นาฬิกาปลุกตอนเช้าที่ดีต่อสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโลรังสิต
นาฬิกาปลุกตอนเช้าที่ดีต่อสุขภาพ

          ความสดชื่นในเช้าวันทำงานมักน้อยกว่าวันหยุดเป็นเรื่องธรรมดา การตื่นเช้าด้วยตนเองก็เช่นกัน หลาย ๆ คนใช้นาฬิกาปลุก หรือแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือปลุกในทุก ๆ เช้าที่ต้องไปทำงาน



          การใช้นาฬิกาปลุกให้เราตื่นนั้น หากใช้เสียงที่ดัง หรือ ตั้งปลุกถี่ ๆ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและสมองของเราในระยะยาวได้ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการใช้นาฬิกาที่ปลอดภัยต่อสุขภาพกัน

  • ควรตั้งนาฬิกาให้ห่างจากตัวเอง 2 ฟุต หรือ วางเอาไว้อีกฝากห้องนอน เพื่อลดการเอื้อมมือไปกดปิดเสียงและนอนต่อ
  • เสียงที่ตั้งปลุกไม่ควรดังเกิน 80 เดซิเบล เพราะการถูกปลุกด้วยเสียงที่ดังจนทำให้เราสะดุ้ง เกิดความเครียดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว และมีผลเสียต่อประสาทการได้ยินในระยะยาว
  • เสียงตั้งปลุกควรเป็นเสียงเพลงที่ได้ยินแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน สบาย ๆ ไม่เร่งเร้าจนเกินไป
  • ไม่ควรตั้งปลุกในนาทีกระชั้นชิดกันเกินไป แม้เราจะคิดว่าเสียงปลุกในครั้งแรกไม่สามารถทำให้เราตื่นได้ จึงตั้งปลุกในนาทีต่อมาถี่ ๆ จะทำให้เร่างกายตื่นตัวจากการถูกรบกวนจนตื่นขึ้นมาเอง นั้นเป็นความคิดที่ผิด การตั้งปลุกเร่าด้วยที่เสียงที่ดังถี่ ๆ นั้นทำให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นด้วยความเครียดโดยไม่รู้ตัว




          ความจริงแล้วการตื่นด้วยตนเองในทุก ๆ เช้าที่ดีที่สุด คือการตื่นตัวเองด้วยตนเอง ร่างกายของคนเรามีนาฬิกาในการดำเนินชีวิตอยู่แล้ว แต่ภาวะกระตุ้นภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความเครียด มลภาวะ หรืออาหารที่เราทาน มีผลต่อการนอนหลับไปจนถึงการตื่นนอนในทุก ๆ เช้า

          ดังนั้นการฝึกร่างกายและสมองให้ตื่นด้วยตนเองในเวลาเดิม ในทุก ๆ เช้านั้นดีกว่าการใช้เครื่องช่วยต่าง ๆ ในการปลุกร่างกายในตื่นขึ้น เพราะจะช่วยให้สุขภาพดีด้วยการไม่ต้องตื่นจากการกระตุ้นด้วยเสียง ลดความเครียด และยังปรับสมดุลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ได้อีกด้วย

วิธีการฝึกให้ตื่นด้วยตนเองง่าย ๆ
  1. ฝึกตื่นก่อนเวลา 10 นาทีอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน
  2. จากนั้นให้เพิ่มเวลาเป็น 20 นาที ต่อเนื่องอีก 3 วัน
  3. วันที่ 1 และ 2 ให้เปิดไฟห้องเอาไว้ ส่วนวันที่ 3 ไม่ต้องแล้ว หากร่างกายเริ่มคุ้นเคยกับเวลาตื่น เราจะตื่นเองตามเวลาที่กำหนด
  4. ในวันที่รู้สึกป่วยหรือไม่สบาย ไม่ต้องฝืนที่จะตื่นในเวลาที่กำหนด เพราะร่างกายควรพักผ่อน เมื่อร่างกายหายดีแล้วค่อยเริ่มฝึกฝนใหม่
  5. เมื่อรู้สึกตัวในยามเช้าให้ลุกขึ้นจากเตียงเลย จะช่วยให้กล้ามเนื้อและสมองตื่นตัวมากขึ้น
  6. ควรเข้านอนก่อนห้าทุ่ม จะเป็นเวลานอนที่เหมาะสมที่สุด และไม่ควรเกินเที่ยงคืน
  7. ควรนอนให้ได้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และ 7-8 ชั่วโมงเป็นจำนวนเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อร่างกายที่สุด
  8. การฝึกตื่นด้วยตนเอง หากล้มเหลว หรือไม่สามารถทำต่อเนื่องได้ อย่าท้อหรือทำ ให้ลองทำไปเรื่อย ๆ ร่างกายของแต่ละคนมีภาวะและการจดจำไม่เท่ากัน บางคนใช้เวลานาน แต่บางคนใช้เวลามากกว่าคนอื่น แต่นั้นก็ไม่ใช่ขีดจำกัดที่จะทำให้ร่างกายจดจำการเรียนรู้นี้



          การพักผ่อนที่เพียงพอมีข้อดีมากมาย อย่างน้อย ๆ ก็ทำให้มนุษย์ทำงานอย่างเรา ๆ ตื่นเช้ามาอย่างสมองปลอดโปร่ง สดชื่นไปทั้งวัน ลดความเครียดที่ไม่จำเป็นออกไป

                      ขอบคุณบทความดี ๆ จาก

                     นพ.วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ
         แผนกตรวจสุขภาพ ประจำโรงพยาบาลเปาโลรังสิต

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โรงพยาบาลเปาโล รังสิต โทร 0-2577-8111
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดีๆ ได้ที่Facebook : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต