สำหรับชีวิตคู่แล้ว การแต่งงานเป็นเป้าหมายที่สูงสุด แต่การมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบได้ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อป้องกันโรคทางพันธุ์กรรม ควรเช็คความพร้อม ความสมบูรณ์ทางร่างกายซึ่งกัน และกันก่อนการให้กำเนิด
ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานต้องตรวจอะไรบ้าง ?
1. ตรวขสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์ เช่น วัดน้ำหนัง วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต เช็คการทำงานของระบบหายใจ อัตรากันเต้นของหัวใจ เช็คกรุ๊ปเลือด
2. ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี (HBs AG) เป็นเชื้อไวรัสที่จะเข้าไปทำลายเซลล์ตับหากไม่รักษาจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ ไวรัสชนิดนี้ติดต่อกันทางเลือด น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่น สารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกายรวมไปถึงจากมารดาสู่บุตร
3. ตรวจเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่าคือเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันให้เราไม่สามารถสู้กับโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้ การตรวจหาเชื้อเอชไอวีเป็นอันดับต้นๆ ที่ทุกคนควรตรวจ เพราะการติดเชื้อหลักๆ คือ การมีเพศสัมพันธ์ การติดต่อทางเลือด การติดต่อผ่านมารดาสู่บุตร
4. ตรวจเช็คโรคทางพันธุ์กรรมของบิดา และมาดรา โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็น โรคที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือด เม็ดเลือดจาง หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ครรภ์เป็นพิษ เด็กตัวเหลือง ตับ ม้ามโต ใบหน้าผิดปกติ หากคุณต้องการวางแผนมีบุตรก็ควรได้รับการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยง เพราะทารกอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์
5. ความพร่องเอนไซม์ (G-6-PD) การพร่องของเอนไซม์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก เกิดการตัวซีด ตัวเหลือง เป็นโรคที่ส่งผ่านทางพันธุ์กรรมถึงแม้ว่าบิดามารดาจะไม่ได้เป็น แต่บุตรที่เกิดมาแล้วอาจเกิดภาวะตัวเหลืองได้ โรคนี้ไม่ได้เป็นความผิดปกติทางร่างกาย หรือเป็นโรคที่ร้ายแรง แต่บิดา มารดาควรให้ความสำคัญและหลีกเลี่ยงอาหาร หรือยา ที่ทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ซึ่งก่อให้เกิดอาการไตวาย
6. ตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อหัดเยอรมัน (German measles) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีไข้ ข้ออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นผื่นตามตัว เป็นโรคที่สามารถติดต่อไปยังลูกและคู่สมรส ส่วนใหญ่มักหายไปเองโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่หากเกิดในมารดาที่ตั้งครรภ์ทารกอาจเกิดมาพิการ ถ้ารุนแรงอาจเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ หากคุณวางแผนที่จะให้กำเนิดบุตร ควรไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอร์มัน
7. ซิฟิสลิส (Syphilis) เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนใหญ่พบในเพศชาย แต่หากเกิดในเพศหญิงจะมีโอกาสถ่ายทอดสู่บุตร โดยบุตรที่เกิดขึ้นหลังคลอดได้ 3-8 สัปดาห์อาจมีอาการให้เห็นอยู่บ้างเพียงเล็กน้อย ถ้าไม่ตรวจจนปล่อยละเลยไปเข้าสู่ขั้นที่4 อาจมีอาการพิการออกมาให้เห็นได้
นอกเหนือจากการตรวจสุขภาพทั่วไปแล้ว เพื่อเตรียมความพร้อมผู้หญิง และผู้ชาย ควรตรวตคัดกรองเจาะลึกเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัย และลดความเสี่ยงโรคร้ายในอนาคต
การตรวจปัญหาสุขภาพเจาะลึกสำหรับผู้หญิง
1. ตรวจภายใน ควรตรวจความปกติของมดลูกและรังไข่ ตรวจอุ้งเชิงกรานที่มีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์ และการคลอด รวมทั้งตรวจหาเนื้องอกมดลูก ช็อกโกแลตซีสต์ มะเร็งปากมดลูกร่วมด้วย
2. ตรวจมะเร็งเต้านม เนื่องจากมารดาที่ไม่เคยตั้งครรภ์ หรือมารดาที่มีบุตรเป็นคนแรกตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
การตรวจปัญหาสุขภาพเจาะลึกสำหรับผู้ชาย
1. ตรวจความสมบูรณ์ในเชื้ออสุจิ เป็นปัญหาที่พบกันบ่อย เช่น จำนวนของอสุจิน้อยเกินไป อสุจิไม่แข็งแรง การเสื่อมของน้ำอสุจิ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้
2. มะเร็งต่อมลูกหมาก หากมีความผิดปกติจะส่งผลให้ฮอร์โมนเพศชายต่ำ
3. ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ สามารถพบได้ทุกวัย แต่ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ สาเหตุจากสภาวะทางด้านจิตใจ การสูบบุหรี่เป็นระวะเวลานานๆ ความอ่อนล้า อายุที่มากขึ้น
การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานไม่ใช่ความไม่เชื่อใจในความสัมพันธ์ แต่การตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานนั้นไม่ต่างอะไรกับตรวจสุขภาพประจำปีเลย เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะมีครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 0-2271-7000 ต่อ สุขภาพสตรี