เฝ้าระวัง ไข้หวัดใหญ่ คาดปี 2563 มีผู้ป่วยสูงขึ้น
โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4
20-ก.พ.-2563
กรมควบคุมโรค เตือนเฝ้าระวัง ไข้หวัดใหญ่ คาดปี 2563 ป่วยสูงเกือบ 180,000 ราย

โรคไข้หวัดใหญ่

เป็นโรคตามฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันได้โดยยึดหลัก “ปิดปาก ล้างมือ เลี่ยงที่แออัด หยุดพักเมื่อป่วย” เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์
ที่สำคัญการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ ลดความรุนแรงในการเกิดโรค ลดโอกาสการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 

ข้อห้าม ในการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่

1. ผู้ที่แพ้ยา/แพ้วัคซีนนี้หรือส่วนประกอบของวัคซีนนี้โดยเฉพาะผู้ที่แพ้ไข่โปรตีนจากไก่ ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในกระบวนการผลิตวัคซีนเช่น ยานีโอมัยซิน (Neomycin) และยาโพลีมัยซิน (Polymyxin)
2. ผู้ที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน
3. ผู้ป่วยโรคกิลเลน-บารร์เร่ ซินโดรม (Guillain-Barre Syndrome) หรือโรคที่ความผิดปกติของเส้นประสาทส่วนปลาย
4. ผู้ที่มีไข้ เจ็บป่วย หรือไม่สบายในวันที่จะรับวัคซีนนี้ ควรเลื่อนนัดออกไปก่อน และกลับมาฉีดเมื่ออาการดีขึ้น
5. ผู้ที่เพิ่งหายจากการเจ็บป่วยมาไม่เกินหนึ่งสัปดาห์หรือเพิ่งออกจากโรงพยาบาล ได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์


ข้อควรรู้ ซักประวัติสุขภาพเตรียมพร้อมก่อนรับการฉีดวัคซีน

1. ท่านมีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ ?
2. การใช้ยาปัจจุบันของท่าน มียาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด หรือ ยาที่มีผลกดภูมิคุ้มกันหรือไม่ ?
3. ท่านเคยมีการแพ้ยา แพ้วัคซีน แพ้อาหาร หรือ แพ้ ไข่ไก่ หรือไม่ ?
4. ท่านตั้งครรภ์ อยู่หรือไม่
5. ในบ้านที่ท่านพักอาศัยอยู่ มีเด็กเล็ก หรือ ผู้สูงอายุ อยู่ด้วยหรือไม่ ?
6. ปัจจุบันท่านมีอาการ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว หรือไม่ ?


ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ อาจมีผลดังนี้

1. อาการเฉพาะที่บริเวณที่ฉีด เช่น บวม ปวด แดง ตุ่มนูน เกิดภายใน 24 ชม.หลังฉีดและอาการจะหายไปเองภายใน 2-7 วัน
2. มีไข้ รู้สึกไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและข้อและอาการอื่น ๆ (มักเป็นในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน) อาจเริ่มมีอาการภายใน 6-12 ชม. และอาจเป็นนานประมาณ 1-2 วัน โดยไม่ต้องรับการรักษา
3. ลมพิษ หอบหืด และ Systemic anaphylaxis จากการแพ้โปรตีนของไข่ ซึ่งพบได้น้อยมาก


ข้อควรปฏิบัติภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

1. ไม่ควรยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงแขนข้างที่ฉีดวัคซีน หักโหม 
2. หากมีอาการ บวม ปวด แดง ตุ่มนูน ให้ประคบแขนบริเวณที่ฉีดด้วยความเย็น 24 ชั่วโมงแรก และประคบด้วยความร้อนหลัง 24 ชั่วโมงผ่านไป
3. หากมีอาการไข้ รู้สึกไม่สบายตัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ สามารถรับประทานยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการ
4. หากมีอาการผิดปกติรุนแรงหรือสงสัยในการปฏิบัติตัวเพิ่มเติม แนะนำมาพบแพทย์

ขอบคุณข้อมูล : สถานการณ์การระบาดจากกรมควบคุมโรค 

สอบถามข้อมูล

ศูนย์ตรวจสุขภาพ 
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร. 02-514-4141 ต่อ 3111, 3107