เอชไพโลไร (H.pylori) แบคทีเรียร้ายทำลายกระเพาะ

เอชไพโลไร (H.Pylori) แบคทีเรียร้ายทำลายกระเพาะ

หากคุณมีอาการปวดท้อง แบบเป็นๆ หายๆ ไม่ว่าจะเป็นตอนอิ่มหรือตอนหิว นั่นอาจไม่ใช่แค่โรคกระเพาะธรรมดาที่เกิดจากการกินอาหารไม่ตรงเวลาอีกต่อไป! ปัจจุบัน เราพบว่าโรคกระเพาะอาหาร มีสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เอชไพโลไร (H. Pylori) ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้จัก วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับแบคทีเรียตัวร้าย ที่ชอบทำลายกระเพาะอาหารชนิดนี้กัน 

 


ทำความรู้จักกับ แบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori) 

H. Pylori (Helicobacter Pylori) หรือ เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะอาศัยอยู่บริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหาร โดยเชื้อจะไปกระตุ้นการคัดหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารให้มีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน รวมถึง โรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่ร้ายแรงถึงชีวิต ทั้งนี้เชื้อแบคทีเรีย H. Pylori สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะของผู้ติดเชื้อได้นานนับ 10 ปี โดยไม่แสดงอาการใดๆ เลยก็ได้ 

 

อาการหรือสัญญาณเตือน เมื่อมีการติด เชื้อ H. Pylori

เมื่อมีการติดเชื้อเอชไพโลไร โดยส่วนใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่จะมีในบางรายที่อาจมีอาการแสดงออกมา เช่น 

  • ปวดท้องเป็นๆ หายๆ บริเวณใต้ลิ้นปี่
  • แสบร้อนท้อง หรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องอืด มีแก๊สมาก ทำให้เรอบ่อย
  • เบื่ออาหาร ส่งผลให้น้ำหนักลดลง
  • อุจจาระมีสีดำ อุจจาระเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด ซึ่งเป็นสัญญาณของการอักเสบรุนแรงที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น ส่งผลให้เสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง กระเพาะอาหารทะลุ รวมถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 

อาการเหล่านี้ ล้วนรบกวนและส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อมีอาการดังกล่าว แพทย์จึงมักแนะนำให้ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด รวมถึงการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร เพื่อจะได้รักษาอย่างถูกจุดตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะยิ่งพบเชื้อเร็ว ยิ่งง่ายต่อการรักษา และยังลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรงที่เกี่ยวข้องได้ด้วย 

 


เช็คให้ไว! คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติด เชื้อ H. Pylori หรือไม่? 

หากคุณมีความกังวล สงสัย หรือมีอาการเตือน การปรึกษาแพทย์ เป็นทางออกที่ดีที่สุด และนี่คือ 5 ความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไพโลไร 

  1. เป็นผู้ที่ชอบรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หรืออาหารที่ไม่ผ่านความร้อนเลย 
  2. เป็นผู้ที่มีประวัติทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด หรือมีการปนเปื้อนของเชื้อ 
  3. เป็นผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 
  4. เป็นผู้ที่พบรอยโรคเกี่ยวกับ โรคกระเพาะอาหาร ทั้งโรคกระเพาะอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น 
  5. เป็นผู้ที่จำเป็นต้องรับประทานยากลุ่ม NSAID เช่น แอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ หรือยาชุดเป็นประจำ 

 


อยากตรวจหาเชื้อ H. Pylori มีวิธีไหนที่ทำได้บ้าง? 

การตรวจหาเชื้อ H. Pylori สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ 


ป้
องกันง่ายๆ ให้ห่างไกล เชื้อ H. Pylori
แม้เชื้อแบคทีเรีย H. Pylori จะไม่แสดงอาการในทันที แต่เชื้อตัวนี้ก็สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของเราได้เป็นเวลาหลายปี ซึ่งการปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลให้เกิดโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รวมถึงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ 
สามารถป้องกันตัวเองจากเชื้อนี้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ 

 


  • ้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังเข้าห้องน้ำ รวมถึงก่อนจัดเตรียมหรือรับประทานอาหาร 
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด 
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ
  • ดูแลอุปกรณ์การทำอาหารและภาชนะให้สะอาดอยู่เสมอ 

 

ดังนั้นหากเริ่มมีอาการดังกล่าว หรือคุณเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย H. Pylori แนะนำว่าควรพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้ออย่างละเอียด และเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธีให้หายขาด




บทความโดย

นายแพทย์ อัครวุฒิ จันทราพิรัตน์

แพทย์ประจำอายุรกรรมทางเดินอาหาร

โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ





สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

แผนก อายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
โทร. 02-363-2000 ต่อ 2420-2421
รับข่าวสารและกิจกรรมทางสุขภาพดี ๆ ได้ที่
Line official account : Paolo Hospital Samutprakarn