การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เสี่ยงน้อยเสี่ยงมาก ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน?
โรงพยาบาลเปาโลพระประแดง
03-ก.ค.-2565
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรม หรือดิจิทัลแมมโมแกรม และการทำอัลตร้าซาวด์เต้านม ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน รวมถึงผลตรวจครั้งแรกว่าพบความผิดปกติใดๆ หรือไม่

หลายคนอาจสงสัยว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรม หรือดิจิทัลแมมโมแกรม และการทำอัลตราซาวด์เต้านม ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน ซึ่งคำตอบก็คือ... ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน รวมถึงผลตรวจครั้งแรกว่าพบความผิดปกติใดๆ หรือไม่ ทั้งนี้สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการใดๆ ให้สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งเต้านม จะมีเกณฑ์การตรวจดังนี้



การประเมินความเสี่ยง
แพทย์จะซักประวัติ และทำการประเมินความเสี่ยง เช่น
  1. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือไม่
  2. มีประวัติได้รับการฉายแสงบริเวณหน้าอก ในช่วงอายุ 10-31 ปี หรือไม่หากไม่พบความเสี่ยงดังกล่าว
  • • ผู้ที่มีอายุ 25-40 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองทุก 1-3 ปี
  • • อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อย 1 ปีละครั้ง

กรณีพบความเสี่ยง เช่น
  1. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ให้พิจารณาเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมตั้งแต่อายุก่อนญาติจะตรวจพบมะเร็ง 10 ปี เช่น ญาติตรวจพบเมื่ออายุ 30 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 20 ปี และตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งทุกปี และควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรึกษาเรื่องการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรม
  2. มีประวัติได้รับการฉายแสงบริเวณอก ควรเริ่มรับการตรวจคัดกรองหลังจากฉายแสงแล้ว 8 ปี

ในปัจจุบัน การรักษามะเร็งเต้านมในระยะแรกมีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีโอกาสหายขาดมากขึ้นด้วย รวมไปถึงการผ่าตัดแบบสงวนเต้านมไว้ที่สามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกๆ เท่านั้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เพื่อให้พบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีดั่งเดิมได้

คลินิกสุตินรีเวช  โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
02 818 9000