ฉีด PRP: Platelet Rich Plasma รักษาโรคทางกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อ
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน
21-เม.ย.-2565

ฉีด PRP: Platelet Rich Plasma รักษาโรคทางกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อ

  • ลดอาการบาดเจ็บของกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว
  • ไม่เป็นอันตรายเนื่องจากรักษาโดยใช้ส่วนประกอบของเลือดผู้ป่วยเอง
  • ปลอดภัยจากโรคติดต่อทางเลือด
  • ทำความรู้จักPRP เทคนิคใหม่ของการรักษาโรคทางกระดูก เอ็น และกล้ามเนื้อ

    PRPเป็นเทคนิคใหม่ทางการแพทย์เพื่อใช้รักษาอาการบาดเจ็บของระบบโครงสร้างมนุษย์ เช่น เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก กระดูกอ่อน โดยฉีด PRP เข้าสู่จุดที่มีการบาดเจ็บ สามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อให้หายจากอาการบาดเจ็บ และยังช่วยให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วที่สำคัญคือ ไม่เป็นอันตรายเนื่องจากเป็นส่วนประกอบจากเลือดของผู้ป่วยเอง

    PRP: คือ การรักษาด้วยเกล็ดเลือดของผู้ป่วย โดยใช้เลือดของผู้ป่วยนำมาคัดแยก ซึ่งในเลือดประกอบไปด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ภายในเกล็ดเลือดประกอบไปด้วยสารที่สำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด และ Growth Factorโดยการนำเลือดมาปั่น แล้วฉีดกลับเข้าไปในบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เกล็ดเลือดจะถูกกระตุ้นให้รวมตัวกันและปล่อยสารที่มีประโยชน์นี้ไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนการซ่อมแซม จึงสามารถบรรเทาอาการปวดและส่งเสริมการเร่งฟื้นฟูได้


    ขั้นตอนการรักษาที่มีคุณภาพ ช่วยเติมเต็มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น

    ในเลือดของเราจะประกอบไปด้วยพลาสม่า Plasma 55% เม็ดเลือดขาว หรือเกล็ดเลือด White Blood Cells and Platelets น้อยกว่า 1% และเม็ดเลือดแดง Red Blood Cells 45% แต่ขณะที่ขั้นตอนการทำ PRP จะเพิ่มคุณสมบัติของเกล็ดเลือดต่อการซ่อมแซมร่างกายเหนือเกล็ดเลือดธรรมดา ซึ่งการเตรียม PRP ที่ถูกต้องเท่านั้น จึงจะได้เกล็ดเลือดที่มีคุณภาพ และมีความเข้มข้นสูงขึ้นอย่างน้อย 4 เท่าจึงจะมีประสิทธิภาพสูง โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

    ประสบการณ์ และความชำนาญของทีมแพทย์ ช่วยให้คุณมั่นใจในผลการรักษาระยะยาว

    ในการตรวจครั้งแรก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องซักประวัติการบาดเจ็บ รวมถึงโรคประจำตัว ตลอดจนการตรวจร่างกายด้วยการหาตำแหน่งที่บาดเจ็บเมื่อถึงขั้นตอนที่ต้องฉีด PRPแพทย์ที่ทำการรักษาต้องมีความเชี่ยวชาญในการฉีดเพื่อที่จะนำ PRP ไปยังตำแหน่งที่ต้องการให้มากที่สุด ในบางครั้งจะต้องใช้การUltrasound เพื่อช่วยหาตำแหน่งในการฉีด และเมื่อฉีด PRP เข้าไปแล้วโดยทั่วไปจะเริ่มออกฤทธิ์ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามยังต้องขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการฉีดด้วยในแต่ละตำแหน่งการออกฤทธิ์มีความแตกต่างกัน แพทย์ผู้ทำการรักษาจะติดตามดูอาการ ร่วมกับแนะนำแนวทางการรักษาอื่นร่วมด้วยเพื่อผลการรักษาที่ดีในระยะยาว เช่น การปรับกิจกรรม การบริหารกล้ามเนื้อ การยืดเส้น การเพิ่มความแข็งแรง หรือการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เพื่อประสิทธิภาพการรักษาอย่างเต็มที่ลดการใช้ยาต้านการอักเสบในผู้ป่วยที่ไม่จำเป็น หรือใช้ยามากเกินความจำเป็น

    ตัวอย่างอาการบาดเจ็บที่รักษาโดยวิธี PRP

    •   การบาดเจ็บเรื้อรัง Chronic tendon injuries เช่น เอ็นข้อศอกด้านนอก, เอ็นหน้าเข่า, เอ็นร้อยหวาย, รองช้ำ, เอ็นขาหนีบ, เอ็นสะโพก

    •   การบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อฉับพลัน เช่น กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (ซึ่งมักพบในนักกีฬาฟุตบอล กล้ามเนื้อน่อง,กล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก

    •   ข้อเข่าเสื่อม โรคข้อสะโพกเสื่อม โรคกระดูกสันหลังส่วนคอ

    •   การผ่าตัดบางชนิด เช่น การผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่ เป็นต้น

    ข้อจำกัดในการฉีด PRP

    1. ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง, ติดเชื้อ, โรคผิวหนังบางประเภท

    2. โรคการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

    3. คนไข้ที่กินยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด

    4. โลหิตจาง

    5. ตั้งครรภ์

    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
    โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772 ต่อ สถาบันกระดูกและข้อ