"เมื่อปวดท้องไม่ใช่เรื่องเล็ก สัญญาณที่บอกว่าคุณควรส่องกล้องทางเดินอาหาร"
การปวดท้องเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่หากคุณมีอาการปวดท้องที่ไม่หายไป การส่องกล้องทางเดินอาหารอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการวินิจฉัยและรักษาโรคที่ซ่อนอยู่
ประเภทของการส่องกล้องทางเดินอาหาร
1. EGD (การส่องกล้องกระเพาะอาหาร) การส่องกล้องนี้จะใช้กล้องขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 เซนติเมตร เข้าไปทางปาก ผ่านกระเพาะอาหารถึงลำไส้เล็กส่วนต้น
2. Colonoscopy (การส่องกล้องลำไส้ใหญ่) การส่องกล้องนี้จะส่องจากทวารหนักเข้าไปถึงบริเวณลำไส้เล็กส่วนปลาย
วิธีการเตรียมตัว
➮ การส่องกล้องกระเพาะอาหาร : งดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
➮ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ : ต้องมีการเตรียมลำไส้ด้วยการกินยาถ่ายและถ่ายจนอุจจาระใส
การส่องกล้องจำเป็นสำหรับใคร ?
การส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่มีความจำเป็นในการวินิจฉัยโรคหรือพยาธิสภาพในระบบทางเดินอาหาร
กลุ่มผู้ที่ควรพิจารณาการส่องกล้อง คือ
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร
มีสัญญาณเตือนของ โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร หรือ โรครุนแรงอื่น เช่น
➮ปวดแสบท้อง จุกแน่นลิ้นปี่ ที่เป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะคน อายุ มากกว่า หรือเท่ากับ 50 ปีขึ้นไป
➮ปวดแสบท้องที่รักษาไม่ดีขึ้นด้วยยา
➮น้ำหนักลด ถ่ายปนเลือดหรือถ่ายดำ
➮กินอาหารได้น้อยกว่าปกติ หรืออิ่มเร็วกว่าปกติอย่างชัดเจน
➮นํ้าหนักลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจ
➮อาเจียนบ่อย ๆ เป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น
➮มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ colonoscopy
สัญญาณเตือน มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือโรครุนแรงอื่นๆของลำไส้ใหญ่
➮ อ่อนเพลียหรือซีดโดยไม่รู้สาเหตุ
➮ ถ่ายมีเลือดปนหรือถ่ายมีมูกเลือด
➮ น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ
➮ อาการปวดท้องหรือถ่ายเหลวรบกวนการนอนหลับ
➮ มีอาการปวดท้องร่วมกับ การขับถ่ายผิดปกติไปจากเดิม นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะ คนที่มี อายุ 50 ปีขึ้นไป
➮ มีประวัติมะเร็งลำใหญ่ในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง
➮ มีประวัติโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังในครอบครัวที่เป็นญาติสายตรง
หากคุณมีอาการปวดท้องที่ตรงกับลักษณะดังกล่าวการส่องกล้องทางเดินอาหารอาจเป็นวิธีที่เหมาะสมในการตรวจสอบและรับการรักษาที่ถูกต้อง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำและการตรวจเพิ่มเติม