อาหารเบาหวานคุณแม่ตั้งครรภ์
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
22-ต.ค.-2564

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากรกมีการสร้างฮอร์โมน มีผลต่อการทำงานของอินซูลินลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ น้ำตาลในเลือดจึงสูง ทำให้เกิดภาวะเบาหวานเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ เมื่อคลอดบุตรแล้วน้ำตาลจะเข้าสู่ภาวะปกติ

    • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งสามารถกระจายอาหารออกเป็น 3 มื้อต่อวัน และอาหารว่างอย่างน้อย 1 - 2 มื้อต่อวัน อาจจะมีก่อนนอนด้วยเพื่อป้องน้ำตาลต่ำในตอนดึก
    • สามารถใช้น้ำตาลเทียม กินผักใบเขียวเพิ่มมาก ผลไม้ 6 - 8 ชิ้นคำ 4 มื้อต่อวัน ข้าวกล้อง หรือข้าวขาว ประมาณ 3 ทัพพีต่อมื้อ เนื้อสัตว์ต่างๆ แบบไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ไขมันควรใช้น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง 6 - 7 ช้อนชาต่อวัน นมควรดื่มนมถั่วเหลือง สูตรไม่มีน้ำตาล ปริมาณ 250 ซีซี
    • อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดคือกลุ่มพืชผักชนิดต่างๆ เนื่องจากกลุ่มผักให้สารประเภทแป้งน้ำตาลน้อย และมีเส้นใยสูง ช่วยในการขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาล และไขมัน ควรกินผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตระกูลผักกาด แตงกวา
    • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ขนมหวานทุกชนิด อาหารทอด อาหารมัน น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกฮอล์ นมเปรี้ยว โอวัลติน นมข้นหวาน ผลไม้รสหวาน ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน น้อยหน่า ละมุด ขนุน อ้อย ผลไม้เชื่อม กวน ดอง แช่อิ่ม ตากแห้ง ผลไม้กระป๋อง อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง อาหารรสเค็มจัด อาหารกระป๋อง เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง

    จะเห็นได้ว่าภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะก่อให้เกิดผลเสียต่อมารดา และทารกในครรภ์ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ หากได้รับการดูแลรักษาป้องกันตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ความเสี่ยง และอันตรายจะน้อยลง สุขภาพที่ดีของทั้งแม่ และลูกก็จะดีขึ้น ต้องพบแพทย์ตามนัดตั้งแต่ตั้งครรภ์ และพบนักกำหนดอาหารเพื่อวางแผนในการควบคุมปริมาณอาหาร เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งคุณแม่ และลูกน้อย คือ ลูกมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2500 กรัม และไม่มากว่า 4000 กรัม และไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรถ์

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772