โรคหลอดเลือดสมอง Stroke
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
20-ก.ย.-2562

โรคหลอดเลือดสมอง ในปัจจุบันเป็นโรคที่เพิ่มมากขึ้น สาเหตุของการเสียชีวิต และปัญหาสุขภาพเรื้อรัง โดยเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว เกาะที่บริเวณผนังหลอดเลือด

สุดท้ายไปสู่ภาวะหลอดเลือดตีบ มีอาการหลอดเลือดสมอง โดยส่วนใหญ่กว่า 80 % เป็นชนิดหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน (Cerebral Infarction) และอีกประมาณ 20 % เป็นหลอดเลือดสมองแตก (Cerebral Hemorrhage)


ปัจจัยเสี่ยก่อเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

  • อายุ  เมื่อสูงอายุ หลอดเลือดก็จะเสื่อมไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้น จากคราบหินปูนและไขมันมาเกาะ ทำให้ช่องทางที่เลือดไหลผ่านแคบลง
  • เบาหวาน  เป็นสาเหตุทำให้เส้นเลือดแข็งทั่วร่างกาย และหากเกิดเส้นเลือดแข็งในสมองก็จะมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนปกติ 2 - 3 เท่า
  • ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดภาวะที่ไขมันเกาะสะสมอยู่ตามผนังของเส้นเลือด เป็นอุปสรรคกีดขวางการลำเลี้ยงเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง แล้วยังส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  •  โรคหัวใจ   โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด และถ้าลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดสมองก็จะทำให้สมองเกิดอาการขาดเลือดได้
  • บุหรี่ ในบุหรี่มีสารนิโคตินและคาร์บอน ทำให้ประมาณออกซิเจนที่ร่างกายได้รับลดลง และยังเป็นตัวที่ทำลายผนังของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการแข็งตัว

    อาการของโรคหลอดเลือดสมอง

    เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ มีอาการแสดงออกมากน้อยขึ้น กับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

    • ชาหรืออ่อนแรงที่บริเวณใบหน้า
    • ชาบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
    • พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก
    • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด
    • ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก
    • เดินเซ ทรงตัวลำบาก
    หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล เพื่อเข้ารับการรักษาโดยไม่รอช้า ภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง ช่วงเวลานี้ผู้ป่วยจะยังคงอยู่ในภาวะปลอดภัย แพทย์สามารถให้การรักษาด้วยวิธีให้ ยาสลายลิ่มเลือด เพื่อช่วยชีวิต หากไปถึงช้าอาการจะลุกลามรุนแรง ผู้ป่วยจะเกิดภาวะสมองขาดเลือด เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเวลาต่อมาได้


    คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง  โทร. 02 818 9000 ต่อ 130 , 131