งทุกปี และควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรึกษาเรื่องการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรม
- มีประวัติได้รับการฉายแสงบริเวณอก ควรเริ่มรับการตรวจคัดกรองหลังจากฉายแสงแล้ว 8 ปี
ในปัจจุบัน การรักษามะเร็งเต้านมในระยะแรกมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีโอกาสหายขาดมากขึ้นด้วย รวมไปถึงการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ที่สามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกๆ เท่านั้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เพื่อให้พบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดั่งเดิมได้
คลินิกสุตินรีเวช โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
02 818 9000