เบาหวาน เกิดจากตับอ่อนสร้างอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือเนื้อเยื่อของร่างกายดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หากไม่รักษาเบาหวานจะก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ตา ไต หัวใจ และเท้าได้ โดยเฉพาะนิ้วเท้าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยร่วมกันคือ หลอดเลือดที่มาเลี้ยงระบบประสาทรับความรู้สึก (sensory) และระบบสั่งการ (motor) ส่งผลทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการรับความรู้สึกที่เท้า บางครั้งเมื่อเกิดบาดแผลเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้สึกตัว ทำให้เกิดบาดแผล และสามารถเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้เป็นเบาหวาน สามารถช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลินที่มีอยู่ในร่างกายได้ ทำให้สามารถนำน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าไปใช้งานในเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ อีกทั้ง ยังสามารถสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ลดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้อีกด้วย
การบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ขณะออกกำลังกาย
- การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ- ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง หรือต่ำเกินไป ก่อนออกกำลังกาย
- ตรวจดูเท้าก่อน และหลังออกกำลังกายทุกครั้ง
- เลือกใส่รองเท้าที่เหมาะสม เลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี
- ออกกำลังกายในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
การเลือกชนิดการออกกำลังกายสำหรับผู้เป็นเบาหวาน ควรพิจารณาจากอายุ สภาพร่างกาย
และโรคประจำตัว ดังนี้
- มีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้า ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อต่อ เช่น การวิ่ง การกระโดดเชือก ควรออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ เดินในน้ำ รำมวยจีน หรือกายบริหารในท่านั่งหรือยืน
- ผู้ที่เป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาเท้า ไม่ควรที่จะวิ่ง หรือกระโดด ควรจะออกกำลังกายโดยการขี่จักรยาน เพื่อเพิ่มระบบไหลเวียนโลหิต และกระตุ้นปลายประสาท
- ผู้ที่เบาหวานขึ้นตา ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่ใช้แรงต้านมาก เช่น การยกน้ำหนัก หรือโยคะบางท่า
- ผู้ที่มีโรคหัวใจ ควรจะพบแพทย์ก่อนออกกำลังกาย ไม่ควรออกกำลังกายชนิดที่ออกแรงมาก เช่น การยกน้ำหนัก การวิ่งเร็ว
รูปแบบ และกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3 - 5 ครั้ง ควรจะเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิก คือ ทำต่อเนื่องครั้งละ 20 - 40 นาที
- ควรเริ่มการออกกำลังแบบเบาก่อน และเพิ่มเป็นปานกลาง เพื่อให้ร่างกายได้มีการปรับตัว ไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนัก หรือในรูปแบบที่มีแรงต้านมากๆ
- ควรเน้นการออกกำลังแบบแอโรบิก คือ มีการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ไม่มีแรงกระแทก หรือแรงกระแทกต่ำ เช่น การเดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ กายบริหาร
- ควรออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และระบบประสาทควบคู่ไปด้วยกัน เช่น กายบริหารแบบมีแรงต้านต่ำ การออกแรงดึงยางยืด เนื่องจากขณะออกแรงสายยางมีปฏิกิริยาต้านกลับ (stress reflex) ส่งผลให้ระบบประสาท และกล้ามเนื้อพัฒนาไปพร้อมกัน
รูปแบบ และกิจกรรมการออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม
กิจกรรมแรงกระแทก และแรงต้านสูง เช่น กระโดดเชือก วิ่งเร็ว ก้าวขึ้น - ลงสเต็ป ยกน้ำหนัก
แหล้งอ้างอิง