ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ให้บริการดูแล รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างครอบคลุม ทั้งการป้องกัน ตรวจวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น รักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อนตลอดจนฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจโดยทีมแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ พร้อมด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย
นอกจากความเชี่ยวชาญในการตรวจวินิจฉัย สิ่งหนึ่งที่โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน ให้ความสำคัญอยู่เสมอคือ ความรวดเร็วฉับไว โดยเฉพาะเมื่อต้องรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ทุกวินาทีล้วนสำคัญต่อคุณภาพชีวิตมีกระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วย ที่อำนวยความสะดวกแก่ญาติผู้ป่วยและโรงพยาบาลต่างๆ มีระบบประสานงานส่งต่อที่ชัดเจน สะดวก รวดเร็ว ภายใต้มาตรฐานสากล ทุ่มเทและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ตลอด24ชั่วโมง (กรณีฉุกเฉินที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจะทำการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 90 นาทีตามมาตรฐานสากลมีการตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็วโดยผู้ป่วยจะได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจภายใน 10 นาที) ที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้จำนวนมาก
ศูนย์หัวใจมีทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยทำงานประสานเป็นทีม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยเช่น
นอกจากนี้ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ ได้แก่ พยาบาลที่ผ่านการอบรมด้านหัวใจโดยตรง เภสัชกร นักโภชนาการ และนักกายภาพบำบัด
ปัจจุบันโรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน มีการตรวจวินิจฉัยอย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น
อีกทั้งยังให้การรักษาภาวะหัวใจของผู้ป่วยด้วยเครื่องมือพิเศษภายในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory (Cath-Lab)เช่น
โรคหัวใจที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยโรคหัวใจคือ โรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเรามีเทคโนโลยีที่พร้อมให้การรักษาไม่ว่าจะเป็นการขยายหลอดเลือดด้วยลูกโป่งหรือบอลลูน (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty: PTCA)การผ่าตัดนำหลอดเลือดดำที่ขาหรือหลอดเลือดแดงบางที่มาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันทำทางเดินของเลือดใหม่ ซึ่งเรียกการผ่าตัดนี้ว่า Coronary Artery Bypass Graft (CABG) การใช้ยารักษาและการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจด้วย
นอกจากนี้ โรงพยาบาลเปาโลพหลโยธิน ยังเล็งเห็นความสำคัญในการให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย ตั้งแต่ก่อนและหลังทำหัตถการ เน้นย้ำเรื่องการรับประทานยา การควบคุมอาหาร การควบคุมปัจจัยเสี่ยง และเมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน ทีมสวนหัวใจจะยังคงดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยการโทรศัพท์ติดตามอาการผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ เพราะเรารู้ดีว่าผู้ป่วยโรคหัวใจหลังจากเข้ารับการรักษาและกลับบ้าน มักจะพบปัญหาเรื่องการปฏิบัติตัว เพราะผู้ป่วยบางคนรู้สึกว่าแม้จะรักษาหายแล้วแต่ร่างกายอาจไม่ปกติ การทำงานของระบบในร่างกายยังไม่เต็มที่ กลัวการเกิดภาวะหัวใจวาย จนบางครั้งมีผลให้เกิดความเครียด และกลับมาเป็นโรคหัวใจซ้ำอีกครั้ง ดังนั้นเราจึงยังคงเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ป่วยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยคลายความกังวล และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ